ตร - burapha universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf ·...

28
บทที2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวของ การตรวจสอบเอกสาร สําหรับการทําวิจัยเรื่อง การประเมินผลหลักสูตรฝกอบรม นักเรียนนักทําลายใตน้ําจูโจมชั้นตน หนวยสงครามพิเศษทางเรือกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ได ทําการศึกษาตรวจสอบเอกสารเพื่อนําเสนอขอมูลใน 6 ประเด็น คือ 1. แนวความคิดเรื่องการประเมินผลหลักสูตร 2. แนวความคิดเรื่องการฝกอบรม 3. นโยบายดานการศึกษาของกองทัพเรือ 4. ประวัติและบทบาทของหนวยสงครามพิเศษทางเรือ 5. งานวิจัยที่เกี่ยวของ 6. กรอบการศึกษา แนวคิดเรื่องการประเมินผลหลักสูตร ทิศนา แขมมณี (2540, หนา 133-134) กลาววา หลักสูตรหมายถึงโปรแกรมการศึกษา ใด ก็ตามที่ไดกําหนดเคาโครงการเรียน ซึ่งประกอบไปดวยรายวิชาตาง พรอมทั้งใหคําแนะนํา เกี่ยวกับการจัดประสบการณการเรียนของแตละรายวิชานั้นดวย ซึ่งอาจจะเปนหลักสูตรที่ใชเวลาใน การศึกษามาก เชน 4 - 5 หรือ 1 - 2 หรืออาจจะเปนหลักสูตรที่ใชเวลาสั้นมากเพียงแคสามเดือน หรือสองอาทิตยก็ไดโดยทั่วไปแลว การประเมินผลหลักสูตรใด ก็ตามจะมีจุดมุงหมายคลายคลึง กันอยูสามประการสําคัญ คือ 1. เพื่อหาคุณคาของหลักสูตรนั้น โดยดูวาหลักสูตรที่จัดขึ้น สามารถสนองตาม วัตถุประสงคที่หลักสูตรนั้นตองการหรือไม หลักสูตรนั้นชวยใหผูเรียนไดบรรลุวัตถุประสงค หรือไม 2. เพื่อตัดสินวา การวางเคาโครงและรูประบบของหลักสูตร ตลอดจนการบริหารงาน และการสอนตามหลักสูตรเปนไปในทางที่ถูกตองหรือไม 3. เพื่อวัดผลดูวา ผลผลิตคือผูเรียนนั้นเปนอยางไร จากการศึกษาแนวคิดการประเมินผลหลักสูตรสามารถสรุปไดวา ในการประเมินผล หลักสูตรนั้นมีประเด็นที่ตองใหความสําคัญคือ การกําหนดขอบเขตของการประเมินใหชัดเจน

Upload: others

Post on 30-Apr-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวของ

การตรวจสอบเอกสาร สําหรับการทําวิจัยเร่ือง การประเมินผลหลักสูตรฝกอบรมนักเรียนนักทําลายใตน้ําจูโจมชั้นตน หนวยสงครามพิเศษทางเรือกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ไดทําการศึกษาตรวจสอบเอกสารเพื่อนําเสนอขอมูลใน 6 ประเด็น คือ 1. แนวความคิดเรื่องการประเมินผลหลักสูตร 2. แนวความคิดเรื่องการฝกอบรม 3. นโยบายดานการศึกษาของกองทัพเรือ 4. ประวัตแิละบทบาทของหนวยสงครามพิเศษทางเรือ 5. งานวิจยัที่เกี่ยวของ 6. กรอบการศึกษา

แนวคิดเรื่องการประเมินผลหลักสูตร

ทิศนา แขมมณี (2540, หนา 133-134) กลาววา หลักสูตรหมายถึงโปรแกรมการศึกษา ใด ๆ ก็ตามที่ไดกําหนดเคาโครงการเรียน ซ่ึงประกอบไปดวยรายวิชาตาง ๆ พรอมทั้งใหคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดประสบการณการเรียนของแตละรายวิชานั้นดวย ซ่ึงอาจจะเปนหลักสูตรที่ใชเวลาในการศึกษามาก เชน 4 - 5 ป หรือ 1 - 2 ป หรืออาจจะเปนหลักสูตรที่ใชเวลาสั้นมากเพียงแคสามเดือนหรือสองอาทิตยก็ไดโดยทั่วไปแลว การประเมินผลหลักสูตรใด ๆ ก็ตามจะมีจุดมุงหมายคลายคลึงกันอยูสามประการสําคัญ ๆ คือ 1. เพื่อหาคุณคาของหลักสูตรนั้น ๆ โดยดูวาหลักสูตรที่จัดขึ้น สามารถสนองตาม วัตถุประสงคที่หลักสูตรนั้นตองการหรือไม หลักสูตรนั้นชวยใหผูเรียนไดบรรลุวัตถุประสงค หรือไม 2. เพื่อตัดสินวา การวางเคาโครงและรูประบบของหลักสูตร ตลอดจนการบริหารงาน และการสอนตามหลักสูตรเปนไปในทางที่ถูกตองหรือไม 3. เพื่อวัดผลดวูา ผลผลิตคือผูเรียนนั้นเปนอยางไร จากการศึกษาแนวคิดการประเมินผลหลักสูตรสามารถสรุปไดวา ในการประเมินผล หลักสูตรนั้นมีประเด็นที่ตองใหความสําคัญคือ การกําหนดขอบเขตของการประเมินใหชัดเจน

Page 2: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

และครอบคลุมระบบหลักสูตรทั้งหมดและควรประเมินใหตอเนื่องกัน ในการนี้ สงัด อุทรานันท (2532, หนา 279 - 281) ไดกลาวไววาควรประเมินหลักสูตรในเรื่องตอไปนี้ 1. การประเมนิเอกสารหลักสูตร เปนการตรวจสอบคุณภาพของหลักวามีความเหมาะสมดีและถูกตองกบัหลักการพัฒนาหลักสูตรเพยีงใด 2. การประเมนิการใชหลักสูตร เปนการตรวจสอบวาหลักสูตรสามารถนําไปใชในสถานการณจรงิไดดีเพยีงใด มีสวนไหนที่เปนอุปสรรคตอการใชหลักสตูร หากพบขอบกพรอง จะไดรีบแกไขทันที 3. การประเมนิสัมฤทธิผลของหลักสูตร ซ่ึงทําการประเมนิจากผูสําเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนั้น ๆ มักจะทําการติดตามความกาวหนาของผูสําเร็จการศึกษา 4. การประเมนิระบบหลักสตูร เปนการประเมินองคประกอบทุกสวนทีเ่กี่ยวของกับ หลักสูตร เชน ทรัพยากรที่ตองใช ความสัมพันธของระบบหลักสูตรกับระบบบริหารสถานศึกษาระบบการจดัการเรียนการสอน และระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน สําหรับการพิจารณาระยะเวลาในการประเมินหลักสูตร เพื่อประเมินคุณคาของหลักสูตรนั้นนักพัฒนาหลักสูตรจะกําหนดแผนในการประเมินหลักสูตรไว 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การประเมนิหลักสูตรกอนนําไปใช โดยเมื่อสรางหลักสูตรเสร็จแลว ผูสรางหลักสูตรจะประเมินหลักสูตรวาสามารถใชไดดีหรือไมเพียงใด ระยะที่ 2 การประเมินหลักสูตรหลังจากการนําหลักสูตรไปใช โดยเมื่อนําหลักสูตรที่สรางเสร็จแลวไปทดลองใชระยะหนึ่ง ควรจะประเมินดูวาหลักสูตรที่นําไปใชนั้นไดผลเพียงใด เพื่อที่จะตัดสินใจวาควรใชหลักสูตรนั้นตอไปหรือไม หรือควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยางไร รูปแบบการประเมินผลหลักสูตร ในการประเมนิผลหลักสูตรนั้นมีผูเสนอรูปแบบในการประเมินไวหลายรูปแบบ ในที่นี้ขอยกรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรที่นิยมใชกนัมาก ตามที่ Saylor, Alexander & Lewis (1981) ไดจัดกลุมไว 5 กลุม ดังนี ้ 1. รูปแบบที่เนนจุดมุงหมายพฤติกรรม (behavioral objective model) รูปแบบนี้เนน จุดมุงหมายเปนหลักในการประเมิน ในทัศนะของ Tyler (1949) นั้น การศึกษา คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้นการประเมินจึงเปนการประเมินวามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นหรือไม องคประกอบของการประเมินจึงประกอบดวย การระบุจุดมุงหมายทางการศึกษาที่ตองการการจัด การเรียนการสอนและประสบการณการเรียนรูเพื่อใหผูเรียนเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อดูวาผูเรียนบรรลุจุดมุงหมายทางการศึกษาที่กําหนดไวหรือไม รูปแบบของการประเมินจึงเปนการประเมินผลสรุป (summative evaluation) เพื่อใหไดผลการประเมินที่ชี้ชัด ซ่ึง

Page 3: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

นับวาเปนรากฐานของการประเมินอยางเปนวิทยาศาสตร และทําใหกระบวนการประเมินกาวหนามานับตั้งแต พ.ศ. 2475 2. รูปแบบที่เนนการตัดสินใจ (decision-making model) เปนรูปแบบที่เนน การประเมินผลเพื่อปรับปรุง (formative evaluation) รูปแบบการประเมินที่จัดอยูในกลุมนี้ ไดแก รูปแบบการประเมินที่เสนอโดยคณะกรรมการการประเมินผลการศึกษาแหงชาติ ของสหรัฐอเมริกา (The phi delta kappa national study committee on evaluation) รูปแบบนี้เรียกชื่อยอวา CIPP Model และรูปแบบของ Provus คณะกรรมการประเมินผลการศึกษาแหงชาติของสหรัฐอเมริกา ซ่ึงนําโดย Stufflebeam (1977) ไดกําหนดหลักการสําคัญในการประเมินผลหลักสูตร โดยมุงประเมิน สถานการณตาง ๆ ของหลักสูตร 4 สวนดวยกัน คือ 2.1 การประเมินบริบท (context) ไดแก สภาพแวดลอม วัฒนธรรมสิ่งแวดลอม ความ ตองการของคนในชุมชน แนวคิด และปรชัญาในการจดัการศกึษาตาง ๆ ซ่ึงบริบทเหลานี้จะนําไปสูการกําหนดจดุมุงหมายของหลักสูตร 2.2 การประเมินปจจยัตัวปอน (input) ไดแก ปจจัยตาง ๆ ที่เกี่ยวของกบัการนําหลักสูตรไปใช เชน ความพรอมของครู ผูบริหาร อาคารสถานที่ งบประมาณ ส่ือและอุปกรณตาง ๆ 2.3 การประเมินกระบวนการ (process) หมายถึง กระบวนการนําหลักสูตรไปใช ซ่ึงจะครอบคลุมกระบวนการบริการหลักสูตร กระบวนการสอนของครู กระบวนการเรียนรูของนักเรียน เปนตน 2.4 การประเมินผลผลิต (product) หมายถึง ผลที่เกิดจากการนําหลักสูตรไปสูการเรียนการสอน ซ่ึงเกิดขึ้นกับผูเรียนและการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ทั้งนี้ โดยนําไปเปรียบเทียบกับเปาหมายของหลักสูตรหรือความคาดหวังของสังคม ซ่ึงจะทําใหทราบวาหลักสูตรบรรลุผลตาม หลักการและจดุมุงหมายมากนอยเพียงใด นอกจากนี้ โปรวูส (Provus, 1971) ไดเสนอรูปแบบการประเมินที่มีสวนสัมพันธกับ รูปแบบของ Stufflebeam โดยเสนอขั้นตอนในการดําเนนิการ 5 ขั้น ไดแก ขั้นแรกตั้งเกณฑมาตรฐานของสิ่งที่ตองการวัด (standard) ขั้นที่สองรวบรวมผลการปฏิบัติงาน (performance) ขั้นที่สามเปรียบเทียบผลการปฏิบัติกับเกณฑมาตรฐานทีต่ั้งไว (criterion) ขั้นที่ส่ีจําแนกความแตกตางระหวางเกณฑมาตรฐานกับผลการปฏิบัติ (discrepancy) ขั้นที่หาทําการตัดสินใจ (decision making) กระบวนการที ่โปรวูส เสนอนี้ จะชวยใหมกีารประเมินโครงการเปนระยะ ๆ เมื่อพบ สวนใดบกพรองก็จะไดดําเนินการแกไขปรับปรุงกอนที่จะเริ่มงานในขั้นตอนตอไป กระบวนการ

