ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว...

50
ฟังก์ชัน

Upload: others

Post on 08-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังก์ชัน

Page 2: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ใน คณิตศาสตร ์ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ จาก เซต หนึ่ง (โดเมน) ไปยังอีกเซตหนึ่ง (โคโดเมน ไม่ใช่ เรนจ์) โดยที่สมาชิกตัวหน้าไม่ซ้้ากัน ความคิดรวบยอดของฟังก์ชันนี้เป็นพื้นฐานของทุกสาขาของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ

Page 3: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

แนวคิด แนวคิดที่ส้าคัญที่สุดคือ ฟังก์ชันนั้นเป็น "กฎ" ที่ก้าหนด ผลลัพธ์โดยขึ้นกับ

สิ่งที่น้าเข้ามา ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง -แต่ละคนจะมีสีที่ตนชอบ (แดง, ส้ม, เหลือง, เขียว, ฟ้า, น้้าเงิน, คราม หรือ

ม่วง) สีที่ชอบเป็นฟังก์ชันของแต่ละคน เช่น จอห์นชอบสีแดง แต่คิมชอบสีม่วง ในที่นี้สิ่งที่น้าเข้าคือคน และผลลัพธ์คือ 1 ใน 8 สีดังกล่าว

-มีเด็กบางคนขายน้้ามะนาวในช่วงฤดูร้อน จ้านวนน้้ามะนาวที่ขายได้เป็นฟังก์ชันของอุณหภูมิภายนอก ตัวอย่างเช่น ถ้าภายนอกมีอุณหภูมิ 85 องศา จะขายได้ 10 แก้ว แต่ถ้าอุณหภูมิ 95 องศา จะขายได้ 25 แก้ว ในที่นี้ สิ่งที่น้าเข้าคืออุณหภูมิ และผลลัพธ์คือจ้านวนน้้ามะนาวที่ขายได้

-ก้อนหินก้อนหนึ่งปล่อยลงมาจากชั้นต่างๆของตึกสูง ถ้าปล่อยจากชั้นที่สอง จะใช้เวลา 2 วินาที และถ้าปล่อยจากชั้นที่แปด จะใช้เวลา (เพียง) 4 วินาที ในที่นี้ สิ่งน้าเข้าคือชั้น และผลลัพธ์คือระยะเวลาเป็นวินาที ฟังก์ชันนี้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง เวลาที่ก้อนหินใช้ตกถึงพื้นกับชั้นที่มันถูกปล่อยลงมา

Page 4: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

"กฎ" ที่นิยามฟังก์ชันอาจเป็น สูตร, ความสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) หรือเป็นแค่ตารางที่ล้าดับผลลัพธ์กับสิ่งที่น้าเข้า ลักษณะเฉพาะที่ส้าคัญของฟังก์ชันคือมันจะมีผลลัพธ์เหมือนเดิมตลอดเมื่อให้ สิ่งน้าเข้าเหมือนเดิม ลักษณะนี้ท้าให้เราเปรียบเทียบฟังก์ชันกับ "เครื่องกล" หรือ "กล่องด้า" ที่จะเปล่ียนสิ่งน้าเข้าไปเป็นผลลัพธ์ที่ตายตัว เรามักจะเรียกสิ่งน้าเข้าว่า อาร์กิวเมนต์ (argument) และเรียกผลลัพธ์ว่า ค่า (value) ของฟังก์ชัน

ชนิดของฟังก์ชันธรรมดาเกิดจากที่ทั้งอาร์กิวเมนต์และค่าของฟังก์ชันเป็น ตัวเลขทั้งคู่ ความสัมพันธ์ของฟังก์ชันมักจะเขียนในรูปสูตร และจะได้ค่าของฟังก์ชันมาทันทีเพียงแทนที่อาร์กิวเมนต์ลงในสูตร เช่น

f(x) = x2 ซึ่งจะได้ค่าก้าลังสองของ x ใดๆ โดยนัยทั่วไปแล้ว ฟังก์ชันจะสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งอาร์กิวเมนต์ เช่น

g(x,y) = xy เป็นฟังก์ชันที่น้าตัวเลข x และ y มาหาผลคูณ ดูเหมือนว่าน่ีไม่ใช่ฟังก์ชันจริงๆดังที่เราได้อธิบายข้างต้น เพราะว่า "กฎ" ขึ้นอยู่กับสิ่งน้าเข้า 2 สิ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราคิดว่าสิ่งน้าเข้า 2 สิ่งนี้เป็น คู่อันดับ (x,y) 1 คู่ เราก็จะสามารถแปลได้ว่า gเป็นฟังก์ชัน โดยที่อาร์กิวเมนต์คือคู่อันดับ (x,y) และค่าของฟังก์ชันคือ xy

