อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์...

29
http://www.ssru.ac.th วิชาการจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ 1 อาจารย์พัชราภรณ์ เลขยันต์ คณะวิทยาการจัดการ

Upload: others

Post on 16-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 1

อาจารย์พัชราภรณ์ เลขยันต์

คณะวิทยาการจัดการ

Page 2: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 2

คุณภาพและกลยุทธ์

ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่า คุณภาพเป็นสิ่งสําคัญในการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติการในทุกองค์การ

การจัดการคุณภาพ จึงเป็นกลยุทธ์ที่สําคัญขององค์การ เพื่อทําให้เกิดความแตกต่าง ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและสามารถ

ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

Page 3: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 3

ความหมายของคุณภาพ

คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและคุณลักษณะโดยรวมของสินค้าหรือบริการ ที่สามารถสร้างความพอใจหรือ

ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

Page 4: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 4

ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality)

ต้นทุนคุณภาพสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. ต้นทุนการป้องกัน (Prevention costs) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้อกับการลดจํานวนของเสียในการผลิต

สินค้าหรือบริการ เช่น ต้นทุนการฝึกอบรม ต้นทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพ

2. ต้นทุนการประเมิน (Appraisal cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสินค้า กระบวนการ

ผลิตชิ้นส่วนและบริการ เช่น ต้นทุนสําหรับการทดสอบ ห้องปฏิบัติการ

3. ต้นทุนความสูญเสียภายใน (Internal failure) หมายถึง ต้นทุนที่เป็นผลมาจากการผลิตที่ก่อให้เกิด

ความเสียหายแก่สินค้าหรือบริการก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า เช่น ต้นทุนการทําซ้ํา ของเสีย เวลาที่สูญเสียไป

4. ต้นทุนภายนอก (External costs) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นภายหลังการส่งมอบให้กับลูกค้าเมื่อเกิดความ

เสียหายแก่สินค้าหรือบริการ เช่น ต้นทุนการแก้ไข การส่งสินค้ากลับคืน

Page 5: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 5

มาตรฐานคุณภาพระหว่างประเทศ (International Quality Standards)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ISO 9000

ISO เป็นชื่อองค์การระหว่างประเทศสําหรับการจัดทํามาตรฐาน (International Organization for

Standardization) มีฐานะเป็นองค์การที่ไม่ใช้ภาครัฐ ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ภารกิจของ ISO คือ

การพัฒนามาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ ช่วยพัฒนาการผลิต การป้อนวัตถุดิบ ตลอดจนพัฒนาการบริการให้มี

ประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและสะอาด ช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยสะดวกและเป็นธรรม

ISO 9000 ไม่ใช่มาตรฐานสินค้า แต่เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ที่ใช้ได้กับสินค้า การบริการและกระบวนการ

มีเป้าหมายใหญ่คือ มุ่งให้บรรลุความคาดหวังและความต้องการของลูกค้า ตามความต้องการของ ISO 9000 นั้น

ต้องการให้เกิดกิจกรรมคุณภาพ 3 ส่วน คือ

Page 6: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 6

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ISO 9000 (ต่อ)

(1) การวางแผน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้มาตรฐานรู้จักกําหนดจุดมุ่งหมาย อํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบและ

เข้าใจเรื่องคุณภาพ

(2) การควบคุม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้มาตรฐานทําตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ รวมทั้งคาดการณ์ถึงปัญหา หาทาง

หลีกเลี่ยง หรือวางแผนแก้ปัญหาและลงมือแก้ปัญหา

(3) การจัดทําเอกสาร เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้มาตรฐานเข้าใจวัตถุประสงค์และวิธีการมีการดําเนินการที่ราบรื่น

วิธีการใช้มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 มี 2 วิธี คือ นํามาตรฐาน ISO 9000 ไปปฏิบตัิเพื่อประโยชน์แก่

ผู้ปฏิบัติเองโดยไม่ต้องจดทะเบียน อีกวิธีหนึ่ง คือ ขอการรับรอง (certification) และจกทะเบียนกับหน่วยให้การ

รับรองคุณภาพของ ISO 9000 ซึ่งอาจได้ประโยชน์มากกว่า เช่น ได้ประโยชน์จากการแข่งขัน หรือผลิตสินค้าได้

มาตรฐานสากล

Page 7: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 7

ประโยชน์ของ ISO 9000

(1) การเข้าถึงตลาดเป็นประโยชน์ที่สําคัญที่สุดของการรับรองตาม ISO 9000 การได้การรับรองเป็นปัจจัย