Page 4: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ดังกลาว จึงเชือ่วาจะชวยใหการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ 3. รูปแบบที่ไมประเมินเปาหมาย (goal-free evaluation model) เปนรูปแบบการประเมินที่ตัดสินสิ่งที่ประเมิน โดยไมนําไปเปรียบเทียบกับเปาหมายที่กําหนดไว เพราะนักประเมินผลมักจะโนมเอียงไปสูเปาหมายที่นักพัฒนาหลักสูตรกําหนดไว ทําใหการประเมินมีอคติ จึงไมควรสนใจเปาหมายทางการศึกษาที่นักพัฒนาหลักสูตรกําหนดขึ้น แตสนใจผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการศึกษานั้นวาเปนความตองการที่แทจริงหรือไมฉะนั้นนักประเมินผลจึงใชวิธีการสังเกตผลที่เกิดขึ้นอยางรอบดานขอมูลที่ใชเปนขอมูลเชิงคุณภาพที่ไดจากการสังเกตอยางไมมีอคติเพื่อตัดสินโครงการรูปแบบนี้จัดเปนรูปแบบการประเมินผลสรุปอยางหนึ่ง (summative evaluation) 4. รูปแบบการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพ (accreditation model) เปนรูปแบบการประเมินที่เกาแกที่สุดรูปแบบหนึ่งซ่ึงใชในการประเมินเพื่อรับรองหรือยอมรับโครงการการศึกษาที่สถาบันจัดขึ้นหรือใชในการประเมินผลนักเรียนเพื่อรับเขาศึกษาตอในสถาบันรูปแบบการประเมินแบบนี้ใชผูที่มีความรูเช่ียวชาญหรือผูมีประสบการณในเรื่องที่ประเมินในรูปของคณะกรรมการ ตัดสินรูปแบบนี้อาจอิงวิธีการของรูปแบบอื่น ๆ ที่กลาวมาแลว เชน อิงรูปแบบเนนการตัดสินใจของStuffleam โดยมีขั้นตอนการดําเนินงานดังนี้ คณะกรรมการการตัดสินตั้งมาตรฐานหรือเกณฑเกี่ยวกับองคประกอบของการประเมินซ่ึงไดแกสภาพแวดลอมตัวปอนเขากระบวนการและผลผลิตเปรียบเทียบผลการปฏิบัติขององคประกอบกับมาตรฐานที่ตั้งไวแลวตัดสินใจยอมรับหรือไมยอมรับโครงการประสิทธิภาพของการประเมินรูปแบบนี้อยูที่คุณภาพของมาตรฐานหรือเกณฑและความเที่ยงตรงในการพิจารณาของคณะกรรมการ 5. รูปแบบที่เนนการตอบสนอง (responsive model) สเตก (Stake, 1967) ไดสรุปวา ใน การใชรูปแบบการประเมินผลนี้ มีลักษณะที่เนนกระบวนการมากกวาจุดมุงหมายตอบสนองความตองการของผูเรียนและพิจารณาความแตกตางของสภาพกอนและหลังการดําเนินงานโดยเสนอใหใชขอมูลตอไปนี้ในการประเมิน คือ 5.1 ส่ิงที่มีมากอน 5.2 กระบวนการในการสอน 5.3 ผลที่เกิดขึ้น วิธีการประเมนิผลหลักสูตรตามแนวนี้จะเนนการรวบรวมขอมูลจากองคประกอบ ทั้ง 3 สวนดังกลาว เพื่อใชในการอธิบายและตัดสินใจขอมูลที่ใชจําแนกออกเปน 2 ชนิด คือ ขอมูล เชิงบรรยาย (descriptive) และขอมูลเชิงตัดสินใจ (judgmental) ขอมูลเชิงบรรยายไดแก ขอมูล ที่อธิบายลักษณะความมุงหวังของโครงการและสิ่งที่สังเกตไดจากการปฏิบัติตามโครงการขอมูล เชิงตัดสินใจไดแก ขอมูลเกีย่วกับการพิจารณาคุณคาของโครงการซึ่งใชเกณฑในการพิจารณา

Page 5: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

การประเมินหลักสูตรในรูปแบบนี้ก็คือการเปรียบเทียบผลที่คาดหวังและผลที่เกิดขึ้นจริงวามีความ สอดคลองกันเพียงใดใชเกณฑอะไรในการตัดสินใจและเกณฑนั้นไดมาอยางไร นอกจากนั้น Stake ยังไดเสนอใหพิจารณาความสัมพันธของแตละองคประกอบดวย การพิจารณาวาจะใชรูปแบบใดในการประเมินผลหลักสูตรเปนงานที่นกัพัฒนาหลักสูตรตองพิจารณาไตรตรองใหละเอียดรอบคอบ เพื่อการตัดสนิใจที่เหมาะสมกับจุดมุงหมายในการประเมินผลเรื่องนี้ สงัด อุทรานันท (2532, หนา 292) ไดเสนอแนะใหใชรูปแบบการประเมิน หลาย ๆ รูปแบบผสมผสานกัน เพราะการใชรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอยางเดียวอาจทําใหเกิดจุดบกพรองในการประเมนิไดในการศึกษาครั้งนี้ ผูศึกษาไดนําแนวคดิการประเมินผลหลักสูตรรูปแบบ CIPP Model มาปรับใชในการประเมินผลหลักสูตรนักเรียนนกัทําลายใตน้ําจูโจมชั้นตน หนวยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ และไดนาํเสนอรายละเอยีดแนวคดิไวในประเดน็กรอบการศึกษา

แนวความคิดเรื่องการฝกอบรม

ความหมายการฝกอบรม จากการศึกษาการใหความหมายของนักวิชาการไดใหความหมายของการฝกอบรมไวดังนี้ เครือวัลย ล่ิมอภิชาติ (2531, หนา 2) ไดกลาววา การฝกอบรมคือ กิจกรรมการเรียนรู(learning) เฉพาะอยางของบคุคลเพื่อปรับปรุงและเพิ่มพนูความรู (knowledge) ความขาใจ (understanding) ทักษะ หรือความชํานาญ (skill) และทศันคติ (attitude) อันเหมาะสมจนสามารถกอใหเกิดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม และทัศนคติเพื่อการปฏิบัติงานในหนาที่เพื่อยกมาตรฐานการปฏิบัติงานใหอยูในระดับสูงขึ้น อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน (2533, หนา 2) สรุปวา การฝกอบรม คือ กิจกรรมหรือความพยายามที่จะจัดกิจกรรมใหสอดคลองกับความตองการของหนวยงาน เพื่อใหผูเขาอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีในเรื่องความรู ทัศนคติและทักษะในการทํางาน ปรียาพร วงศอนุตรโรจน (2535, หนา 250) ไดใหความหมายการฝกอบรมวา เปน กระบวนการจดัการเพ่ือใหบคุคลไดเกิดการเรียนรู และมีทักษะเพื่อความมุงหมายเฉพาะอยาง จุดมุงหมายของการฝกอบรมเพื่อเปล่ียนพฤติกรรมของผูเขารับการอบรม เปนกิจกรรมที่จําเปนและเปนประโยชนตอองคการ เพือ่ใหองคการเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เสนาะ ติเยาว (2537, หนา 127) กลาววา การฝกอบรม หมายถึง กระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อใหบุคคลไดเรียนรูและมีความชํานาญ เพื่อวัตถุประสงคอยางหนึ่ง โดยมุงใหคนไดรูเร่ืองใด เร่ืองหนึ่งโดยเฉพาะ และเพือ่เปลี่ยนพฤตกิรรมของคนไปในทางที่ตองการนอกจากนี ้

Page 6: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ชูชัย สมิทธิไกร (2542, หนา 5) ไดสรุปวา การฝกอบรม คือ กระบวนการจัดการเรยีนรูอยางเปนระบบเพื่อสรางหรือเพิ่มพูนความรู ทักษะ ความสามารถ และเจตคติ ของบคุลากร อันจะชวยปรับปรุงใหการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากความหมายของการฝกอบรมดังกลาวขางตน สรุปไดวา การฝกอบรมเปน กระบวนการพัฒนาบุคคลในหนวยงานใหมีความรู ความสามารถและทักษะความชํานาญการเพิม่สูงขึ้นและสงเสริมใหเกิดทัศนคติที่ดี เพื่อใหสามารถปฏิบัติงานในหนาที่และภารกิจที่ไดรับมอบหมายไดอยางมีประสิทธิภาพ ความสําคัญของการฝกอบรม การบริหารงานในองคการตาง ๆ ตองอาศัยความรู ความชํานาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองคการ เพื่อนําองคกรไปสูความสําเร็จตามเปาหมาย อยางไรก็ตามแมวาองคการจะมีบุคลากรที่มีคุณสมบัติครบถวนดังกลาวอยูแลว แตความเจริญกาวหนาของวิทยาการและเทคโนโลยีไดพัฒนาไปอยางรวดเร็วมาก องคการจึงมีความจําเปนที่จะตองนําวิทยาการและเทคโนโลยีใหม ๆ เขามาใชในองคการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการที่นําความรูใหม ๆ เขามาใชในการปฏิบัติงานนั้น จําเปนตองพัฒนาบุคลากรใหมีความพรอมที่จะรับความเจริญกาวหนาของเทคโนโลยีและความรูใหมเพื่อใหองคการอยูรอดและสามารถแขงขันกับองคการอื่น ๆ ได การฝกอบรมเปนวิธีการที่องคการตาง ๆ นํามาใช เพื่อพัฒนาบุคลากรของตนใหมีความรูความสามารถที่ทันสมัย อีกทั้งเปนการเพิ่มพูนทักษะความชํานาญในการปฏิบัติงานดวย มีผูกลาวถึงความสําคัญของการฝกอบรมไวหลายประการ ดังนี้ เครือวัลย ล่ิมอภิชาติ (2531, หนา 6 - 7) กลาววา การฝกอบรมมีความสําคัญเนื่องมาจากสาเหตุดังนี ้ 1. ไมมีสถาบันการศึกษาใด ๆ ที่สามารถผลิตคนใหมีความสามารถที่จะทํางานตาง ๆ ได ทันที องคการที่รับบุคลากรใหมจึงตองทําการฝกอบรมประเภทกอนการทํางาน (pre service training) เพื่อใหบุคลากรใหมสามารถคุนเคยกับสถานที่ที่จะทํางานเขาใจถึงสิทธิและหนาที่ในฐานะเปนสมาชิกขององคการตลอดจนเขาใจวัตถุประสงคของหนวยงาน มีความรู ทักษะ และทัศนคติที่พอเหมาะกับความตองการขององคการ 2. สภาพแวดลอมตาง ๆ ทั้งภายในและภายนอกขององคการ มีการเปลี่ยนแปลงอยู ตลอดเวลาโดยเฉพาะอยางยิง่ความเจริญกาวหนาทางเทคโนโลยี เปนผลใหองคการตองหาทางให บุคลากรสามารถทํางานในสภาพแวดลอมใหม ๆ ได ภายในเวลาอันรวดเร็ว และการฝกอบรมที่ถูกตองจะชวยใหคนสามารถเรียนรูไดเร็วยิ่งขึ้น