Page 5: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ในวิทยาศาสตร์ เรามักจะต้องเผชิญหน้ากับฟังก์ชันที่ไม่ได้ก้าหนดขึ้นจากสูตร เช่นอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง นี่เป็นฟังก์ชันที่มีสถานที่และเวลาเป็นอาร์กิวเมนต์ และให้ผลลัพธ์เป็นอุณหภูมิของสถานที่และเวลานั้นๆ

เราได้เห็นแล้วว่าแนวคิดของฟังก์ชันไม่ได้จ้ากัดอยู่แค่การค้านวณด้วยตัว เลขเท่านั้น และไม่ได้จ้ากัดอยู่แค่การค้านวณด้วย แนวคิดของคณิตศาสตร์เกี่ยวกับฟังก์ชัน เป็นแนวคิดโดยทั่วไปและไม่ได้จ้ากัดอยู่แค่สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข เท่านั้น

Page 6: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

แน่นอนว่าฟังก์ชันเชื่อมโยง "โดเมน" (เซตของสิ่งน้าเข้า) เข้ากับ "โคโดเมน" (เซตของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้) ดังนั้นสมาชิกแต่ละตัวของโดเมนจะจับคู่กับสมาชิกตัวใดตัวหนึ่งของโคโดเมน เท่านั้น ฟังก์ชันน้ันนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นอน ดังที่จะกล่าวต่อไป เป็นเหตุจากลักษณะทั่วไปนี้ แนวคิดรวบยอดของฟังก์ชันจึงเป็นพื้นฐานของทุกสาขาในคณิตศาสตร์

Page 7: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ประวัติ

ในทางคณิตศาสตร์ "ฟังก์ชัน" บัญญัติขึ้นโดย ไลบ์นิซ ใน พ.ศ. 2237 เพื่ออธิบายปริมาณที่เกี่ยวข้องกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบน เส้นโค้ง ฟังก์ชันที่ไลบ์นิซพิจารณานั้นในปัจจุบันเรียกว่า ฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ และเป็นชนิดของฟังก์ชันที่มักจะแก้ด้วยผู้ที่ไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ ส้าหรับฟังก์ชันชนิดนี้ เราสามารถพูดถึงลิมิตและอนุพันธ์ ซึ่งเป็นการทฤษฎีเซต พวกเขาได้พยายามนิยามวัตถุทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดด้วย เซต ดีริคเลท และ โลบาเชฟสกี ได้ให้นิยามสมัยใหม่ของฟังก์ชันออกมาเกือบพร้อมๆกัน

Page 8: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ในค้านิยามนี้ ฟังก์ชันเป็นเพียงกรณีพิเศษของความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม เป็นกรณีที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ ความแตกต่างระหว่างค้านิยามสมัยใหม่กับค้านิยามของออยเลอร์นั้นเล็กน้อยมาก

แนวคิดของ ฟังก์ชัน ที่เป็นกฎในการค้านวณ แทนที่เป็นความสัมพันธ์ชนิดพิเศษนั้น อยู่ในคณิตตรรกศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี ด้วยหลายระบบ รวมไปถึง แคลคูลัสแลมบ์ดา ทฤษฎีฟังก์ชันเวียนเกิด และเครื่องจักรทัวริง

Page 9: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

นิยามอย่างเป็นทางการ

ฟังก์ชัน f จากข้อมูลน้าเข้าในเซต X ไปยังผลที่เป็นไปได้ในเซต Y (เขียนเป็น ) คือความสัมพันธ์ ระหว่าง X กับ Y ซึ่ง

1.ส้าหรับทุกค่า x ใน X จะมี y ใน Y ซึ่ง x f y (x มีความสัมพันธ์ f กับ y) นั่นคือ ส้าหรับค่าน้าเข้าแต่ละค่า จะมีผลลัพธ์ใน Y อย่างน้อย 1 ผลลัพธ์เสมอ

2.ถ้า x f y และ x f z แล้ว y = z นั่นคือ ค่าน้าเข้าหลายค่าสามารถมีผลลัพธ์ได้ค่าเดียว แต่ค่าน้าเข้าค่าเดียวไม่สามารถมีผลลัพธ์หลายผลลัพธ์ได้

ค่าน้าเข้า x แต่ละค่า จากโดเมน จะมีผลลัพธ์ y จากโคโดเมนเพียงค่าเดียว แทนด้วย f (x)

จากนิยามข้างต้น เราสามารถเขียนอย่างสั้นๆได้ว่า ฟังก์ชันจาก X ไปยัง Y คือเซตย่อย f ของผลคูณคาร์ทีเซียน โดยที่แต่ละค่าของ x ใน X จะมี y ใน Y ที่แตกต่างกัน โดยที่คู่อันดับ (x, y) อยู่ใน f

Page 10: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

เซตของฟังก์ชัน ทุกฟังก์ชันแทนด้วย YX สังเกตว่า |YX| = |Y||X| (อ้างถึง จ้านวนเชิงการนับ)