สําคัญที่ทําให้บริษัทสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดเอาไว้ได้

(2) ประเด็นการแข่งขัน เป็นเพราะการแข่งขันในโลกที่เป็นไปอย่างรุนแรง ผู้ผลิตต้องการให้การป้อนวัตถุดิบ

และชิ้นส่วนมีมาตรฐาน การได้รับการรับรองจึงทําให้ได้เปรียบการแข่งขัน

(3) การลดการตรวจสอบ อุตสาหกรรมบางอย่างมีการตรวจสอบคุณภาพจากลูกค้าสูงมาก เมื่อมีการรับรอง

คุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 จึงเท่ากับมีการตรวจสอบในที่ทํางาน หรือมีค่าเท่ากับการมีโปรแกรมการประกัน

คุณภาพวัตถุดิบและชิ้นส่วนการผลิต ผู้ป้อนวัตถุดิบจึงถูกตรวจสอบน้อยลง

Page 8: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 8

โครงสร้างของ ISO 9000

ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่ครอบคลุมที่สุด ครอบคลุมกิจกรรมในกระบวนการปฏิบัติการทุกขั้น

ตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิต การติดตั้ง และการให้บริการ ใน ISO 9001 ประกอบด้วยมาตรฐานระบบ

คุณภาพทั้งหมด 20 มาตรฐาน

ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่มีขอบเขตแคบกว่า ISO 9001 ใช้กับผู้ขอการรับรองที่ผลิตสินค้าซึ่งมี

การออกแบบและบริการโดยผู้อื่น ประกอบด้วยมาตรฐานระบบคุณภาพ 18 มาตรฐาน มาตรฐานส่วนใหม่มีข้อความ

เหมือน ISO 9001

ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่มีขอบเขตแคบที่สุด ใช้เฉพาะผู้ที่ทําหน้าที่ในการตรวจสอบและ

ทดสอบผลผลิตในขั้นสุดท้ายเท่านั้น ประกอบด้วยมาตรฐานระบบคุณภาพ 12 มาตรฐานซึ่งเป็นส่วนที่ซ้ํากับมาตรฐาน

ISO 9001 เช่นกัน

Page 9: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 9

ISO 14000

ISO 14000 เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม (international standards on

environment management) โดยคณะกรรมการทางวิชาการของ ISO ชุดการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ชื่อ “ISO/TC

207” มาตรฐานชุดนี้ ประกอบด้วย มาตรฐานย่อย 2 ชุด ชุดหนึ่งใช้กับองค์การ อีกชุดหนึ่งใช้กับสินค้าและบริการ

ISO 14000 ที่ใช้กับระดับองค์การ แบ่งออกเปน็ 3 ด้าน ได้แก่

ด้านแรก การนําระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ประกอบด้วย

(1) ISO 14001:1996 เป็นเงื่อนไขของมาตรฐานเฉพาะ สําหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ผู้ใช้ต้องการ

ตรวจสอบและประกาศด้วยตนเอง หรือด้วยการรับรองที่มีการจดทะเบียน

(2) ISO 14004:1996 เป็นแนวทางที่ช่วยให้องค์การกําหนด และนําระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ

ด้านที่สอง การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม และการตรวจสอบด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ด้านที่สาม ประเมินผลงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

Page 10: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 10

ISO 14000 (ต่อ)

ส่วน ISO 14000 ที่ใช้กับสินค้าและบริการแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ

ด้านแรก การประกาศและกล่าวอ้างเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ด้านที่สอง การประเมินวงจรชีวิต หรือ LCA

ด้านที่สาม การให้ความสําคัญกับลักษณะทางด้านสิ่งแวดล้อมในมาตรฐานผลิตภัณฑ์

ISO 14000 เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติสําหรับผู้บริหาร ต้องดําเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่

กฎหมายกําหนด ประกอบกับผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และต้องการใช้กลยุทธ์เชิงรุกในการจัดการสิ่งแวดล้อม

Page 11: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 11

ISO 14000 (ต่อ)

มาตรฐาน ISO 14000 บังคับผู้ใช้สนใจจุดที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งทําให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ ได้แก่