Page 7: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

3. ไดมีการพสูิจนแลววาการขาดการฝกอบรมและการพฒันาอยางเปนระบบกอใหเกดิ คาใชจายในการฝกอบรมทางออมสูงมาก เนื่องจากผูปฏิบัติงานตองฝกฝนเองโดยลองผิดลองถูก หรือสังเกตจากผูอ่ืน ทําใหเสียเวลาและอาจไมไดเรียนรูวิธีการทํางานที่ดีที่สุด 4. เมื่อองคการใดมีการฝกอบรมและการพฒันาอยางมีระบบองคการนั้นก็ไดรับประโยชน จากการฝกอบรมและการพฒันา คือมีการเพิ่มผลผลิต (productivity) นั่นคือ มีผลผลิตสูง มีตนทุนต่ํา มีกําไรมาก มบีุคลากรที่มีคุณภาพและมีความพอใจในการทํางาน ฯลฯ นอกจากนี้ ปรียาพร วงศอนุตรโรจน (2523, หนา 250 – 251) กลาวถึงความสําคัญของการฝกอบรมไว ดงันี้ 1. ลดเวลาในการเรียนรู เพือ่ปฏิบัติงานไดถูกตอง การฝกอบรมที่ถูกตองจะเพิ่มผลผลผลิตใหกับองคการ 2. เพื่อการปรับปรุงการทํางานใหดีขึ้นการฝกอบรมไมเพียงแตเปนความจําเปนสําหรับพนักงานใหมเทานั้น แตเปนสิ่งที่ขาดไมไดสําหรับพนักงานที่ทํางานอยูเพื่อใหการทํางานดีขึ้น 3. เพื่อสรางเจตคติที่ดีตอการทํางาน ใหเกดิความผูกพนัและภกัดีตอองคการดวย 4. เพื่อเปนการชวยแกปญหาที่เกิดขึ้นจากการทํางาน ลดอุบัติเหตุ การขาดงาน ลาออกจากงานของพนักงาน 5. เพื่อการวางแผนกําลังคน เปนการจัดวางบุคคล ใหเปนไปตามความตองการขององคการ การฝกอบรมทําใหเกิดความรับผิดชอบ มีคุณภาพ รวมถึงขวัญและกําลังใจในการทํางาน 6. เพื่อเปนประโยชนกับพนกังาน พนกังานตองการทักษะ ความรูใหม ๆ เพื่อความ กาวหนาในอาชีพ ความสําคัญดังกลาวสอดคลองกับความคิดเห็นของ นอย ศิริโชติ (2524, หนา 9 - 10) และสุปราณี ศรีฉัตราภิมุข (2524, หนา 3 - 4) ที่สรุปวา การฝกอบรมทําใหบุคคลสามารถที่จะทํางานในตําแหนงหนาที่ปจจุบันไดอยางมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล อีกทั้งสามารถทําใหบุคคลไดรับการพัฒนาใหถึงขีดความสามารถ เพื่อการสับเปลี่ยนโยกยายตัวบุคคลในการปฏิบัติหนาที่ การงาน และเพื่อเล่ือนขั้น เล่ือนตําแหนงตอไปในอนาคต สรุปไดวาการฝกอบรมเปนวิธีการสําคัญอยางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรใหมีรูและทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานในตําแหนงหนาที่และภาระงานที่รับผิดชอบ เปนการสงเสริมใหมีเจตคติที่ดีตอการทํางาน และมีความพรอมที่จะรับความเจริญกาวหนาของเทคโนโลยีและความรูใหมรวมทั้งเปนการเตรียมความพรอมในการสับเปลี่ยนโยกยาย หรือเล่ือนตําแหนงใหสูงขึ้น การจัดการฝกอบรมอยางเปนระบบ การฝกอบรมในอดีตมักถูกมองในรูปของกระบวนการเทานั้น คือมองในลักษณะของ ขั้นตอนและความตอเนื่องของขั้นตอนเปนสําคัญ เชน การหาความจาํเปนในการฝกอบรมการสราง

Page 8: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

และพัฒนาหลกัสูตร การคัดเลือกผูเขารับการฝกอบรม การดําเนินการฝกอบรม การประเมินผล และ ติดตามผล การดําเนินการฝกอบรมตามขั้นตอนดังกลาวก็ยังเปนที่นิยมอยู ในปจจุบันแนวความคิดในเร่ืองระบบไดเขามามีบทบาท นักวิชาการตาง ๆ ไดพยายามอธิบายการฝกอบรมในลักษณะของระบบโดยพิจารณาถึงหนาที่และความสัมพันธระหวางกันขององคประกอบตาง ๆ ของการฝกอบรมจะตองเปนกระบวนการที่มี “ส่ิงที่เขาไป” (input) มี “กระบวนการ” (process) มี “ผลที่ออกมา” (output) และจําเปนตองมี “การปอนกลับ” (feedback) อยางตอเนื่อง ซ่ึงทุกกระบวนการตองมีการกระทําตอเนื่องเปนระบบและมีความสําคัญทุกกระบวนการ (เครือวัลย ล่ิมอภิชาติ, 2531, หนา 7) การจัดการฝกอบรมอยางเปนระบบ (systematic approach to training) อิงอยูบนแนวคิดแบบระบบ (system approach) ซ่ึงมีสาระสําคัญคือ (ชูชัย สมิทธิไกร, 2542, หนา 27 - 29) 1. ระบบการฝกอบรม เปนเพียงระบบยอยระบบหนึ่งขององคการ และมีปฏิสัมพันธกับ ระบบอื่น ๆ อยางตอเนื่อง เชน นโยบายขององคการในดานการคัดเลือกบุคลากรหรือการจัดการ ยอมมีอิทธิพลอยางมากตอการจัดการฝกอบรม 2. แนวคดิแบบระบบเนนการนําขอมูลยอนกลับ (feedback) มาใชเพือ่การปรับปรุงกระบวนการฝกอบรมอยางตอเนื่อง 3. แนวคดิแบบระบบ จะทําหนาที่เปนเสมือนกรอบความคิดสําหรับการวางแผนและดําเนินการฝกอบรม ดังแสดงในภาพประกอบที่ 1

ภาพที่ 1 กระบวนการทํางานแบบระบบ

จากภาพที่ 1 แสดงองคประกอบของการทํางานแบบระบบ ซ่ึงเห็นไดวากระบวนการ ทํางานของระบบจะดําเนินไปอยางตอเนื่องและหมุนเวียนเปนวัฏจักร โดยอาศัยขอมูลยอนกลับเปน ส่ิงที่ชี้แนะการปรับเปลี่ยนส่ิงที่เปนปจจัยนําเขาของระบบ เพื่อใหไดผลลัพธที่ตรงกับความตองการขององคการ เมื่อพิจารณาในเรื่องของการฝกอบรมปจจัยที่ปอนเขาไปในระบบการฝกอบรมบุคลากร

ขอมูลยอนกลับ (feedback)

ปจจัยนําเขา (input)

กระบวนการแปรรูป (transformation process)

ผลลัพธ (output)

Page 9: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ไดแก ความรู ความสามารถ ทักษะ บุคลิกภาพ แรงจูงใจ และทัศนคติของบุคลากรในองคการ โครงการจัดอบรมตาง ๆ ที่ถูกจัดขึ้นมีจุดมุงหมายเพื่อทําหนาที่ปรับปรุง เพิ่มพูน สงเสริม และสนับสนุนใหบุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงในดานตาง ๆ เพื่อใหมีผลลัพธหรือพัฒนาการเปนที่นาพอใจขององคการ ทั้งนี้ การจะบรรลุวัตถุประสงคดังกลาว องคการจะตองมีการประเมินและติดตามผลอยูทุกระยะ เพื่อใหทราบปญหา อุปสรรค และสิ่งที่ควรปรับปรุง และนําขอมูลเหลานี้ไปใชในการปรับปรุงและพฒันาโครงการฝกอบรมตอไป สามารถนําเสนอขั้นตอนของการจัดการฝกอบรมอยางเปนระบบ ไดดงัภาพประกอบที่ 2 (ชูชัย สมิทธิไกร, 2542, หนา 30 - 34)

การวิเคราะหความตองการ 1. การวิเคราะหองคการ 2. การวิเคราะหภารกิจ 3. การวิเคราะหบุคคล

กําหนดวัตถุประสงค ของการฝกอบรม

คัดเลือกและออกแบบ โครงการฝกอบรม

จัดการฝกอบรม

ประเมินผล

ความแมนตรงของผลที่ไดรับจากการฝกอบรม

สรางเกณฑสําหรับการประเมินผล

ภาพที่ 2 ขั้นตอนของการจัดการฝกอบรมอยางมีระบบ

Page 10: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

จากภาพที่ 2 กระบวนการของการจัดการฝกอบรมอยางเปนระบบ มีทัง้สิ้น 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วเิคราะหความตองการในการฝกอบรม เปนขั้นตอนแรกของการจัดการ ฝกอบรมอยางเปนระบบ การวิเคราะหความตองการในการฝกอบรมประกอบดวยการวิเคราะหสามประการคือ 1. การวิเคราะหองคการ เปนการตรวจสอบเปาหมายขององคการ ทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว ซ่ึงขอมูลเกี่ยวกับเปาหมายขององคการจะเปนสิ่งที่กําหนดทิศทางและการวางแผนการ ฝกอบรม การวิเคราะหองคการยังเปนการตรวจสอบบรรยากาศการทํางานภายในองคการการ ฝกอบรมไมอาจจะกอใหเกิดประโยชนใด ๆ ได หากผูบังคับบัญชาไมไดสนับสนุนใหผูรับการอบรมนําส่ิงที่เรียนรูมาใชในการทํางานจริง นอกจากนี้การวิเคราะหองคการยังเปนการสํารวจทรัพยากรที่มีอยูภายในองคการ ซ่ึงจาํเปนตอการจัดโครงการฝกอบรมใหบรรลุผลสําเร็จ 2. การวิเคราะหภารกิจ คือการวิเคราะหภารกิจซึ่งผูเขารับการอบรมจะตองปฏิบัติ ภายหลังการฝกอบรม การวิเคราะหนี้จะบงบอกวาผูปฏิบัติงานจะตองทําอะไร อยางไร และเพราะเหตุใด นอกจากนั้นยังบงบอกอีกดวยวาผูปฏิบัติงานนั้น ๆ จะตองมีความรู ทักษะ และความสามารถอะไรบาง สําหรับการปฏิบัติงานนั้น ๆ ขอมูลจากการวิเคราะหนี้จะชวยใหนักจัดการฝกอบรมทราบวา หลักสูตรและเนื้อหาของการฝกอบรมควรจะประกอบดวยส่ิงใดบาง 3. การวิเคราะหบุคคล การวิเคราะหในขั้นตอนนี้ จะชวยใหทราบวาผูปฏิบัติงานแตละคน มีความรู ทักษะ และความสามารถที่จะเปนสําหรับการปฏิบัติงานอยูในระดับใด เพื่อพิจารณาวาจําเปนจะตองไดรับการฝกอบรมเพิ่มเติมหรือไม ขั้นตอนที่ 2 กาํหนดวัตถุประสงคของการฝกอบรม ขอมูลตาง ๆ ที่ไดจากการวิเคราะห ความตองการในขั้นตอนแรก จะเปนสิ่งที่นํามาใชในการกําหนดวัตถุประสงคของการฝกอบรม ซ่ึงเปนเสมือนเข็มทิศสําหรับการออกแบบ และพัฒนาหลักสูตรการฝกอบรมตอไป และยังเปนสิ่งที่กําหนดแนวทางการประเมินผลโครงการฝกอบรมอีกดวย ขั้นตอนที่ 3 คัดเลือกและออกแบบโครงการฝกอบรม เพื่อใหผูรับการอบรมมีการเรียนรู และการพัฒนาตามที่วัตถุประสงคกําหนดไว การออกแบบโครงการฝกอบรมจําเปนตองคํานึงถึงปจจัยตาง ๆ มาก ไมวาจะเปนหัวขอวิชา เนื้อหา รูปแบบ และวิธีการอบรม ส่ือการสอนวิทยากร และเวลาสําหรับการฝกอบรม เปนตน ขั้นตอนที่ 4 สรางเกณฑสําหรับการประเมนิผล โดยเกณฑที่สรางขึ้นจะตองอิงหรือ สอดคลองกับวัตถุประสงคของการฝกอบรมที่กําหนดไว เกณฑควรระบุวาพฤตกิรรมอะไรที่ผูเขารับการอบรมจะตองมีการพฒันาไมวาจะเปนความรู ทักษะ หรือความสามารถ

Page 11: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ขั้นตอนที่ 5 จดัการฝกอบรม เปนขั้นตอนของการดําเนินการฝกอบรมตามแผนที่กําหนดไว ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลการฝกอบรม การประเมินจะบงชี้วาผลทีไดรับจากการฝกอบรม นั้นตรงกับความตองการและวัตถุประสงคของการฝกอบรมหรือไม ผลที่ไดรับจากการประเมินจะเปนขอมูลยอนกลับสําหรับการปรับปรุงแกไขโครงการฝกอบรมตอไปในอนาคต ประเภทของการฝกอบรม การฝกอบรมบุคลากรมีอยูดวยกันหลายลักษณะ แลวแตวาจะใชส่ิงใดเปนหลักเกณฑใน การจําแนก ซ่ึงสามารถจําแนกตามเกณฑตาง ๆ ไดดังตอไปนี้ (ชูชัย สมิทธิไกร, 2542, หนา 7-10) 1. แหลงของการฝกอบรม โดยใชแหลงของผูรับฝกอบรมเปนเกณฑ ซ่ึงแบงไดเปนสองลักษณะ คือ 1.1 การฝกอบรมภายในองคการ (in – house training) เปนการฝกอบรมที่องคการจัด ขึ้นเองภายในสถานที่ทํางาน โดยหนวยฝกอบรมขององคการจะเปนผูออกแบบและพฒันาหลักสูตร กําหนดตารางเวลา และเชิญผูทรงคุณวุฒิทัง้จากภายในและภายนอกองคการมาเปนวทิยากร 1.2 การซื้อการฝกอบรมจากภายนอก การฝกอบรมประเภทนี้ มิไดเปนสิ่งที่องคการ จัดขึ้นเอง แตเปนการจางองคการฝกอบรมภายนอกใหเปนผูจัดการฝกอบรมแทน หรืออาจจะเปนการสงพนักงานเขารับการฝกอบรม ซ่ึงจัดขึ้นโดยองคการภายนอก 2. การจัดประสบการณการฝกอบรม เกณฑขอนี้บงบอกวาการฝกอบรมไดรับการจัดขึ้น ในขณะที่ผูรับการอบรมกําลังปฏิบัติงานอยูดวย หรือหยุดพักการปฏิบัติงานไวช่ัวคราว เพื่อรับการอบรมในหองเรียน ไดแก 2.1 การฝกอบรมในงาน (on – the – job training) การฝกอบรมประเภทนี้จะกระทํา โดยการใหผูรับการฝกอบรมลงมือปฏิบัติงานจริง ๆ ในสถานที่ทํางานจริง ภายใตการดูแลเอาใจใสของพนักงานซึ่งทําหนาที่เปนพี่เล้ียง โดยการแสดงวิธีการปฏิบัติงานพรอมทั้งอธิบายประกอบจากนั้นจึงใหผูรับการอบรมปฏิบัติตามพี่เล้ียงจะคอยดูแลใหคําแนะนําและชวยเหลือหากมีปญหาเกิดขึ้น 2.2 การฝกอบรมนอกงาน (off – the – job training) ผูรับการฝกอบรมประเภทนี ้จะเรียนรูส่ิงตาง ๆ ในสถานที่ฝกอบรมโดยเฉพาะและตองหยุดพักการปฏิบัติงานภายในองคการไวเปนการชั่วคราว จนกวาการฝกอบรมจะเสร็จสิ้น 3. ทักษะที่ตองการฝก หมายถึง ส่ิงที่การฝกอบรมตองการเพิ่มพูนหรือสรางขึ้นในตวั ผูรับการอบรม ไดแก