ความสัมพันธ์ระหว่าง X กับ Y ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข (1) นั่นคือฟังก์ชันหลายค่า ฟังก์ชันทุกฟังก์ชันเป็นฟังก์ชันหลายค่า แต่ฟังก์ชันหลายค่าไม่ทุกฟังก์ชันเป็นฟังก์ชัน ความสัมพันธ์ระหว่าง X กับ Y ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข (2) นั่นคือฟังก์ชันบางส่วน ฟังก์ชันทุกฟังก์ชันเป็นฟังก์ชันบางส่วน แต่ฟังก์ชันบางส่วนไม่ทุกฟังก์ชันเป็นฟังก์ชัน "ฟังก์ชัน" คือความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขทั้งสองเงื่อนไข

Page 11: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ดูตัวอย่างตอ่ไปนี้

สมาชกิ 3 ใน X สัมพันธ์กับ b และ c ใน Y ความสัมพันธ์นี้เป็นฟังก์ชันหลายค่า แต่ไม่เปน็ฟังก์ชัน

Page 12: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

สมาชิก 1 ใน X ไม่สัมพันธ์กับสมาชิกใดๆเลยใน Y ความสัมพันธ์นี้เป็นฟังก์ชันบางส่วน แต่ไมเ่ป็นฟังก์ชัน

Page 13: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ความสัมพันธ์นี้เป็นฟังก์ชันจาก X ไปยัง Y เราสามารถหานิยามฟังก์ชันนี้อย่างชัดแจ้งได้เป็น f={ (1,d) , (2,d) , (3,c) } หรือเป็น

Page 14: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

โดเมน, โคโดเมน และเรนจ์

ซึ่งคือเซตข้อมูลน้าเข้าเรียกว่า โดเมนของ f และ Y ซึ่งคือเซตของผลลัพธ์ที่

เป็นไปได้ เรียกว่า โคโดเมน เรนจ์ของ f คือเซตของผลลัพธ์จริงๆ {f (x) : x ในโดเมน} ระวังว่าบางครั้งโคโดเมนจะถูกเรียกว่าเรนจ์ เนื่องจากความผิดพลาดจากการจ้าแนกระหว่างผลที่เป็นไปได้กับผลจริงๆ

ฟังก์ชันน้ันเรียกชื่อตามเรนจ์ของมัน เช่น ฟังก์ชันจ านวนจริง หรือ ฟังก์ชันจ านวนเชิงซ้อน เอนโดฟังก์ชัน คือฟังก์ชันที่โดเมนและเรนจ์เป็นเซตเดียวกัน

Page 15: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังกช์ันหนึ่งต่อหนึ่ง ฟังก์ชนัทั่วถึง และฟังกช์ันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง

เราสามารถแบ่งฟังก์ชันตามลักษณะความสัมพันธ์ได้ดังนี้1.ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง (1-1) ฟังก์ชันจะคืนค่าที่ไม่เหมือนกันหากน้าเข้าค่าคนละค่ากัน

กล่าวคือ ถ้า x1 และ x2 เป็นสมาชิกของโดเมนของ f แล้ว f (x1) = f (x2) ก็ต่อเมื่อ x1 = x2

2.ฟังก์ชันทั่วถึง (แบบ onto) ฟังก์ชันจะมีเรนจ์เท่ากับโคโดเมน กล่าวคือ ถ้า y เป็นสมาชิกใดๆของโคโดเมนของ f แล้วจะมี x อย่างน้อย 1 ตัว ซึ่ง f (x) = y

3.ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง เป็นฟังก์ชันที่เป็นทั้งฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง และฟังก์ชันทั่วถึง มักจะใช้แสดงว่าเซต X และเซต Y มีขนาดเท่ากัน

Page 16: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

กราฟของฟังก์ชันกราฟของฟังก์ชัน f คือเซตของคู่อันดับ (x, y (x))

ทั้งหมด ส้าหรับค่า x ทั้งหมดในโดเมน X มีทฤษฎีบทที่แสดงหรือพิสูจน์ง่ายมากเมื่อใช้กราฟ เช่น ทฤษฎีบทกราฟปิด ถ้า X และ Yเป็นเส้นจ้านวนจริง แล้วนิยามนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดของกราฟ

กราฟของฟังก์ชันก้าลังสาม กราฟน้ีเป็นฟังก์ชันทั่วถึงแต่ไม่เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง

สังเกตว่าเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างสองเซต Xและ Y มักจะแสดงด้วยเซตย่อยของ X×Yนิยามอย่างเป็นทางการของฟังก์ชันนั้นระบุฟังก์ชัน f ด้วยกราฟของมัน

Page 17: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ตัวอย่างฟังก์ชัน1. ความสัมพันธ์ wght ระหว่างบุคคลกับน้้าหนักในเวลาใดเวลาหนึ่ง2. ความสัมพันธ์ cap ระหว่างประเทศกับเมืองหลวงของประเทศนั้น3. ความสัมพันธ์ sqr ระหว่างจ้านวนธรรมชาติ n กับก้าลังสอง n2