(1) ลดต้นทุนการกําจัดของเสีย

(2) ประหยัดการใช้พลังงานและวัตถุดิบ

(3) ลดต้นทุนในการกระจายสินค้า

(4) ปรับปรุงภาพพจน์ขององค์การ

(5) เป็นกรอบสําหรับการปรับปรุงการปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

Page 12: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 12

การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM)

แนวคิดในการจัดการคุณภาพ

ธุรกิจสมัยใหม่ การแข่งขันมีมาก อํานาจในการเลือกซื้อสินค้าจึงอยู่ที่ลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสโลกาภิ

วัตน์ (globalization) ทางธุรกิจที่ขยายออกไปนั้น ได้ทําลายการกีดกันการค้าและเปิดพรมแดนจนประเทศต่างๆ

กลายเป็นโลกเดียวกันหรือเกิดสภาวะไร้พรมแดน

ในปัจจุบันจงึมองคุณภาพโดยการคิดถึงลูกค้า

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) หมายถึง การจัดการกระบวนการต่างๆ ให้มีคุณภาพ เริ่มตั้งแต่

การออกแบบ ไปจนถึงการผลิตและการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้า หัวใจสําคัญของการจัดการคุณภาพอยู่ที่

การจัดการกระบวนการต่างๆเพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

Page 13: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 13

การจัดการคุณภาพหรือการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ มีแนวคิดหลัก (Core concepts) อยู่ 6 ส่วน ดังต่อไปนี้

(Heilpern & Nadler, 1992, 138-141)

ส่วนแรกซึ่งสําคัญที่สุด คือ ตัวแบบลูกค้าและผู้ป้อนวัตถุดิบ (customer/supplier model) ตัวแบบนี้มองการ

ทํางานเป็นกระบวนการ และมองว่ากระบวนการทุกอย่างต้องมุ่งไปที่ลูกค้า สมาชิกทุกคนในองค์การเป็นทั้งผู้ป้อน

วัตถุดิบและลูกค้า งานของแต่ละคนต้องเป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (value-adding process)

ส่วนที่สอง คือ ความสามารถในการควบคุมกระบวนการและมีสมรรถนะสูง หัวใจของตัวแบบลูกค้าและผู้ป้อน

วัตถุดิบอยู่ที่ตรงกลาง คือ กระบวนการ (process) ซึ่งต้องสามารถควบคุมกระบวนการได้และมีสมรรถนะสูง ถ้า

กระบวนการอยู่ภายใต้การควบคุมก็จะทําให้ผลผลิตออกมาสม่ําเสมอและสามารถพยากรณ์ได้

ส่วนที่สาม คือ การจัดการโดยข้อเท็จจริง (management by facts) หมายถึง การดําเนินการทุกอย่างใน

กระบวนการอาศัยข้อมูล (data) ไม่ใช่อาศัยประสบการณ์หรือการตั้งข้อสมมติ

Page 14: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 14

แนวคิดหลัก (Core concepts) (ต่อ)

ส่วนที่สี่ คือ การแก้ไขปัญหา (problem solving) การจัดการโดยข้อเท็จจริงต้องนําเอาข้อมูลมาจัดการ โดย

การแก้ไขปัญหาที่องค์การเผชิญ ซึ่งใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆช่วย

ส่วนที่ห้า คือ เศรษฐศาสตร์คุณภาพ (quality economics) หมายถึง การวัดผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินจาก

การจัดการคุณภาพทั้งองค์การ โดยดูจากสัดส่วนของต้นทุนคุณภาพซึ่งมีอยู่ประเภทใหญ่ๆได้แก่ ต้นทุนการทําตาม

(cost of conformance) และต้นทุนการไม่ทําตาม (cost of non-conformance) ต้นทุนการทําตาม หมายถึง การ

ลงทุนในการป้องกันและการประเมินผล ส่วนต้นทุนการไม่ทําตาม หมายถึง ความล้มเหลวหรือปัญหาที่เกิดจาก

คุณภาพที่ไม่ดี

ส่วนที่หก คือ การมีส่วนเกี่ยวข้องและทีมงาน (involvement and teamwork) พลังอํานาจของการจัดการ

คุณภาพทั้งองค์การจะเพิ่มขึ้นจากการมีส่วนเกี่ยวข้องและทีมงาน เพราะการปรับปรุงคุณภาพเป็นงานของคนทุกคน

Page 15: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 15

การจัดการโดย

ข้อเท็จจริง

(Management by

Fact)

การแก้ไขปัญหา

(Problem Solving)