Page 12: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

3.1 การฝกอบรมทักษะดานเทคนิค (technical skills training) คือการฝกอบรมที่ มุงเนน การพฒันาทักษะที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติงานดานเทคนิค เชน การบํารุงรักษาเครื่องจักร การวิเคราะหสินเชื่อ เปนตน 3.2 การฝกอบรมทักษะดานการจัดการ (managerial skills training) คือการฝกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู และทักษะดานการจัดการและบริหารงาน โดยสวนใหญแลวผูรับการฝกอบรมมักจะมีตําแหนงเปนผูจดัการ หรือ หัวหนางานขององคการ 3.3 การฝกอบรมทักษะดานการติดตอสัมพันธ (interpersonal skills training) การฝกอบรมประเภทนี้มุงเนนใหผูรับการฝกอบรม มีการพัฒนาทักษะในดานการทํางานรวมกับผูอ่ืน รวมทั้งการมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนรวมงาน 4. ระดับชั้นของพนักงานทีเ่ขารับการฝกอบรม หมายถึง ระดับความรบัผิดชอบในงาน ของผูเขารับการอบรม ไดแก 4.1 การฝกอบรมระดับพนกังานปฏิบัติการ (employee training) คือการฝกอบรมที่จัดใหแกพนกังานระดับปฏิบัตกิาร โดยมักจะเปนการฝกอบรมที่เกี่ยวของกับลักษณะและขั้นตอนของการปฏิบัติงาน 4.2 การฝกอบรมระดับหวัหนา (supervisory training) คือ การฝกอบรมที่มุงเนน พนักงานทีด่ํารงตําแหนงเปนผูบริหารระดบัตนขององคการ การฝกอบรมประเภทนี้ มักจะม ีหลักสูตรที่ใหความรู ความเขาใจเบื้องตนเกี่ยวกับการบรหิารงาน 4.3 การฝกอบรมระดับผูจัดการ (managerial training) กลุมเปาหมายของการฝกอบรม ประเภทนี้คือ กลุมพนักงานระดับผูจัดการฝาย หรือผูจัดการระดับกลางขององคการเนื้อหาของการฝกอบรมจะมุงเนนใหผูรับการฝกอบรม มีความรู ความเขาใจในหลักการจัดการและบริหารงานที่ลึกซึ้งมากขึ้นกวาเดิมเพื่อใหสามารถบริหารงานและจัดการคนไดอยางมีประสิทธิภาพ 4.4 การฝกอบรมระดับผูบริหารชั้นสูง (executive training) การฝกอบรมประเภทนี ้มุงเนนใหผูรับการอบรมซึ่งเปนผูบริหารระดับสูงขององคการ มีความรู ความเขาใจอยางลึกซึ้งเกี่ยวกับการบริหารองคการ เชน การวางแผนและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ (strategic planning and decision - making) หรือ การพัฒนาองคการ (organizational development) นอกจากการแบงประเภทการฝกอบรมตามเกณฑดังกลาวแลว เราอาจแบงประเภทของ การฝกอบรมโดยใชหลักเกณฑหลาย ๆ ประการควบคูกันไปก็ไดซ่ึงสามารถจําแนกประเภทการฝก อบรมไดเปนสามประเภท ดังนี้ (ไตรรัตน โภคพลากรณ, 2531, หนา 341 - 344) 1. การฝกอบรมกอนเขาทํางาน (pre - service training) มีวัตถุประสงคเพื่อตองการฝกฝนใหบุคลากรมีความรู ความชํานาญ เกี่ยวกับลักษณะงานในหนาที่ที่บุคคลนั้นจะตองปฏิบัติตอไป

Page 13: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

และเมื่อบุคลากรใดที่ไดรับการฝกอบรมประเภทนี้แลว ยอมแสดงวาพรอมที่จะปฏิบัติงานในหนาที่ที่จะไดรับมอบหมายตอไป 2. การฝกอบรมปฐมนิเทศ (orientation) การฝกอบรมประเภทนี้ใชสําหรับการฝกอบรมผูที่แรกเขามาทํางานใหมในองคการ โดยอาจจะเปนการบรรจุแตงตั้งใหม ยายหรือโอนมาจากองคการอื่น หรือภายในองคการเองก็ตาม 3. การฝกอบรมหลังเขาทํางานแลว (in - service training) การฝกอบรมประเภทนี้เปนการฝกอบรมสําหรับผูเขาทํางานอยูแลว เพื่อประโยชนในการเพิ่มพูนความรู ทักษะและทัศนคติของผูเขารับการฝกอบรม ใหเปนไปตามวัตถุประสงคที่ตองการ เพื่อใหนําความรูและทักษะไปใชในการปฏิบัติงาน ใหเกิดความกาวหนาในอาชีพการงาน เกิดขวัญ กําลังใจที่ด ี การฝกอบรมประเภทนี้ สามารถจําแนกออกเปนประเภทยอย ๆ ไดดังนี้ 3.1 การฝกอบรมเพื่อใหเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน (skill - training) เปนการฝกอบรม บุคลากรระดบัตนเพื่อใหเกดิสมรรถภาพในการทํางานเหมาะสมกับตาํแหนง 3.2 การฝกอบรมระดับผูบังคับบัญชา (supervisor training) ไดแก การฝกอบรมกับ หัวหนางานซึ่งเปนผูมีบทบาทอยางมากตอองคการ ในการปฏิบัติงานใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางาน โดยมีเปาหมายที่จะเพิ่มทักษะในดานตาง ๆ ไดแก ทักษะในการเปนผูนํา ทักษะในการสอนงาน ทักษะในการปรับปรุงแกไขงาน ทักษะในการปองกนัมิใหเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน 3.3 การฝกอบรมเกี่ยวกับการจัดการ (managerial training) ผูเขารับการอบรมประเภทนี้คือ นักบริหารระดับกลางที่มีหนาที่รับนโยบายและแผนจากนักบริหารระดับสูง มาสั่งการหัวหนางาน เพื่อใหมีการปฏิบัติตามนโยบายและแผนสาระสําคัญของการฝกอบรมแบบนี้จะเกี่ยวกับการตัดสินใจ ภาวะผูนํา การจูงใจ เปนตน 3.4 การพัฒนานักบริหาร (executive development) นักบริหารหมายถึง บุคคลที่ดํารง ตําแหนงสูงสุดในสายการบังคับบัญชาของหนวยงาน สําหรับการฝกอบรมหลักสูตรนักเรียน นักทําลายใตน้ําจูโจมชั้นตน เปนการฝกอบรมกอนเขาทํางาน (pre - service training) มีวัตถุประสงคเพื่อตองการฝกฝนใหบุคลากรมีความรู ความชํานาญ เกี่ยวกับลักษณะงานในหนาที่ที่บุคคลนั้นจะตองปฏิบัติตอไป และปฏิบัติงานในหนาที่ที่จะไดรับมอบหมายตอไปไดอยางมีประสิทธิภาพ เทคนิคการฝกอบรม เทคนิคการฝกอบรม หมายถึง วิธีการสอนหรือวิธีการอบรมในรูปแบบตาง ๆ ที่จะทําใหผูรับการฝกอบรม เกิดการเรียนรู เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คอนขางถาวรตามวัตถุประสงคเมื่อบุคลากรใดผานการฝกอบรมประเภทนี้แลว ยอมแสดงวาพรอมที่จะของการฝกอบรม ซ่ึงเทคนิคการฝกอบรมแตละอยางจะเหมาะสมกับบางวิชา บางกลุมบางระดับอายุ การศึกษา ชวง

Page 14: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ระยะเวลา ฯลฯ ผูฝกอบรมจึงตองเลือกใชเทคนิคตาง ๆ เพื่อใหเกิดผลมากที่สุดโดยไมจําเปนตองใชเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งแตเพียงอยางใดอยางเดียว ควรเลือกใชวิธีการตาง ๆ เพื่อชวยใหเกิดการเรียนรูอยางมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงคของโครงการฝกอบรม เร่ืองนี้ ชูชัย สมิทธิไกร (2542, หนา 172) กลาววา วิธีการฝกอบรม หมายถึง เครื่องมือหรือกิจกรรมตาง ๆ ที่ใชในการติดตอส่ือสารและถายทอดความรูและประสบการณระหวางผูฝก อบรมกับผูรับการฝกอบรม และระหวางผูรับการอบรมดวยกันเอง เพื่อทําใหผูรับการอบรมมีความรู ทักษะ ความสามารถและทัศนคติตรงตามวัตถุประสงคของการฝกอบรม เครือวัลย ล่ิมอภิชาติ (2531, หนา 184 - 206) ไดจัดประเภทเทคนิคการฝกอบรมออกเปนส่ีประเภทใหญ ดังนี้ 1. เทคนิคการฝกอบรมประเภทใหวิทยากรเปนศูนยกลางการเรียนรู ไดแก การบรรยาย การอภิปรายเปนคณะ และการประชุมปาฐก 2. เทคนิคการฝกอบรมประเภทใหผูเขารับการอบรมเปนศูนยกลางการเรียนรู ไดแก การระดมสมอง กรณีศึกษา การสาธิต การประชุมเชิงปฏิบัติการ การอภิปรายกลุม ทัศนศึกษา การแสดงบทบาทสมมติ การสัมมนา 3. เทคนิคการฝกอบรมประเภทการพัฒนาการเรียนรูเปนรายบุคคล ไดแก การสอนงาน การใชคอมพิวเตอรชวยสอน การสอนโดยใชโปรแกรมการเรยีนรู การฝกอบรมทางไปรษณีย 4. เทคนิคการฝกอบรมประเภทใชโสตทัศนูปกรณ เปนศูนยกลางการเรียนรู ไดแก การสอนโดยใชภาพยนตร ทีวี การสอนโดยใชสไลด / เทป เทคนิคการฝกอบรมดังกลาว เปนการจําแนกโดยเนนบทบาทของ ผูฝกอบรมและผูรับการอบรม ทั้งนี้สามารถใชเกณฑอ่ืนในการจําแนกไดอีกเชนกัน เชน การนําเสนอแนวคิดของ ชูชัย สมิทธิไกร (2542, หนา 173 - 207) ไดใชเกณฑประเภทอื่นในการจําแนก ดังนี้ 1. จําแนกโดยยึดวตัถุประสงคของการฝกอบรมเปนสําคัญ ไดแก 1.1 เทคนิคการฝกอบรมที่มุงเนนการเปลี่ยนแปลงดานความรู คือ วิธีการที่มุงใหผูรับการอบรมมีความรูที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติงานอยางถูกตอง และมากเพียงพอ 1.2 เทคนิคการฝกอบรมที่มุงเนนการเปลี่ยนแปลงดานทักษะ และความสามารถคือ วิธีการที่มุงใหผูรับการอบรมมีทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน ไดอยางถูกตองและมีประสิทธิภาพ 1.3 เทคนิคการฝกอบรมที่มุงเนนการเปลี่ยนแปลงดานทัศนคติคือ วิธีการที่มุงใหผูรับการอบรมมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งตาง ๆ ในทางที่เหมาะสมและเอื้ออํานวยตอการปฏิบัติงาน