4. ความสัมพันธ์ ln ระหว่างจ้านวนจริงบวก x กับลอการิทึมฐานธรรมชาติ ln (x) แต่ความสัมพันธ์ระหว่างจ้านวนจริงกับลอการิทึมฐานธรรมชาตินั้นไม่เป็น ฟังก์ชัน เพราะว่าจ้านวนจริงทุกจ้านวนไม่ได้มีลอการิทึมฐานธรรมชาติ นั่นคือเป็นความสัมพันธ์ไม่ทั้งหมด

Page 18: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

5. ความสัมพันธ์ dist ระหว่างจุดบนระนาบ R2 กับระยะทางจากจุดก้าเนิด (0,0) ชนิดของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่มักใช้กันเช่น การบวก การลบ การคูณ การ

หาร พหุนาม เลขยกก้าลัง ลอการิทึม ราก อัตราส่วน และตรีโกณมิติ ฟังก์ชันเหล่านี้มักเรียกว่า ฟังก์ชันพื้นฐาน แต่ค้าน้ีจะมีความหมายต่างออกไปตามสาขาของคณิตศาสตร์ ตัวอย่างของฟังก์ชันที่ไม่เป็นพื้นฐาน (ฟังก์ชันพิเศษ) เช่น ฟังก์ชันเบสเซิล และฟังก์ชันแกมมา

Page 19: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

คุณสมบัติของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันอาจเป็นฟังก์ชันคู่หรือคี่ฟังก์ชันต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องฟังก์ชันจ้านวนจริง หรือ ฟังก์ชันเชิงซ้อนฟังก์ชันสเกลาร์ หรือ ฟังก์ชันเวกเตอร์

Page 20: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังก์ชันคู่และฟังก์ชันคี่

ฟังก์ชันคู่ (even functions) และฟังก์ชันคี่ (odd functions) คือ ฟังก์ชันที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสมมาตร ฟังก์ชันคู่และฟังก์ชันคี่มีความส้าคัญในคณิตวิเคราะห์หลายสาขา โดยเฉพาะเรื่องอนุกรมก้าลัง และอนุกรมฟูรีเย

ฟังก์ชันคู่

ให้ f(x) เป็นฟังก์ชันค่าจริงของตัวแปรที่เป็นจ้านวนจริง f จะเป็นฟังก์ชันคู่ ถ้าสมการต่อไปนี้เป็นจริง ส้าหรับทุกค่า x:

f(−x) = f(x) ตีความในเชิงเรขาคณิตได้ว่า กราฟของฟังก์ชันนี้สมมาตรกับแกน y หมายความว่า ถ้าเราสะท้อนกราฟกับแกน y เราก็ยังได้กราฟรูปเดิม

ตัวอย่างของฟังก์ชันคู่ ได้แก่ | x |, x2, x4, cos(x), และ cosh(x)

Page 21: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังก์ชันคี่

ให้ f(x) เป็นฟังก์ชันค่าจริงของตัวแปรที่เป็นจ้านวนจริง f จะเป็นฟังก์ชันคี่ ถ้าสมการต่อไปนี้เป็นจริง ส้าหรับทุกค่า x:

f(−x) = −f(x) ตีความในเชิงเรขาคณิตได้ว่า กราฟของฟังก์ชันนี้สมมาตรกับจุดก้าเนิด (origin) หมายความว่า ถ้าเราหมุนกราฟไป 180 องศา รอบจุดก้าเนิด เราก็ยังได้กราฟรูปเดิม

ตัวอย่างของฟังก์ชันคี่ ได้แก่ x3, sin(x), และ sinh(x)

Page 22: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

คุณสมบัติพื้นฐาน ฟังก์ชันที่เป็นทั้งฟังก์ชันคู่และฟังก์ชันคี่ มีเพียงฟังก์ชันเดียว ได้แก่ ฟังก์ชันที่เป็น

ศูนย์เสมอ (f(x) = 0 ส้าหรับทุกค่า x)ผลบวกของฟังก์ชันคู่กับฟังก์ชันคี่ จะไม่เป็นทั้งฟังก์ชันคู่และฟังก์ชันคี่ ผลบวกของฟังก์ชันคู่ 2 ฟังก์ชัน จะเป็นฟังก์ชันคู่, ฟังก์ชันคู่คูณกับค่าคงที่ จะเป็น

ฟังก์ชันคู่ ผลบวกของฟังก์ชันคี่ 2 ฟังก์ชัน จะเป็นฟังก์ชันคี่, ฟังก์ชันคี่คูณกับค่าคงที่ จะเป็น