ผู้ป้อนวัตถุดิบ

(Supplier)

ปัจจัยนําเข้า

(Input)

กระบวนการ

(Process)

ผลผลิต

(Output)

ลูกค้า

(Customer)

การมีส่วนเกี่ยวข้องและ

ทีมงาน

(Involvement and

Teamwork)

การควบคุมและการมี

สมรรถนะสูง

(Control and

Capability)

เศรษฐศาสตร์คุณภาพ

(Quality Economics)

ต้นทุนคุณภาพ

(Quality Costs)

รูปที่ 6.1 แนวคิดหลักของการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ

ที่มา: (Heilpern & Nadler, 1992, 140)

Page 16: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 16

ลําดับชั้นของการจัดการคุณภาพ

รูปที่ 6.2 ลําดับชั้นของการจัดการคุณภาพ

ที่มา: (Dale, Lascelles & Plunkett, 1990, 4)

QC

QA

TQM

TQM

inspection

Page 17: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 17

แนวทางการจัดการคุณภาพ

กระบวนการ

องค์การ

กระบวนการ

ผลผลติ ผลผลติผลผลติ

การควบคุม

คุณภาพ

การประกนั

คุณภาพ

การจดัการ

คุณภาพ

ทั้งองค์การ

รูปที่ 6.3 แนวทางการจัดการคุณภาพ

ที่มา: (Mangelsdorf, 1999, 420)

Page 18: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 18

Dr. W. Edward Deming พัฒนาแนวคิด 7 ประการของการจัดการคุณภาพโดยรวมที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

1. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การจัดการคุณภาพโดยรวมเป็นกระบวนการปรับปรุงที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่บุคลากร เครื่องมือ

อุปกรณ์ ผู้จัดหาวัตถุดิบ วัตถุดิบ และระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน โดยมีหลักปรัชญาพื้นฐาน คือ ทุก ๆ ขั้นตอนของการ

ปฏิบัติงานเปน็สิ่งที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เป้าหมายสูงสุด คือ ความสมบูรณ์แบบที่ไม่เคยได้รับแต่สามารถแสวงหาได้

Page 19: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 19

วงจร PDCA

Dr. Walter Shewhart เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการคุณภาพได้พัฒนาตัวแบบที่เรียกว่า วงจร PDCA

(การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข) Dr.Deming ได้นําแนวคิดนี้ไปเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่น

ในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วงจร PDCA เป็นวงจรที่แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของกระบวนการปรับปรุงพัฒนา

ที่มีอย่างต่อเนื่อง

D

P

C

A

1. การวางแผน ระบุหรือกําหนดช่องทางการปรับปรุง

พัฒนา และนํามากําหนดเป็นแผนการดําเนินงาน

2. การปฏิบัติ นําไปปฏิบัติเพื่อตรวจสอบแผนการ

ดําเนินงาน

4. การปรับปรุงแก้ไข นําแผนการดําเนินงานมาปรับปรุง

แก้ไขและนําไปปฏิบัติ

3. การตรวจสอบ ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นว่ามีความ

สอดคล้องกับแผนการดําเนินงานหรือไม่

Page 20: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 20

แนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในนาม ไคเซ็น (kaizen) ที่ประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่ TQM และการลดของเสียให้เป็นศูนย์

Zero defects ที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ว่าจะเป็น PDCA, kaizen, TQM, หรือ Zero defects ผู้จัดการ

ฝ่ายปฏิบัติการมีบทบาทสําคัญในการสร้างวัฒนธรรมการทํางานที่ปลูกฝังแนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Page 21: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 21

2. ซิกซ์ ซิกมา (Six sigma)

สามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะ

1. ลักษณะทางสถิติจะหมายถึง กระบวนการ สินค้า หรือบริการที่มีความสามารถอยู่ในระดับสูง

2. แผนการดําเนินงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความบกพร่อง ส่งผลให้มีต้นทุนต่ําลง ประหยัดเวลา และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า

3. การมอบอํานาจให้พนักงาน (Employee empowerment)

เป็นการให้พนักงานมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต

4. การเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking)

เป็นการเปรียบเทียบมาตรฐานทางด้านผลิตภัณฑ์ การให้บริการ ต้นทุน และวิธีการปฏิบัติงาน โดยคัดเลือกองค์การหรือหน่วยงานที่มีผลการดําเนินงานดีที่สุด