Page 15: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

2. จําแนกโดยอาศัยลักษณะของการเรียนรู ไดแก 2.1 เทคนิคการฝกอบรมที่มุงเนนการเรยีนรูเปนรายบุคคล คือ วิธีการซึ่งจัดใหผูรับ การอบรมไดเรียนรูส่ิงตาง ๆ ดวยตนเองเปนรายบุคคล โดยอาจจะอาศยัเครื่องมือ อุปกรณการเรยีนตาง ๆ เชน คอมพิวเตอร เปนตน 2.2 เทคนิคการฝกอบรม ที่มุงเนนการเรยีนรูเปนกลุม คอื วิธีการซึ่งจัดใหผูรับการ อบรมไดเรียนรูกันเปนกลุมตั้งแตสองคนขึ้นไป หลักเกณฑทั้งสองประการจะชวยใหสามารถเลือกใชเทคนิคการฝกอบรมไดอยางเหมาะสมถูกตองและรวดเร็ว และเมื่อประสานหลักเกณฑทั้งสองประการเขาดวยกนัก็จะไดเทคนิคการฝกอบรมแบบตาง ๆ อีก 6 ประเภท ดังนี้ 1. เทคนิคการฝกอบรม ซ่ึงมุงเนนความรูและการเรียนรูเปนกลุม ไดแก 1.1 การบรรยาย (lecture) คือ การบรรยายสาระความรูตาง ๆ โดยวิทยากรเปน การสื่อสารแบบทางเดียวจากวิทยากรสูผูรับการอบรมอาจใชส่ืออุปกรณการฝกอบรมประกอบ การบรรยาย 1.2 การอภิปรายกลุม (group discussion) คือ การแบงผูรับการอบรมเปนกลุมยอย ๆ จํานวนตั้งแต 4-12 คน และใหสมาชกิในแตละกลุมไดอภิปรายแลกเปลี่ยนความคดิเห็นหรือ ประสบการณซ่ึงกันและกัน เพื่อคนหาขอสรุป หรือ ขอเสนอแนะเกีย่วกับประเด็นใดประเด็นหนึง่ 1.3 การอภิปรายเปนคณะ (panel discussion) คือ การอภปิรายรวมกนั โดยกลุม ผูทรงคณุวุฒิ ประมาณ 3 - 5 คน โดยมีพิธีกร (moderator) เปนผูดําเนินรายการ ผูทรงคุณวุฒแิตละทานจะอภิปรายประเดน็ตาง ๆ ตามที่ไดรับมอบหมาย และเปดโอกาสใหผูรับการอบรมซักถามปญหาได 1.4 การระดมสมอง (brainstorming) คือ การประชุมกลุมซึ่งเปดโอกาสและกระตุน ใหสมาชิกทุกคนไดแสดงความคิดเห็นอยางเสรีโดยปราศจากขอจํากดั การวิพากษวจิารณ หรือ การตัดสินคุณคาใด ๆ 2. เทคนิคการฝกอบรมซึ่งมุงเนนความรูและการเรียนรูเปนรายบุคคล ไดแก 2.1 โปรแกรมการเรียนดวยตนเอง (programmed instruction) คือ แบบเรียนสําหรับ การเรียนดวยตนเอง โดยผูเรียนจะตองศึกษาเนื้อหาตามลําดับที่ไดจัดวางไวเรียบรอยแลวระหวางการเรียน ผูเรียนจะตองตอบคําถามตาง ๆ ซ่ึงไดแทรกอยูในแบบเรียนเปนระยะ ๆ 2.2 การสอนโดยใชคอมพวิเตอร (computer – assisted instruction) เปนการเรียน ซ่ึง ผูเรียนจะตองมีปฏิสัมพันธโดยตรงกับคอมพิวเตอร ซ่ึงไดเก็บรวบรวมขอมูลตาง ๆ ที่จะเปนสําหรับการเรียนไวแลว

Page 16: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

3. เทคนิคการฝกอบรมซึ่งมุงเนนทักษะ ความสามารถ และการเรียนรูเปนกลุม ไดแก 3.1 การสาธิต (demonstration) คือ การแสดงใหผูรับการอบรมเห็นถึงการปฏิบัติจริง และเปดโอกาสใหผูรับการอบรมไดทดลองปฏิบัติตามและซักถามปญหา 3.2 กลุมฝกแกไขปญหา (task force exercise) คือ การมอบหมายใหสมาชิก ตั้งแต 3-8 คน รวมกันทํางานเพื่อแกไขปญหาใดปญหาหนึ่ง และเสนอหนทางการแกไขปญหาใหแกที่ประชุม 3.3 กรณีศึกษา (case studies) คือ การบรรยายสถานการณในรูปของงานเขียน เทป บันทึกเสียง หรือวีดีทัศน เพือ่ใหผูรับการอบรมศึกษาและอภิปราย ภายใตการแนะนาํของวิทยากร 3.4 การจําลองสถานการณ (simulation) คือ แบบฝกหัดซึ่งจําลองสถานการณในการทํางาน และเปดโอกาสใหผูรับการอบรมไดฝกฝนทักษะ และประยุกตความรูภายในระยะเวลาอันจํากัด และภายใตสถานการณที่ไมมีความเสี่ยง 3.5 เกมสเชิงธุรกิจ (business games) คือ สถานการณจําลองดานธุรกิจซ่ึงกําหนดใหผูรับการอบรมตองทําการตัดสินใจเปนระยะ ๆ และการตดัสินใจแตละครั้งจะสงผลกระทบตอสภาพการณภายหลัง 3.6 การแสดงบทบาทสมมติ (role playing) คือ กิจกรรมซึ่งกําหนดใหผูรับการอบรมแสดงบทบาทตามสถานการณที่ไดกําหนดไว จากนั้นก็มกีารอภิปราย และการวิเคราะหเพื่อพิจารณาวา มีส่ิงใดเกิดขึ้นบางและเพราะอะไร 3.7 การแสดงแบบพฤติกรรม (behavior modeling) คือ การแสดงพฤติกรรมซึ่งใชในการจัดการกับสถานการณตาง ๆ อยางเปนขั้นตอนทีละขั้น และเปดโอกาสใหผูรับการอบรมไดฝกปฏิบัติตามขั้นตอนที่ไดแสดง พรอมทั้งมีการใหความคิดเห็นหรือวิจารณการเลียนแบบนั้นดวย 4. เทคนิคการฝกอบรมซึ่งมุงเนนทักษะความสามารถและการเรียนรูเปนรายบุคคล ไดแก 4.1 การฝกอบรมในงาน (on - the - job training) คือ การเรียนรูงานโดยการสังเกตการทํางานของพนักงานที่มีความชํานาญ และลงมือปฏิบัติจริงตามคาํแนะนําของพนักงานเหลานั้น 4.2 แบบฝกหดัรายบุคคล (individual exercise) คือ การมอบหมายงานใหผูเรียนแตละคนกระทํา เพือ่ประยุกตความรูไปใชในสถานการณเฉพาะของตนเอง 4.3 การฝกโดยใชอุปกรณจําลอง (machine simulator) คือ การฝกอบรมโดยอาศัยอุปกรณ ซ่ึงจาํลองการทํางานจริงของเครื่องจักรหรือเครื่องยนต เชน เครื่องฝกบิน เปนตน 5. เทคนิคการฝกอบรมซึ่งมุงเนนทัศนคติและการเรียนรูเปนกลุม สําหรับเทคนิค การฝกอบรมประเภทนี้ไดแก การอภิปรายกลุม การแสดงบทบาทสมมติ และการแสดงแบบพฤติกรรม

Page 17: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

6. เทคนิคการฝกอบรมซึ่งมุงเนนทัศนคติและการเรียนรูเปนรายบุคคล ไดแก การฝกอบรมในงาน จะเห็นไดวาเทคนิคการฝกอบรมบางวิธี สามารถนําไปใชเพื่อตอบสนองความตองการไดมากกวาหนึ่งวัตถุประสงค สรุปไดวา เทคนิคการฝกอบรมแตละอยางยอมจะเหมาะสมกับบางวิชากับบางกลุม ดังนั้นจึงตองเลือกใชเทคนิคการฝกอบรมใหเหมาะสม เพื่อใหเกิดผลมากที่สุด เทคนิคการฝกอบรมมีความสําคัญตอการถายทอดความรูของวิทยากร และยังมีผลไปถึงการจูงใจใหเกิดการเรียนรูอยางมี ประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงคของโครงการฝกอบรม การประเมินผลการฝกอบรม การประเมินผลการฝกอบรม เปนการประเมินคาความสําเร็จของการฝกอบรมวาไดสมดังความมุงหมายที่วางไวหรือไม ผูเขารับการฝกอบรมไดรับความรู ไดเนื้อหาวิชา ไดแนวทางในการปฏิบัติงาน ไดขวัญและกําลังใจรวมถึงเจตคติที่ดีขึ้นกับหนวยงานหรือไม การประเมินผล การฝกอบรมจึงเปนการมองในทุก ๆ ดาน เพื่อจะไดเห็นถึงขอบกพรอง จุดออนของการฝกอบรม เพื่อเปนแนวทางที่จะนํามาแกไขปรับปรุงใหดีขึ้น (ปรียาพร วงศอนุตรโรจน, 2535, หนา 265) ชชูัย สมิทธิไกร (2542, หนา 226) กลาววา การประเมินผลโครงการฝกอบรมมี วัตถุประสงคเพื่อตรวจสอบวาการฝกอบรมบรรลุตามวัตถุประสงคที่กําหนดไวหรือไม เพื่อคนหาจุดดีและจุดเสียของการฝกอบรม เพื่อตรวจสอบความคุมคาของโครงการฝกอบรม เพื่อวินิจฉัยวา ผูเขารับการอบรมใด หรือ กลุมใดที่ไดรับประโยชนมากที่สุดและนอยที่สุด จากการฝกอบรมและเพื่อรวบรวมขอมูลซ่ึงจะชวยในการจัดการฝกอบรมในอนาคต การประเมินผลโครงการฝกอบรม สามารถกระทําไดโดยอาศัยเกณฑ (criteria) ส่ีประเภท ไดแก (1) ปฏิกิริยาหรือความรูสึกของผูรับการอบรมที่มีตอโครงการฝกอบรม (2) การเรียนรูหรือ เกณฑที่บงชี้วาผูรับการอบรมมีความรู ทักษะ หรือทัศนคติเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกวาเดิมหรือไม (3) พฤติกรรมคือ การประเมินวาพฤติกรรมการทํางานของผูรับการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไมภายหลังจากการฝกอบรม และ (4) ผลลัพธ คือ การประเมินผลของ การฝกอบรมที่มีตอการดําเนินงานขององคการ สรุปไดวา การประเมินผลการฝกอบรมเปนขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการฝกอบรม ที่ตองการวัดผลที่ไดจากการฝกอบรมวา เปนไปตามวัตถุประสงคของการฝกอบรมที่ตั้งไวหรือไม เพียงใด และเพื่อตองการทราบวาการดําเนนิการฝกอบรมเปนไปอยางมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลเพียงใดนั่นเอง

Page 18: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

นโยบายดานการศึกษาของกองทัพเรือ

การปรับปรุงและพัฒนากองทัพใหมีความเจริญกาวหนาเปนกองทัพที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยจําเปนตองอาศัยบุคลากรที่มีความรู ความสามารถ ประสบการณ มีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบสูงเปนพื้นฐานสําคัญ กองทัพจึงตองใหความสําคัญในการใหการศึกษาอบรมแกกําลังพลในทุกระดับชั้น ใหเพียงพอและเหมาะสมกับวุฒิภาวะและหนาที่ของกําลังพลในแตละระดับรวมทั้งใหการศึกษาอบรมเพื่อสนับสนุนการคนควาวิจัย ในการพัฒนาทางดานวิชาการและเทคโนโลยีซ่ึงกองทัพเรือไดดําเนินการจัดการศึกษาใหแกกําลังพลโดยเร่ิมตั้งแตการศึกษาเพื่อการผลิตกําลังพลและพัฒนากําลังพลดวยการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนความรูตามแนวทางรับราชการและตามสาขาอาชีพทั้งนี้ดวยการเปดการศึกษาอบรมภายในกองทัพเรือใหแกกําลังพลในระดับตาง ๆ และจัดสงไปศึกษารวมทั้งอนุญาตใหลาไปศึกษานอกกองทัพเรือทั้งในประเทศและตางประเทศดังแสดงในภาพประกอบที่ 3 (กองทัพเรือ, 2541)

ในแตละปงบประมาณ กองทัพเรือจะจัดทําโครงการศึกษาอบรมประจําปใหสอดคลองกับนโยบายดานการศึกษาของกองทัพเรือภายใตการพิจารณาของ คณะกรรมการโครงการศึกษาของกองทัพเรือ ซ่ึงมีรองเสนาธิการทหารเรือเปนประธาน กลาวคือ การเปดการศึกษาอบรมภายในกองทัพเรือ จัดทําเปนโครงการศึกษา อบรม ประชุม และสัมมนาของหนวยตาง ๆ ในกองทัพเรือ การจัดสงไปศึกษาภายในประเทศนอกกองทัพเรือ จัดทําเปนโครงการศึกษาและอบรมขาราชการตามสถานศึกษาในประเทศและจัดสงไปศึกษาตางประเทศ จัดทําเปนโครงการฝก ศึกษา ประชุม สัมมนาและดูงาน ณ ตางประเทศของกองทัพเรือ สําหรับการอนุญาตใหลาไปศึกษานอกกองทัพเรือ

การจัดการศกึษาของกองทพัเรือ

เปดการศึกษาภายใน ทร. จัดสงและอนญุาตใหลาศึกษานอก ทร.