ฟังก์ชันคี่ผลคูณของฟังก์ชันคู่ 2 ฟังก์ชัน จะเป็นฟังก์ชันคู่ ผลคูณของฟังก์ชันคี่ 2 ฟังก์ชัน จะเป็นฟังก์ชันคู่ ผลคูณของฟังก์ชันคู่กับฟังก์ชันคี่ จะเป็นฟังก์ชันคี่อนุพันธข์องฟังก์ชันคู่ จะเป็นฟังก์ชันคี่ อนุพันธ์ของฟังก์ชันคี่ จะเป็นฟังก์ชันคู่

Page 23: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังก์ชันต่อเนื่อง

ในทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันต่อเนื่อง (อังกฤษ: continuous function) คือฟังก์ชันที่ถ้าตัวแปรต้นมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย ผลลัพธ์ก็ จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยด้วยเช่นกัน เราเรียกฟังก์ชันที่การเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยของค่าของตัวแปรต้นท้าให้ เกิดการก้าวกระโดดของผลลัพธ์ของฟังก์ชันว่า ฟังก์ชันไม่ต่อเนื่อง (discontinuous function)

Page 24: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ตัวอย่างเช่น ให้ฟังก์ชัน h(t) เป็นฟังก์ชันที่ส่งเวลา t ไปยังความสูงของต้นไม้ที่เวลานั้น เราได้ว่าฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง อีกตัวอย่างของฟังก์ชันต่อเนื่องคือ ฟังก์ชัน T(x) ที่ส่งความสูง x ไปยังอุณหภูมิ ณ จุดที่มีความสูง x เหนือจุดพิกัดทางภูมิศาสตร์จุดหนึ่ง ในทางกลับกัน ถ้า M(t) เป็นฟังก์ชันที่ส่งเวลา t ไปยังจ้านวนเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคาร เราได้ว่า M ไม่ใช่ฟังก์ชันต่อเนื่องเนื่องจากผลลัพธ์ของฟังก์ชันมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเมื่อมีการฝากเงินหรือถอนเงินเข้าหรือออกจากบัญชี

ในคณิตศาสตร์แขนงต่างๆ นั้นแนวคิดของความต่อเนื่องถูกดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกับคณิตศาสตร์แขนง นั้นๆ การดัดแปลงที่พบได้บ่อยที่สุดมีอยู่ในวิชาทอพอโลยี ซึ่งท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่งเติมได้ในบทความเรื่อง ความต่อเนื่อง (ทอพอโลยี) อนึ่ง ในทฤษฎีล้าดับโดยเฉพาะในทฤษฏีโดเมน นิยามของความต่อเนื่องที่ใช้คือความต่อเนื่องของสก็อตซึ่งเป็นนิยามที่สร้างขึ้นจากความต่อเนื่องที่ถูกอธิบายในบทความนี้อีกทีหนึ่ง

Page 25: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังก์ชันค่าจริงต่อเนื่อง สมมติว่า f เป็นฟังก์ชันที่ส่งชว่งช่วงหนึ่งของจ้านวนจริงไปยังจ้านวนจริง ดังเช่นฟังก์ชัน h,

T, และ M ข้างต้น ฟังก์ชันเหล่านี้สามารถเขียนแทนด้วยกราฟของฟังก์ชันบนระนาบคารท์ีเซียน เราอาจกล่าวโดยหยาบๆ ว่าฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องถ้ากราฟของฟังก์ชันเป็นเส้นที่ไม่มีจุดแหว่งหรือการ ก้าวกระโดด กล่าวคือ เราสามารถเขียนกราฟได้โดยไม่ต้องยกปากกา

ถ้าจะกล่าวให้รัดกุมตามหลักคณิตศาสตร์แล้ว เรากล่าวว่าฟังก์ชัน f ต่อเนื่องที่จุด c ถ้าเงื่อนไขทั้งสองข้อต่อไปนี้เป็นจริง

ฟังก์ชัน f มีนิยามที่จุด c ให้ c เป็นจุดลิมิตของโดเมนของ f แล้ว ลิมิตของ f(x) เมื่อ x เข้าใกล้ c มีค่าเท่ากับ f(c) เรากล่าวว่าฟังก์ชัน f ฟังก์ชันต่อเนื่องทุกที่ หรือเรียกย่อๆ ว่า ฟังก์ชันต่อเนื่อง ถ้า f ต่อเนื่องที่

ทุกจุดในโดเมนของมัน

Page 26: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

จ านวนจริง

จ านวนจริง คือจ้านวนที่สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งกับจุดบนเส้นตรงที่มีความยาวไม่สิ้นสุด (เส้นจ้านวน) ได้ ค้าว่า จ านวนจริง นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแยกเซตนี้ออกจากจ านวนจินตภาพ จ้านวนจริงเป็นศูนย์กลางการศึกษาในสาขาคณิตวิเคราะห์จ้านวนจริง (real analysis)