Page 22: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 22

5. ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-time : JIT)

การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและการมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหา ระบบ JIT ถูกออกแบบมาเพื่อผลิตหรือ

ส่งสินค้าเมื่อมีความต้องการโดยมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะ 3 ลักษณะ คือ

(1) ช่วยลดต้นทุนคุณภาพ

(2) ช่วยปรับปรุงคุณภาพ ระบบ JIT ช่วยลดเวลานํา และจํากัดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

(3) คุณภาพที่ดีกว่า สามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลัง

6. แนวความคิดของ Taguchi (Taguchi concepts)

ปัญหาคุณภาพส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสม แนวคิด 3

ประการ ได้แก่

(1) ความทนทานด้านคุณภาพ

(2) ฟังก์ชั่นการสูญเสียด้านคุณภาพ

(3) เป้าหมายด้านคุณภาพ

Page 23: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 23

7. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการคุณภาพโดยรวม

เครื่องมือและเทคนิคการจัดการคุณภาพโดยรวมที่สําคัญมี 7 อย่าง ได้แก่

1. ใบตรวจสอบ

ใบตรวจสอบ (Check Sheet) เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตที่มีต่อปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ซึ่ง

จะเป็นพื้นฐานสําคัญของการควบคุมกระบวนการและการแก้ไขปัญหา

Page 24: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 24

2. แผนภาพการกระจาย

แผนภาพการกระจายเป็นการนําข้อมูลจากตัวแปร 2 ชุด มาเขียนจุดเพื่อหาทิศทางและระดับความสัมพันธ์กัน

ข้อมูลที่เกิดจะเป็นจุดของการกระจายตัวของข้อมูล 2 ชุด ซึ่งอาจกระจายในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่สัมพันธ์

กันก็ได้

ความยืดหยุ่น

ของคันเบ็ด

น้ําหนักคันเบ็ด

Page 25: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 25

3. แผนภาพแสดงเหตุและผล

แผนผังสาเหตุและผล หรือบางที่เรียก “แผนผังอิชิกาวา” แผนผังก้างปลาเป็นเทคนิคในการแจกแจงปัญหา

ออกมาเป็นรูปโดยมีแนวคิดว่าปัญหาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ อาจมีหลายสาเหตุ

ผล

สาเหตุ 1สาเหตุ 2สาเหตุ 3

สาเหตุ 4 สาเหตุ 5

Page 26: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 26

4. แผนภูมิพาเรโต

นักเศรษฐศาสตร์ วิลเฟรโดพาเรโต มีความเชื่อเกี่ยวกับสถานการณ์ในโลก จึงจนใจไปที่สาเหตุหลักๆที่

ก่อให้เกิดปัญหา โดยสร้างเป็นกราฟแท่งขึ้นมา กราฟแท่งที่สูงที่สุด คือ ปัญหาที่เกิดร่วมกันมากที่สุด ซึ่งจําเป็นต้อง

สนใจแก้ไขโดยด่วน

ผลกระทบ

(Impact)

ประเภทของปัญหา (Categories)

Page 27: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 27

5. แผนภูมิการไหล

แผนภูมิการไหล (Flow charts) จะช่วยให้เห็นวงจรของกระบวนการได้ชัดเจน การจัดทําแผนภูมิการ

ไหลเวียนของงานมีประโยชน์ที่จะทําให้ทราบถึงจุดที่เป็นปัญหาและเกิดการสูญเสีย ช่วยให้เกิดการประหยัดและ

แก้ปัญหาโดยปรับปรุงกระบวนการต่างๆ

Page 28: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 28

6. ฮิสโตแกรม

ฮิสโตแกรมเป็นกราฟแท่ง แสดงถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในการจัดการคุณภาพมักใช้

ฮิสโตแกรมเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและผลงาน

ความถี่

(Frequency)

มูลค่า (Value)

Page 29: อาจารย์พัชราภรณ ์เลขยันต์ คณะวิทยาการจ ัดการ · คุณภาพ หมายถึง รูปแบบและค

http://www.ssru.ac.th วชิาการจดัการการผลิตและการปฏิบตัิการ 29

7. การควบคุมด้วยกระบวนการทางสถิติ (SPC)

เป็นการควบคุมให้เป็นมาตรฐานด้วยการตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอ ทําการวัดและแก้ไขขณะที่ผลิตภัณฑ์หรือ

บริการกําลังอยู่ในระหว่างการผลิต