ภายในประเทศ ตางประเทศ

ภาพที่ 3 แผนการจัดการศกึษาตามนโยบายของกองทัพเรือ

Page 19: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ไมมีการจัดทําเปนโครงการแตใหดําเนินการตามระเบียบ และหลักเกณฑที่กําหนด ซ่ึงรวมถึงการลาไปศึกษาโดยใชเวลาราชการ หรือใชเวลานอกราชการ หรือใชเวลาราชการบางสวนไปศึกษา มีทั้งการใชทุนสวนตัวหรือไดรับทุนจากหนวยงานอื่น โดยไมมีขอผูกพันใด ๆ

ประวัติและบทบาทของหนวยสงครามพิเศษทางเรือ

ประวัติหนวยสงครามพิเศษทางเรือ ในระหวางสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกําลังทางเรือของทั้งฝายพันธมิตรและฝายอักษะ ตางก็ไดสงหนวยรบพิเศษ ซ่ึงเปนหนวยรบขนาดเล็ก ที่ไดรับการฝกใหมีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไป เขาปฏิบัติการเพื่อทําลายกองเรือ ส่ิงกอสราง และสถานที่ที่มคีวามสําคัญทางดานยุทธศาสตรของฝายตรงขาม ทําการกอวินาศกรรม และปฏิบัติการลับอื่น ๆ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ภารกิจของหนวยรบพิเศษ ไดมีการพัฒนาทั้งบุคลากรและอุปกรณ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบ รวมทั้งการพิจารณาหายุทธวิธีใหม ๆ เพื่อใหการปฏิบัติภารกิจประสบผลสําเร็จมากยิ่งขึ้น ป พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหม มีความคิดที่จะจัดตั้ง หนวยทําลายใตน้ํา โดยมีตัวแทนจากทุก ๆ เหลาทัพ และ เจาหนาที่จากกองทัพเรือประเทศสหรัฐอเมริกาประจําหนวย MAAG (Military Assistance Advisory Group) ที่ประชุมมีมติใหกองทัพเรือจัดตั้งหนวยฝก แตเกิดปญหาเนื่องจากครูผูฝกสอนฝายอเมริกันไมพรอมจึงระงับการฝกไว ป พ.ศ. 2496 บริษัท SEA SUPPLY เสนอใหการสนับสนุนการฝกใหกับกําลังพลของกองทัพเรือและกองกําลังตํารวจซึ่งผานการโดดรมมาแลว กําลังพลชุดแรกมี ขาราชการกองทัพเรือจํานวน 7 นาย กองกําลังตํารวจ จํานวน 8 นาย เดินทางไปเขารับการฝก ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2496 โดยทราบเพียงแตวาสถานที่ฝกมีชื่อวาเกาะ Z (Zulu) หลังจากนัน้ 61 วัน ชดุฝกไดเดนิทางกลบั โดยมีผูสําเร็จการฝกนักทําลายใตน้ํารุนแรกจํานวน 15 นาย หลังจากนั้นกองเรือยุทธการไดมีความคิดที่จะดําเนินการฝก จึงขออนุมัติกองทัพเรือจัดตั้งหนวยฝกและอบรมหนวยทําลายใตน้ํา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 โดย เรือโท วิศน ุปราบศากุน ไดรับแตงตั้งใหเปนผูบัญชาการหนวยฝก มีทหารอเมริกันและผูผานการฝกในตางประเทศมาแลวเปนครูฝกรุนแรกนี ้ มี ผูเขารับการฝกจํานวน 62 นาย สําเร็จการฝกจํานวน 14 นาย ซ่ึงเปนการฝกระดับตน (primary course) หลังจากนัน้ กองทัพเรืออนุมัติใหขาราชการไปอบรมนักทําลายใตน้ําระดับสูง (advance course) ณ ที่ใดไมมใีครทราบเพราะเปนความลับสุดยอด หลังจากเสร็จสิ้นการฝก ทําใหพวกเขามีขีดความ สามารถมากขึ้น ตอมาป พ.ศ. 2498 กองทพัเรืออนุมัต ิจัดตั้งอัตรา หมวดทําลายใตน้าํ กองบังคับการ กองเรือยุทธการ หลังจากนัน้ 1 ป มีการเปดการฝกรุนที่ 2 หนวยฝกตั้งอยูที่เรือหลวงทาจีน (ลําเกา) ป พ.ศ. 2502 ยายที่ตั้งมาที่เกาะพระ ป พ.ศ. 2514 ปรับปรุงการจัดกาํลังพลเปน แผนกปฏิบัติงานชายฝง กองการฝกปฏิบัติการฝายการศึกษา กองการฝก กองเรือยุทธการ จัดกําลังพลเปน 2 หมวด

Page 20: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

(นักทําลายใตน้ําจูโจม และ นักทําลายใตน้าํ) วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ยายอาคารที่ทําการใหมมาทางตะวนัออกของเกาะพระ โดยม ีพลเรือเอก สงัด ชลออยู เปนประธานในพิธี และไดบันทกึในสมุดเยี่ยมหนวยวา “พิธีเปดตึกที่ทําการหมวดทําลายใตน้ําจูโจม ในวนันี้เปนพิธีที่มีเกียรตยิศยิ่ง 20 กวาปมาแลวทีห่นวยนีไ้ดถือกําเนิดมาแตไมเคยมีที่ทําการเปนของตนเองเลย บัดนี้หนวยนี้มีที่ทําการอันสงางามกับเปนหนวยงานที่มีคุณคาตอกองทัพเรือ และประเทศเปนอยางมาก ขออวยพรใหหนวยงาน และตึกที่ทําการอันสงางามนี้ จงสถิตยสถาพรช่ัวกาลนานเทอญ” วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2534 กองทัพเรืออนุมัตใิหใชอัตราหนวยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ มีการจัดอัตราระดับกรม ประกอบดวย กองบังคับการ กองรบพิเศษ 1, 2, และ 3 โรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ และกองสนับสนุน โดยมี นาวาเอก นคร อรัณยะนาค ดํารงตําแหนงผูบงัคับการหนวยสงครามพิเศษทางเรือเปนทานแรกวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 วันสถาปนาหนวยสงครามพิเศษ ทางเรือ กองเรือยุทธการ ครบรอบ 49 ป สาเหตุที่เลือกวนัที่ 17 เมษายน ของทุกปเปนวนัสถาปนาหนวยก็เพราะวา ในวนัที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 เปนวันที่ สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช ทรงมีพระราชสมภพ พระองคทรงเปนพระมหากษัตริยที่มีพระปรีชาสามารถทางดานการดาํเนินกลยุทธ ในการทํา สงครามนอกแบบในพื้นที่ชายฝงทะเลและตามลําน้ําเพื่อกอบกูเอกราช ทางหนวยสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือ สํานึกในพระมหากรณุาธคิุณ และพระปรีชาสามารถของพระองค จึงใหถือเอาวนันี้เปนวนัคลายวนัสถาปนาหนวย สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช ทรงเปนผูนําในการกอบกูอิสรภาพกลับคืนมาเมื่อ พ.ศ. 2310 และทรงสถาปนากรุงธนบุรีเปนเมืองหลวงของสยามประเทศ พระองคทรงพระปรีชา สามารถอยางยิ่งทั้งการรบทางบกและทางน้ํา ทรงเชี่ยวชาญในการทําสงครามแบบกองโจร ทั้งในพื้นที่ทุรกันดาร ตามลําน้ํา และตามชายฝงทะเล ทรงใชกําลังทหารขนาดเล็ก ที่มีความเชี่ยวชาญ กลาหาญ แข็งแรง เขารบตัดรอนกําลังขาศึกหลายครั้ง จนสามารถนําทัพพิชิตกองทัพอันยิ่งใหญของขาศึก พระลักษณะอันเขมแข็งเฉียบขาด พระปรีชาสามารถ และกลยุทธในการทําสงครามแบบกองโจรของพระองคลวนเปนแบบอยางของการดําเนินการสงครามพิเศษทางเรือในปจจุบัน นับตั้งแตอดีต จวบจนปจจุบัน ขาราชการหนวยสงครามพิเศษทางเรือ ไดนอมนําพระจริยวัตร และพระลักษณะดังกลาวของพระองคมาเปนแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถของหนวยทั้งดานองคบุคคล องควัตถุ และ องคยุทธวิธี ซ่ึงแมวาปจจุบันรูปแบบการทหารจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แตโดยพื้นฐานแลว ผูปฏิบัตินั้นก็คือทหารที่ตองมีความเขมแข็ง เด็ดเดี่ยว มีวินัย ฉลาดเฉลียวสามารถแกไขสถานการณ เฉพาะหนา ซ่ึงเปนแบบอยางของทหารในกองกําลังของพระองค หนวยสงครามพิเศษทางเรือไดเติบโตขึ้นมาตามกาลเวลา นับตั้งแตเร่ิมกอตั้งหมวดทําลายใตน้ําขึ้น ทางหนวยไมเคยหยุดนิ่งอยูกับที่มีการพัฒนาทุกดาน ควบคูกันไปทั้งดานการฝกหัดและ

Page 21: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ศึกษา มีโครงการใหกําลังพลของหนวยไดรับทุนการฝกและศึกษาในตางประเทศหลายคน เชน หลักสูตร Basic Underwater Demolition (SEAL) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สําหรับผูที่ผานหลักสูตรเหลานั้นไดนําความรู เทคนิคใหม ๆ มาพัฒนาการฝกในหลักสูตรนักทําลายใตน้ําจูโจม พัฒนาการฝกยุทธวิธีของหนวย อีกทั้งยังมีผูที่ไดรับทุน Advance Clearance Diving จากประเทศออสเตรเลีย และไดนําความรูมาพัฒนาดานการดําน้ําภายในหนวยใหมีความทันสมัย ปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมทั้งนี้มีผูไดรับทุน ดานการปราบปรามการกอการรายสากล หัวขอ Crisis Response Team จากประเทศสหรัฐอเมริกา และการฝก GSG-9 จากประเทศเยอรมันดวย สําหรับการฝกหลักสูตรตาง ๆ ในหนวยทางโรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือนั้นไดเปด หลักสูตร นักเรียนนักทําลายใตน้ําจูโจมชัน้ตนทุกป เพื่อคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถมาบรรจุในหนวยทดแทนกําลังพลที่ตองปลดประจําการออกไป นอกจากนี้ทางหนวยยงัไดรับความไววางใจจากกองทัพเรือใหมีการฝกนักเรียนนายเรอืในหลักสูตรนักเรียนปฏิบัติการใตน้ํา หรือทําใหนักเรียนนายเรือมีการพัฒนาทางดานรางกาย จิตใจ และสรางใหมีลักษณะบคุลิกภาพการเปนผูนํา อีกทัง้มีความสามารถในการดําน้ําแบบ SCUBA (Self Contained Under water Breathing Apparatus) อีกดวย ซ่ึงเปนประโยชนอยางยิ่งในอนาคตเมื่อตองรับราชการเปนนายทหารประจําเรือ ทําใหมีความรูความสามารถในการดําน้ําแกไขขอขัดของเบื้องตน ในเรื่องการสํารวจใตทองเรือ และสามารถดํา สันทนาการตามพื้นที่ในหมูเกาะในกองเรือภาคตาง ๆ อีกดวย นอกจากนี้หนวยสงครามพิเศษทางเรอื ยังไดรับความไววางใจใหรับผิดชอบหลักสูตร การดําน้ําเพื่อการอนุรักษจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ แตละป มีนักเรียนที่เขามารับการฝกประมาณ 62 คน รวมทั้งขาราชการจากกองทัพเรือ และเอกชนจากหลายสาขา กลุมนักดําน้ําอนุรักษเหลานี้เปนกลุมคนที่มีอุดมการณที่จะรักษาหวงแหนทรัพยากรใตน้ําของประเทศ เมื่อพวกเขาสาํเร็จการศึกษาออกไป จะมีการรวมกลุมทํากิจกรรมในเชิงอนุรักษทุกป เชน การวางทุนดําน้ําบริเวณหมูเกาะทะเลอันดามันและการดําน้ําเก็บของตามชายหาดพัทยา สัตหีบ โดยรวมกับเอกชน หางราน องคกรทองถ่ิน รูปแบบการสอนในแตละหลักสูตรไดมีการพัฒนาปรับปรุงตลอดเวลาใหมีความเหมาะสมกับเวลาที่เปล่ียนไป นอกเหนือจากหลักสูตรเหลานั้นทางโรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ ยังไดมีการสนับสนุนกรมพลศึกษาในหลักสูตร Basic Life Saving และการดําน้ําของกรมประมงและกรมปาไมดวย บทบาทหนาท่ีของหนวยสงครามพิเศษทางเรือ บทบาทหนาทีข่องหนวยสงครามพิเศษทางเรือ มีหลากหลายประการสามารถสรุปไดดังนี ้ 1. งานสนับสนุนหนวยตาง ๆ ในกองทัพเรือ หนวยสงครามพิเศษทางเรือไดสงชุด ปฏิบัติการพิเศษไปสนับสนนุกองเรือภาค 1, 2, 3 กองเรือปองกันฝง และหนวยปฏิบตัิการตาม ลําน้ําโขง ชุดปฏิบัติการพิเศษนี้เปนเบื้องหลังของความสําเร็จอยูหลายงาน อยางที่เห็นไดชัด ก็คือ