Page 27: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

คุณสมบัติและการน าไปใช้

มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งจ้านวนจริงอยู่หลายเกณฑ์ เช่น จ้านวนตรรกยะ หรือ จ้านวนอตรรกยะ; จ้านวนพีชคณิต (algebraic number) หรือ จ้านวนอดิศัย; และ จ้านวนบวก จ้านวนลบ หรือ ศูนย์

จ้านวนจริงแทนปริมาณที่ต่อเน่ืองกัน โดยทฤษฎีอาจแทนได้ด้วยทศนิยมไม่รู้จบ และมักจะเขียนในรูปเช่น 324.823211247… จุดสามจุด ระบุว่ายังมีหลักต่อๆไปอีก ไม่ว่าจะยาวเพียงใดก็ตาม

การวัดในวิทยาศาสตร์กายภาพเกือบ ทั้งหมดจะเป็นการประมาณค่าสู่จ้านวนจริง การเขียนในรูปทศนิยม (ซึ่งเป็นจ้านวนตรรกยะที่สามารถเขียนเป็นอัตราส่วนที่มีตัวส่วนชัดเจน) ไม่เพียงแต่ท้าให้กระชับ แต่ยังท้าให้สามารถเข้าใจถึงจ้านวนจริงที่แทนได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย

Page 28: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

จ้านวนจริงจ้านวนหนึ่งจะกล่าวได้ว่าเป็นจ านวนที่ค านวณได้ (computable) ถ้ามีขั้นตอนวิธีที่สามารถให้ได้ตัวเลขแทนออกมา เนื่องจากมีจ้านวนขั้นตอนวิธีนับได้ (countably infinite) แต่มีจ้านวนของจ้านวนจริงนับไม่ได้ จ้านวนจริงส่วนมากจึงไม่เป็นจ้านวนที่ค้านวณได้ กลุ่มลัทธิเค้าโครง (constructivists) ยอมรับการมีตัวตนของจ้านวนที่ค้านวณได้เท่านั้น เซตของจ้านวนที่ให้นิยามได้นั้นใหญ่กว่า แต่ก็ยังนับได้

ส่วนมากคอมพิวเตอร์เพียงประมาณค่าของจ้านวนจริงเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว คอมพิวเตอร์สามารถแทนค่าจ้านวนตรรกยะเพียงกลุ่มหนึ่งได้อย่างแม่นย้าโดยใช้ตัวเลขจุดลอยตัวหรือตัวเลขจุดตรึง จ้านวนตรรกยะเหล่านี้ใช้เป็นค่าประมาณของจ้านวนจริงข้างเคียงอื่นๆ เลขคณิตก้าหนดความเที่ยงได้ (arbitrary-precision arithmetic) เป็นขั้นตอนในการแทนจ้านวนตรรกยะโดยจ้ากัดเพียงหน่วยความจ้าที่มี

Page 29: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

แต่โดยทั่วไปจะใช้จ้านวนของบิตความละเอียดคงที่ก้าหนดโดยขนาดของรีจิสเตอร์หน่วยประมวลผล (processor register) นอกเหนือจากจ้านวนตรรกยะเหล่านี้ ระบบพีชคณิตคอมพิวเตอร์สามารถจัดการจ้านวนอตรรกยะจ้านวนมาก (นับได้) อย่างแม่นย้าโดยบันทึกรูปแบบเชิงพีชคณิต (เช่น "sqrt(2)") แทนค่าประมาณตรรกยะ

นักคณิตศาสตร์ใช้สัญลักษณ์ R (หรือ - อักษร R ในแบบอักษร blackboard bold) แทนเซตของจ้านวนจริง สัญกรณ์ Rn แทนปริภูมิ n มิตขิองจ้านวนจริง เช่น สมาชิกตัวหนึ่งจาก R3 ประกอบด้วยจ้านวนจริงสามจ้านวนและระบุต้าแหน่งบนปริภูมิสามมิติ

Page 30: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

นิยาม

การสร้างจากจ านวนตรรกยะ

จ้านวนจริงสามารถสร้างเป็นส่วนสมบูรณ์ของจ้านวนตรรกยะ ส้าหรับรายละเอียดและการสร้างจ้านวนจริงวิธีอื่นๆดูที่ construction of real numbers (การสร้างจ้านวนจริง)

วิธีสัจพจน์

ให้ R แทนเซตของจ้านวนจริงทั้งหมด แล้ว เซต R เป็นฟีลด ์หมายความว่ามีการนิยามการบวกและการคูณ และมีคุณสมบัติ

ตามปกติ

ฟีลด์ R เป็นฟีลด์อันดับ หมายความว่ามีอันดับเชิงเส้น (total order) ≥ ซึ่งส้าหรับทุกจ้านวนจริง x y และ z:

ถ้า x ≥ y แล้ว x + z ≥ y + zถ้า x≥ 0 และ y ≥ 0 แล้ว xy≥ 0

Page 31: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

อันดับนั้นมีความบริบูรณ์เดเดคินท์ (Dedekind-complete) กล่าวคือทุกสับเซตที่ไม่ใช่เซตว่าง S ของ R ซึ่งมีขอบเขตบน ใน R มี ขอบเขตบนน้อยสุด ใน R

คุณสมบัติสุดท้ายนี้เป็นตัวแบ่งแยกจ้านวนจริงออกจากจ้านวนตรรกยะ ตัวอย่างเช่น เซตของจ้านวนตรรกยะที่มีก้าลังสองน้อยกว่า 2 มีขอบเขตบน (เช่น 1.5) แต่ไม่มีขอบเขตบนน้อยสุดที่เป็นจ้านวนตรรกยะ เพราะว่ารากที่สองของ 2 ไม่เป็นจ้านวนตรรกยะ

จ้านวนจริงนั้นมีคุณสมบัติข้างต้นเป็นเอกลักษณ์ พูดอย่างถูกต้องได้ว่า ถ้ามีฟีลด์อันดับที่มีความบริบูรณ์เดเดคินท์ 2 ฟีลด์ R1 และ R2 จะมีสมสัณฐานฟีลด์ที่เป็นเอกลักษณ์จาก R1 ไปยัง R2 ท้าให้เราสามารถมองว่าทั้งคู่เป็นวัตถุเดียวกัน

Page 32: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

คุณสมบัติ

ความบริบูรณ์

เหตุผลหลักในการแนะน้าจ้านวนจริงก็เพราะว่าจ้านวนจริงมีลิมิต พูดอย่างเป็นหลักการแล้ว จ้านวนจริงมีความบริบูรณ์ (โดยนัยของ ปริภูมิอิงระยะทาง หรือ ปริภูมิเอกรูป ซึ่งต่างจากความบริบูรณ์เดเดคินท์เกี่ยวกับอันดับในส่วนที่แล้ว) มีความหมายดังต่อไปนี้ ล้าดับ (xn) ของจ้านวนจริงจะเรียกว่า ล าดับโคชี ถ้าส้าหรับ ε > 0 ใดๆ มีจ้านวนเต็ม N (อาจขึ้นอยู่กับ ε) ซึ่งระยะทาง |xn − xm| น้อยกว่า ε โดยที่ n และ m มากกว่า N และอาจกล่าวได้ว่าล้าดับเป็นล้าดับโคชีโคชีถ้าสมาชิก xn ของมันในที่สุดเข้าใกล้กันเพียงพอ

ล้าดับ (xn) ลู่เข้าสู่ลิมิต x ถ้าส้าหรับ ε > 0 ใดๆมีจ้านวนเต็ม N (อาจขึ้นอยู่กับ ε) ซึ่งระยะทาง |xn − x| น้อยกว่า ε โดยที่ n มากกว่า N และอาจกล่าวได้ว่าล้าดับมีลิมิต x ถ้าสมาชิกของมันในที่สุดเข้าใกล้ x เพียงพอ

เป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นว่าทุกล้าดับลู่เข้าเป็นล้าดับโคชี ข้อเท็จจริงที่ส้าคัญหนึ่งเกี่ยวกับจ้านวนจริงคือบทกลับของมันก็เป็นจริงเช่น กัน :

Page 33: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ล าดับโคชีทุกล าดับของจ านวนจริงลู่เข้า นั่นก็คือ จ้านวนจริงนั้นบริบูรณ์สังเกตว่าจ้านวนตรรกยะนั้นไม่บริบูรณ์ เช่น ล้าดับ (1, 1.4, 1.41, 1.414, 1.4142,

1.41421, ...) เป็นล้าดับโคชีแต่ไม่ลู่เข้าสู่จ้านวนตรรกยะจ้านวนใดจ้านวนหนึ่ง (ในทางกลับกัน ในระบบจ้านวนจริง มันลู่เข้าสู่รากที่สองของ 2)

การมีอยู่ของลิมิตของล้าดับโคชีท้าให้แคลคูลัสใช้ การได้ รวมไปถึงการประยุกต์มากมายของมันด้วย การทดสอบเชิงตัวเลขมาตรฐานเพื่อระบุว่าล้าดับนั้นมีลิมิตหรือไม่คือการทดสอบ ว่ามันเป็นล้าดับโคชีหรือไม่ ถ้าเราไม่ทราบลิมิตเหล่านั้นล่วงหน้า

ตัวอย่างเช่น อนุกรมพื้นฐานของฟังก์ชันเลขชี้ก้าลังลู่เข้าสู่จ้านวนจริงจ้านวนหนึ่งเพราะว่าส้าหรับทุกค่าของ x ผลรวมสามารถท้าให้มีค่าน้อยลงเพียงพอโดยเลือก N ที่มีค่ามากเพียงพอ นี่พิสูจน์ว่าล้าดับนี้