Page 22: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

งานลากเรือ Pak One มาจม ซ่ึงชุดปฏิบัติการพิเศษเก็บขอมูล สํารวจตัวเรือ นํามาวางแผน อีกทั้งขอมูลภาพถายใตน้ําทั้งภาพนิ่ง และวีดีทัศน ซ่ึงเปนการทํางานรูปแบบใหม คือ การนําภาพประมวลจากการสํารวจมาวางแผน ซ่ึงทําใหผูบังคับบัญชาสามารถตัดสินใจไดถูกตองกอนที่จะทําการระเบิดปลอย Gas LPG ในถังใหเรือจมลงโดยสมบูรณ นอกจากนั้นยังมีงานการสอนการดําน้ําใหกับนักเรียนดําน้ําเพื่อการอนุรักษของกองเรือภาค 2 กลุมนักเรียนนั้นมาจากหลายชนชั้น หลายระดับอาชีพ ในทองถ่ินทําใหกองทัพเรือไดใกลชิดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น สําหรับชุดปฏิบัติการพิเศษ กองเรือภาคที่ 3 ก็มีการทํางานอนุรักษรวมกับองคการทองเที่ยวแหงประเทศไทยกรมประมง กรมปาไม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ ในการวางทุนดําน้ํา เพื่อรักษาสภาพปะการังที่สวยงามที่เคยติดระดับ Top Ten ของโลกในหมูเกาะสิมิลันและในหมูเกาะบริเวณนั้น นอกจากนั้นยังเปนชุดที่ทํางานลับตรวจจับอาวุธสงครามไดหลายครั้งใหกับกองเรือภาค ตาง ๆ เสมอมา 2. งานในโครงการอนุรักษพนัธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดําริของสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ที่ตําบลแสมสาร ก็ดําเนินการไปดวยความเรียบรอย จากเกาะที่เคยเปนพื้นที่ธรรมดา ปจจุบัน กลายเปนแหลงความรูทางดานพืช สัตว ทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งบนเกาะและชายฝง โครงการไดดําเนินการขยายไปอยางรวดเร็วมีการสํารวจเกาะในประเทศไทยเพิ่มขึ้นหลายสิบเกาะ มีนักวิชาการสาขาตาง ๆ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยตาง ๆ เขามารวมกันทํางานกับหนวยสงครามพิเศษทางเรือ นอกจากการศึกษาแลว กองทัพเรือยังสามารถรักษาผลประโยชนทรัพยากรบนเกาะของประเทศเราไดอีกดวยซ่ึงนอกเหนือจากการลาดตระเวนของเรือในนานน้ําไทย ปจจุบันมเียาวชนจากโรงเรียนตาง ๆ ขอเขาชมและทัศนศึกษาธรรมชาตวิิทยาในเกาะแสมสารหลายคณะ 3. งานดานยุทธวิธี การรบในปจจุบันไดเปล่ียนแปลงขึน้หลังจากที่เกดิเหตกุารณ ผูกอการรายจี้เครื่องบินเขาชนตึก World Trade และเพนตากอน การรบแบบตอตานการกอการราย ทางหนวยก็มีการเตรียมพรอมอยูตลอดเวลา มีการคิดคนยุทธวิธีใหม ๆ ไมใหมีความลาสมัย แมวาจะถูกจํากัดดวยงบประมาณก็ตาม 4. งานดานกาํลังพลของหนวยฯ ในแตละป สถิติการสําเร็จการศึกษาของนักเรียน นักทําลายใตน้าํจูโจมชั้นตน โดยเฉลี่ยประมาณรอยละ 30 ของผูเขารับการฝก หลังจากนั้นจะมา พัฒนาขีดความสามารถในหลักสูตรขั้นสูง ทําใหขาราชการมีความรู ความสามารถพื้นฐาน ความ เขาใจในรูปแบบการปฏิบัติเดียวกันและเกิดแนวความคิดในการทํางานประจําชุดปฏิบัติการพิเศษตอไปในแตละปยังมีการฝกรวมกับ US Navy SEAL อีกปละ 5 ครั้ง อีกทั้งมีการฝกรวมกับทหาร ตํารวจที่เปนหนวยรบพิเศษอื่น ๆ ดวย ทําใหขีดความสามารถของกําลังพลนักทําลายใตน้ําสูงขึ้น

Page 23: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

5. งานดานอาวุธยุทโธปกรณ แมงบประมาณที่ไดรับจะนอย ในชวงเศรษฐกิจตกต่ํา หนวยเหนือไดใหความสําคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหา อาวุธและยุทโธปกรณที่จําเปนมาทดแทน รวมทั้งไดจัดหาอาวุธที่ใชในการตอตานการกอการรายสากลนําเขามาทดแทนชุดเดิม 6. งานดานอาคารสถานที่ ทางหนวยมีการพัฒนาที่ตั้งหนวยในปจจุบันใหมีความสะอาด เรียบรอย สวยงามตลอดเวลา อีกทั้งยังมีการจัดสรางสนามยิงปนขึ้นมา เพื่อสะดวกตอการซักซอมและการสนับสนุนในพื้นที่ ขณะนี้ไดทําการสรางหองอาคารจําลอง สําหรับการฝกการเขาหอง CQB (Close Quarter Building) ซ่ึงมีความจําเปนตอการพัฒนาขีดความสามารถของชุดโจมตี นอกจากนั้น ทางหนวยไดจัดทําพิพิธภัณฑ นักทําลายใตน้ําจูโจม ขึ้นมาสําหรับเก็บรวบรวมขอมูลในอดตี ผลงานของหนวย วิธีการรบตาง ๆ อาวุธ อุปกรณการดําน้ําในสมัยแรก อีกทั้งยังมีถวยชาม สังคโลกจากงานโบราณคดีใตน้ํา พ.ศ. 2517 และที่ยึดไดจากเรือออสเตรเลียไทด ซ่ึงไดรับการสนับสนุนจาก กรมศิลปากร อีกทั้ง ยังมีเร่ืองราวรูปภาพของเรือ Pak One ที่เปนขาวใหญในประเทศอีกดวย ภาพเหตุการณจมเรือคราม อุปกรณที่ใชในการปฏิบัติภารกิจของนักทําลายใตน้ําจูโจมจากอดีตจนถึง ปจจุบัน 7. งานดานการขาว มีชุดปฏิบัติการพิเศษเปนเบื้องหลังความสําเร็จการจับการขนยาเสพติด ในพื้นที่ทางทะเลอันดามัน และยังมีชุดที่ดูแล ความสงบเรียบรอยภายในหมูบานกองเรือยุทธการอีกดวย นอกจากนั้นยังไดรวมมือกับสํานักงานปราบปรามยาเสพติด หาขาวสารดานยาเสพติด และ ผูกระทําการผิดกฎหมาย สามารถจํากุมผูกระทําผิดไดหลายครั้ง 8. งานดานการบริการและสังคม ในแตละปหนวยสงครามพิเศษทางเรอืมีการมอบทุน การศึกษาใหแก บุตร ธิดา ของขาราชการที่เรียนด ีและบําเพ็ญประโยชนในสถานที ่ๆ สําคัญอีกดวย เชน วดัตาง ๆ อีกทั้งยังไดจัดงานบุญทอดกฐิน ซ่ึงไดรับความสําเร็จไปดวยด ี 9. งานดานการกีฬา เปนการงายที่จะพัฒนานักกฬีาบางประเภทจากนกัทาํลายใตน้ําจูโจม เนื่องจากมีรางกายที่แข็งแรงเปนพื้นฐานอยูแลว ในชวงปที่ผานมามีนักกีฬาจากหนวยสงครามพิเศษทางเรือ ไดสรางชื่อเสียงใหแกกองทัพเรือและประเทศชาติ หนวยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ เปนหนวยที่ไดรับความสนใจจากประชาชน ทั่วไป เพราะมีการฝกที่หนัก เปนที่รูจักวา มีสัปดาหนรก คนที่สามารถผานหลักสูตรนี้ไดตองเปนคนที่มีความแข็งแรงอดทน สําหรับเหตุผลของหลักสูตรนักเรียนนักทําลายใตน้ําจูโจม ที่ตองฝกใหหนัก และแข็งแรงนั้นเนื่องจากภารกิจที่กองทัพเรือไดมอบหมายใหนั้น ลวนแลวแตเปนภารกิจที่เสี่ยงอันตราย เขาถึงระยะประชิดใกลขาศึกใชกําลังทั้งกายและใจ อาศัยการทํางานเปนทีม มีปฏิภาณไหวพริบ จงรักภักดีตอประเทศชาต ิดังตัวอยางภารกิจ ไดแก

Page 24: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

- การลาดตระเวนของหนวยรบขนาดเล็ก - การรบในปา - การแทรกซมึทางน้ําโดยเรอืเร็วเขาโจมตทีี่หมาย - การดําน้ําโจมตี และดําน้ํากอวินาศกรรมเรือ - การรบแบบกองโจร - ตอตานการกอการรายสากล - การหาขาวทางลับ - การกระโดดรมเขาที่หมายที่กําหนด - วัตถุระเบดิ และการทําลายใตน้ํา - ปฏิบัติตามภารกิจที่กองเรือยุทธการ และ กองทัพเรือมอบหมาย นักทําลายใตน้าํตองผานการฝกจากหลักสตูรฝกอบรมที่มีระยะเวลาฝกถึง 7 เดือน มีหัวขอการฝกที่แตกตางจากหลักสูตรรบพิเศษอื่น ผูที่สําเร็จการฝกอบรมไดตองมีความพรอมที่จะเสียสละ และเหน็ดเหนือ่ย พรอมที่จะฝกศึกษาหาความรูความชํานาญใหเทาทันตออาวุธ ยุทธวธีิ และอุปกรณพิเศษที่จะใช ตอไป ภารกิจหลักของหนวยสงครามพิเศษทางเรือ ภารกิจหลักของหนวยสงครามพิเศษทางเรอื ประกอบดวยหนวยงานยอยในสังกดัที่มีบทบาทหนาทีด่ังนี ้ 1. จัดเตรียมกําลังพลสําหรับปฏิบัติการ การสงครามพิเศษทางเรือและปฏิบัติภารกิจ ที่ไดรับมอบ รวมทั้งการฝกและศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ เปนหนวยกําลังรบขึ้นตรงตอกองเรือยุทธการ โดยมี ผูบัญชาการหนวยสงครามพิเศษทางเรือ เปนผูบังคับบัญชารับผิดชอบ 2. กองรบพิเศษ ปฏิบัติการการสงครามพิเศษทางเรือ และปฏิบัติกิจพิเศษอื่น ตามที่ไดรับมอบหมาย 3. โรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ ฝกและศึกษาอบรมทดสอบ ประเมนิผลเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษทางเรือ และปกครองบังคับบัญชาผูเขารับการฝกและศึกษาของหนวยสงครามพิเศษทางเรือ 4. กองสนับสนุนหนวยสงครามพิเศษทางเรือ สนับสนุนการสงกําลังบํารุง การบริการใหแกหนวยในความรับผิดชอบของหนวยสงครามพิเศษทางเรือ