เป็นล้าดับโคชี ดังน้ันเรารู้ว่าล้าดับลู่เข้าแม้กระทั่งเราไม่รู้ว่าลิมิตคืออะไร

Page 34: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังก์ชันแบบ n-ary : ฟังก์ชันหลายตัวแปร

ฟังก์ชันที่เราใช้ส่วนมักจะเป็น ฟังก์ชันหลายตัวแปร ค่าที่ได้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆกัน จากมุมมองของคณิตศาสตร์ ตัวแปรทั้งหมดต้องแสดงอย่างชัดแจ้งเพื่อที่จะเกิดความสัมพันธ์แบบฟังก์ชัน - ไม่มีปัจจัย "ซ่อนเร้น" อยู่ และเช่นกัน จากมุมมองของคณิตศาสตร์ ไม่มีความแตกต่างเชิงคุณภาพระหว่างฟังก์ชันตัวแปรเดียวกับฟังก์ชันหลายตัว แปร ฟังก์ชันสามตัวแปรจ้านวนจริงนั้นก็คือฟังก์ชันของ triple ((x,y,z)) ของจ้านวนจริง

Page 35: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ถ้าโดเมนของฟังก์ชันหนึ่งเป็นเซตย่อยของ ผลคูณคาร์ทีเซียน ของ n เซต แล้ว เราเรียกฟังก์ชันนี้ว่า ฟังก์ชัน n-ary ตัวอย่างเช่นฟังก์ชัน dist มีโดเมน จึงเป็นฟังก์ชันทวิภาค ในกรณีนี้ dist ((x,y)) เขียนอย่างง่ายเป็น dist (x,y) การด้าเนินการ ก็เป็นฟังก์ชันหลายตัวแปรชนิดหนึ่ง ในพีชคณิตนามธรรม ตัวด้าเนินการเช่น "*" นั้นนิยามจากฟังก์ชันทวิภาค เมื่อเราเขียนสูตรเช่น x*y ในสาขานี้ เสมือนกับว่าเราเรียกใช้ฟังก์ชัน * (x,y) โดยปริยาย เพียงแต่เขียนในรูปสัญกรณ์เติมกลาง (infix notation) ซึ่งสะดวกกว่า

ตัวอย่างที่ส้าคัญทางทฤษฎีตัวอย่างหนึ่งคือ ก้าหนดการเชิงฟังก์ชัน ซึ่งใช้แนวคิดของฟังก์ชันเป็นศูนย์กลาง ด้วยวิธีนี้ การจัดการฟังก์ชันหลายตัวแปรท้าได้เหมือนเป็นการด้าเนินการ ซึ่งแคลคูลัสแลมบ์ดา มีวากยสัมพันธ์ (syntax) ให้เรา

Page 36: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

การประกอบฟังก์ชัน

ฟังก์ชัน f: Xye → Y และ g:Y → Z สามารถประกอบกันได้ ซึ่งจะได้ผลเป็นฟังก์ชันประกอบ g o f: X → Z ซึ่งมีนิยามคือ (g o f) (x) = g (f (x)) ส้าหรับทุกค่าของ x ใน X ตัวอย่างเช่น สมมติว่าความสูงของเครื่องบินที่เวลา t เป็นไปตามฟังก์ชัน h (t) และความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศที่ความสูง x เป็นไปตามฟังก์ชัน c (x) ดังนี้น (c o h) (t) จะบอกความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศรอบๆเครื่องบินที่เวลา t

Page 37: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

ฟังก์ชันผกผัน

ถ้าฟังก์ชัน f: X → Y เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งต่อเนื่อง แล้ว พรีอิเมจของสมาชิก y ใดๆในโคโดเมน Y จะเป็นเซตโทน ฟังก์ชันจาก y ∈ Y ไปยังพรีอิเมจ f−1 (y) ของมัน คือฟังก์ชันที่เรียกว่า ฟังก์ชันผกผัน ของ f เขียนแทนด้วย f −1

ตัวอย่างหนึ่งของฟังก์ชันผกผันส้าหรับ f (x) = 2x คือ f −1 (x) = x/2 ฟังก์ชันผกผันคือฟังก์ชันที่ย้อนการกระท้าของฟังก์ชันต้นแบบของมัน ดู อิเมจผกผัน

บางครั้งฟังก์ชันผกผันก็หายากหรือไม่มี พิจารณา f(x) = x2 ฟังก์ชัน ไม่ใช่ฟังก์ชันผกผันเมื่อโดเมนของ f คือ

Page 38: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

เอกสารอ้างอิง1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%

B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99_%28%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%29

2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B9%88

3. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87

4. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87

Page 39: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3

แบบฝึกหัด

Page 40: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 41: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 42: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 43: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 44: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 45: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 46: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 47: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 48: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 49: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3
Page 50: ฟังก์ชัน - kruamm...2. ความส มพ นธ cap ระหว างประเทศก บเม องหลวงของประเทศน น 3