Page 25: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ

การศึกษาวิจยัที่เกี่ยวกับการประเมินผลการฝกอบรมหลกัสูตรตาง ๆ ที่ผูศึกษาไดคนควา สามารถสรุปไดดังนี้ ณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร (2535, บทคัดยอ) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง “การติดตามผลการฝกอบรมของนักศึกษาหลักสูตรนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง รุนที่ 25, 26 และ 27” ผลการศึกษา พบวา การนําความรู จากการศึกษาอบรมไปปรับใชในการปฏิบัติงานในหนาที่ เมื่อพิจารณาทั้งหลักสูตรสามารถนําความรูไปใชไดในเกณฑ “มาก” สุรพล ไมยวงษ (2536, บทคัดยอ) ไดทําการศึกษาเรื่อง “การประเมินผลหลักสูตร การฝกอบรมนายอําเภอ ของวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง รุนที่ 24 - 29” พบวา ผูตอบแบบสอบถาม รอยละ 95.80 ใหคงวิชาในหลักสูตรไวอยางเดิม การจัดเนื้อหาวิชา เทคนิคการสอน วิทยากร กิจกรรมอยูในระดับเหมาะสม การนําความรูที่ไดจากการฝกอบรมไปใชอยูในระดับมาก ชัยรัตน พรหมบุบผา (2538, บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “การประเมินหลักสูตรการศึกษา อบรมนักเรียนนายอําเภอ” ผลการศึกษาสรุปวาในทัศนะของผูตอบแบบสํารวจเห็นวา วัตถุประสงคของหลักสูตร เขียนไวชัดเจน และสอดคลองกับความตองการของผูอบรมและหนวยงานที่ผูเขารับการอบรมปฏิบัติงานอยู ตลอดจนมีความสอดคลองกับความตองการของสังคมในระดับคอนขาง มาก นอกจากนี้ ยังเปนไปไดมากในทางปฏิบัติดวย ในดานการนําความรูที่ไดจากการอบรมไปใชในการปฏิบัติงาน สวนใหญเห็นวาทุกหมวดวิชาไดนําไปใชจริงคอนขางมาก แตในหมวดวิชาความรูพิเศษ บางวิชาไดนําไปใชคอนขางนอย เต็มจิต จันทคา (2539, บทคัดยอ) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง “การประเมินผลหลักสูตรฝกอบรมศึกษาธิการอําเภอ ของสถาบันพัฒนาผูบริหารการศึกษา สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ” ผลการวิจัยพบวา วัตถุประสงคของหลักสูตรมีความสอดคลองกับนโยบายการฝกอบรมของสถาบันพัฒนาผูบริหารการศึกษา และผูเขารับการฝกอบรม มีความเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงคของหลักสูตรโครงสรางของหลักสูตร เนื้อหาวิชา วิทยากร กิจกรรมการฝกอบรม การวัดและประเมินผลวามีความเหมาะสมในระดับมาก เจริญลักษณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (2540) ไดศึกษาวิจยัเร่ือง “การนําความรูจาก การฝกอบรมไปใชในการปฏิบัติงาน” ศึกษาเฉพาะการฝกอบรมสายงานฝกอบรม (หลักสูตรที่ 1) ผลการวิจัยพบวา ผูผานการฝกอบรมมีระดบัความรู ความเขาใจเพิ่มขึน้ หลังจากไดรับการฝกอบรม โดยมีความรู ความเขาใจอยูในระดบัมาก ผูบังคับบัญชาของผูผานการฝกอบรมสวนใหญเห็นวา ผูผานการฝกอบรมสามารถนําความรูที่ไดรับจากการฝกอบรม ไปใชไดในระดับมากนอยตางกัน

Page 26: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

แลวแตลักษณะการทํางาน สวนผูผานการฝกอบรมเห็นวา สามารถนําความรูจากการฝกอบรมไปใชไดในระดับปานกลาง โดยเฉพาะการนําความรูไปปรับใชในดานการเปนวิทยากร สามารถนําไปใชไดในระดับนอย ซ่ึงวิเคราะหไดวาลักษณะการปฏิบัติงานของเจาหนาที่ฝกอบรมในหนวยงานนั้นไมเอื้ออํานวยตอการปฏิบัติงานในฐานะวทิยากร นิลพันธุ ภารศิลป (2540, บทคัดยอ) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง “การประเมินหลักสูตรผูกํากับการ ของสถาบันพัฒนาขาราชการตํารวจ กองบัญชาการศึกษา โดยใชแบบจําลอง CIPP Model” ผลการ วิจัยพบวา วัตถุประสงคของหลักสูตรมีความเหมาะสมกับสภาพแวดลอมภายในและภายนอกเนื้อหา ของรายวิชาสอดคลองกับความตองการของสังคมและผูเรียน การวัดและประเมินผลประโยชนตองานที่ปฏิบัติมีความเหมาะสมในระดับมาก ปจจัยเบื้องตน ดานการคัดเลือกผูเขารับการฝกอบรม ดานอาจารยผูสอน และนักศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก การจัดสรรงบประมาณมีความเพียงพอ กระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมระดับมาก ดานผลผลิต ผูสําเร็จหลักสูตรฝกอบรมมีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงคที่กําหนดไวในหลักสูตรในระดับมาก และนักศึกษามีเจตคติที่ดีตอหลักสูตรฝกอบรม พเยาว สุผล (2540, บทคัดยอ) ไดศึกษา “การประเมินหลักสูตรนายสิบอาวุโสเหลาแพทย พุทธศักราช 2535 ของกรมแพทยทหารบก” พบวา จุดมุงหมายของหลักสูตรทุกขอสอดคลองกับความตองการของสังคมปจจุบันและผูเรียน การพัฒนาดานสติปญญา ทักษะและเจตคติ ใชภาษาที่ชัดเจน สามารถนําไปปฏิบัติไดในระดับมาก จํานวนชัว่โมงของวิชาสวนใหญมีความเหมาะสมและ สอดคลองกับจุดมุงหมายของหลักสูตร อาจารยผูสอน การจัดการเรียนการสอน และเกณฑการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมระดับมาก ปจจัยที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนมีความพอเพียงในระดับมาก แตคุณภาพและความสะดวกของสถานที่ใหบริการอยูในระดับนอย และผูสําเร็จการศึกษาสวนใหญมีคุณลักษณะทางวิชาชีพตรงตามจุดมุงหมายของหลักสูตรในระดับมาก ยกเวน ความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ชินวัฒน สินธชุล (2543, บทคัดยอ) ไดศึกษา “การประเมินหลักสูตรฝายอํานวยการ ตํารวจ ของสถาบันพัฒนาขาราชการตํารวจ กองบัญชาการศึกษาโดยใชแบบจําลอง CIPP Model” พบวา วัตถุประสงคของหลักสูตรมีความเหมาะสมกับสภาพแวดลอมภายใน เนื้อหาสาระมีความสอดคลองกับความตองการของสังคม และผูเรียน เกณฑการวัดและประเมินผลและประโยชนตอการปฏิบัติงานมีความเหมาะสมในระดับมาก การจัดสรรงบประมาณมีความเพียงพอ การประเมินกระบวนการ การเตรียมหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน เทคนิควิธีสอนของอาจารยผูสอนการวัดผลมีความเหมาะสมระดับมาก และการประเมินผลผลิตพบวา ผูสําเร็จหลักสูตรมีคุณสมบัติทั่วไปและคุณลักษณะทางวิชาชีพเหมาะสมในระดับมาก และมีเจตคติที่ดีตอหลักสูตรฝกอบรม

Page 27: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

วัชรี สุวรรณวัฒนะ (2544) ไดศึกษา “การประเมินผลโครงการฝกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรผูบริหารสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร รุนที่ 10 - 12” ผลการศึกษาพบวา โครงการ สามารถบรรลุวัตถุประสงคที่วางไวในระดับมาก หลังจากการฝกอบรมแลว ผูเขารับการฝกอบรมมีความรู ความเขาใจในเนื้อหาวิชาตาง ๆ ในหลักสูตรมากกวากอนการฝกอบรม โดยมีระดับความรู ความเขาใจอยูในระดับมาก ผูเขารับการฝกอบรมมีความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา เทคนิคการอบรม การวัดและประเมินผลวามีความเหมาะสมในระดับมาก รวมทั้งสามารถนําความรูจากการฝกอบรมไปใชในการปฏิบัติงานในตําแหนงผูชวยผูบริหารสถานศึกษาไดในระดับมากดวยเชนกัน และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผูเขารับการอบรมทั้ง 3 รุน ในดานตาง ๆ แลวไมมีความแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สําหรับการฝกอบรมครั้งตอไปผูสําเร็จการฝกอบรมเสนอแนะ วา เห็นควรใหมีการเนนการฝกปฏิบัติใหมากขึ้น ใหมีการติดตามผล การนิเทศนงานอยางเปนระบบและตอเนื่อง สวนในการคัดเลือกบุคลากรเขารับการอบรม ควรพิจารณาผลการปฏิบัติงานและความประพฤติควบคูไปกับการสอบคัดเลือกดวย จากผลงานวิจยัที่เกีย่วของดังกลาว สรุปประเด็นในการประเมินผลไดดังนี ้ 1. วัตถุประสงคของการฝกอบรมตองมีความสอดคลองกับนโยบาย วตัถุประสงคของการฝกอบรมของหนวยงานและความตองการของผูเขารับการฝกอบรม 2. เนื้อหาวิชาในหลักสูตรฝกอบรม มีความเหมาะสมในระดับมาก 3. เทคนิคการฝกอบรมของวิทยากร สวนใหญมีความเหน็วาเหมาะสม แตควรเนนการปฏิบัติมากกวาทฤษฎี 4. การวัดและประเมินผลในการฝกอบรมมีความเหมาะสมในระดับมาก 5. การนําความรูไปใชในการปฏิบัติงาน สวนใหญสามารถนําไปใชในการปฏบิัติงานได

กรอบการศึกษา

การฝกอบรมหลักสูตรนักเรยีนนกัทําลายใตน้ําจูโจมชั้นตน โรงเรียนสงครามพิเศษ ทางเรือ หนวยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ เปนหลักสูตรฝกอบรมที่บังคับใชมาตั้งแตป พ.ศ. 2529 เปนตนมา จึงมีลักษณะเปนหลักสูตรที่นําไปใชแลว ผูศึกษาไดใชแนวคิดของ ฟาย เดลตา แคปปา (ทิศนา แขมณี, 2540) เปนกรอบแนวคิดในการประเมินดังนี ้

Page 28: ตร - Burapha Universitydigital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931666/chapter2.pdf · บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานว ิจัี่ยที่

ภาพที่ 4 รูปแบบการประเมนิผลหลักสูตรแบบ CIPP Model

context evaluation หมายถึง การประเมินวัตถุประสงค input evaluation หมายถึง การประเมินระบบโครงสรางของหลักสูตร process evaluation หมายถึง การประเมินการจดักิจกรรมการเรียนการสอนและ การวัดประเมินผล product evaluation หมายถึง การประเมินผลที่เกิดจากการใชหลักสูตร แนวคิดในการประเมินผลหลักสูตรดังกลาว นํามาใชเปนกรอบกวาง ๆ ในการประเมินผลการฝกอบรมหลักสูตรนักเรียนนักทําลายใตน้ําจูโจมชั้นตน โดยจํากัดประเด็นเฉพาะดานที่ตองการ ขอมูลเพื่อนําไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรในโอกาสตอไป โดยกําหนดประเด็นในการประเมินดังนี้ การประเมินบริบท ไดแก การประเมินจุดมุงหมายของหลักสูตร การประเมินปจจัยตวัปอน ไดแก การประเมินโครงสราง เนื้อหาวิชา ปจจัยที่เอื้อตอการฝกการคัดเลือกบคุคลเขาศึกษา การประเมินกระบวนการ ไดแก การประเมินเทคนิคการอบรมการวัด และการประเมินผล การประเมินผลผลิต ไดแก การประเมินคุณภาพของผูผานการฝกอบรม สามารถแสดงในรูปแผนภาพดังนี้

Context การประเมินจุดมุงหมายของหลักสูตร

Input การประเมินโครงสราง

เนื้อหาวิชาปจจัย ที่เอื้อตอการฝก

การคัดเลือกบคุคลเขาศึกษา

Process การประเมิน

เทคนิคการอบรมการวัดและการประเมินผล

Product การประเมินคุณภาพของผูผานการฝกอบรม

ภาพที่ 5 กรอบแนวคดิในการประเมินผลหลักสูตร

context evaluation

input evaluation

process evaluation

product evaluation