เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน...

22
เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยในฐานข้อมูล SCOPUS เพื่อใช้ประกอบการจัดทารายงานผลการดาเนินงานของหลักสูตร จัดทาสรุปองค์ความรู้โดย งานแผนและประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์

Upload: others

Post on 26-Feb-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยในฐานข้อมูล SCOPUS

เพ่ือใช้ประกอบการจัดท ารายงานผลการด าเนินงานของหลักสูตร

จัดท าสรุปองค์ความรู้โดย

งานแผนและประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์

Page 2: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

สารบัญ

หน้า

ที่มาและความส าคัญ 1

แหล่งที่มาขององค์ความรู้ 2

การแลกเปลี่ยนและรวบรวมความรู้ 3

องค์ความรู้ในการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูล Scopus 4

- ฐานข้อมูล Scopus 4

- การสืบค้นข้อมูลบทความ 5

- การสืบค้นข้อมูลการอ้างอิง 14

- การรวบรวมข้อมูลผลงานด้วย Lists 18

การถ่ายทอดองค์ความรู้และน าองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ 20

Page 3: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

2

ที่มาและความส าคัญ

ภารกิจหลักที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติมี 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย

การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นภารกิจที่หน่วยงานภายใน

สถาบันอุดมศึกษาต้องร่วมรับผิดชอบและปฏิบัติเพ่ือให้บรรลุเป้าหมาย ตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ

วิชา ระดับภาควิชา และระดับหลักสูตร ภายใต้กรอบการดําเนินงานดังกล่าวระบบการประกันคุณภาพ

การศึกษาได้ถูกพัฒนาขึ้น เพ่ือเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและประเมินผลการดําเนินงานตามภารกิจหลักทั้ง

4 ประการของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของการดําเนินงานในแต่ละประเด็น และ

แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละระดับของหน่วยงาน

ภารกิจด้านการวิจัยเป็นภารกิจหลักหนึ่งในสี่ที่สถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติ ซึ่งการวิจัยในที่นี้

หมายถึง การทํางานวิจัย (Research) และการผลิตผลงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ (Publications) การดําเนินงาน

ภายใต้ภารกิจนี้จึงครอบคลุมตั้งแต่ระบบและกลไกการสนับสนุน การดําเนินการสนับสนุน ผลของการ

สนับสนุน การประเมินผลการให้การสนับสนุนและการปรับปรุง ซึ่งหน่วยงานในแต่ระดับของมหาวิทยาลัยมี

หน้าที่รับผิดชอบต้องปฏิบัติที่แตกต่างกันไป เช่น มหาวิทยาลัยเป็นผู้กําหนดนโยบายในภาพรวม คณะวิชาเป็น

ผู้กําหนดหลักเกณฑ์และประเภทของการสนับสนุนที่ตอบโจทย์มหาวิทยาลัย ภาควิชาและหลักสูตรช่วยส่งเสริม

และกระตุ้นให้บุคลากรทํางานวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการ และบุคลากรทุกคนเป็นผู้ทํางานวิจัยและ

ผลิตผลงานทางวิชาการ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าบุคลากรและหน่วยงานทุกระดับของสถาบันอุดมศึกษามีส่วน

เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการวิจัย

การดําเนินงานในระดับหลักสูตรมีความใกล้ชิดกับการอาจารย์และบุคลากรมากที่สุด เมื่อมี

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร จึงได้กําหนดตัวชี้วัดการดําเนินงานตามภารกิจด้านการ

วิจัยที่เกี่ยวข้องคุณภาพของอาจารย์ประจําหลักสูตรในการผลิตผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นผลจาก

การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัย ให้อาจารย์ในหลักสูตรมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและเพียงพอโดยการ

ทําให้อาจารย์มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางสาขาวิชาที่เปิดให้บริการ และมีประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการ

ผลิตบัณฑิต ภายใตต้ัวบ่งชี้ที่ 4.2 คุณภาพอาจารย์ ซึ่งกําหนดประเด็นในการพิจารณาไว้ทั้งหมด 4 ประเด็น คือ

- ร้อยละของอาจารย์ประจําหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

- ร้อยละของอาจารย์ประจําหลักสูตรที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ

- ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจําหลักสูตร

Page 4: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

- จํานวนบทความของอาจารย์ประจําหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล

TCI และ Scopus ต่อจํานวนอาจารย์ประจําหลักสูตร

และประเด็นที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการวิจัยคือ จํานวนผลงานทางวิชาการ และจํานวนบทความที่

ได้รับการอ้างอิง ซึ่งมีความจําเป็นต้องสืบค้นข้อมูลบทความของอาจารย์ในหลักสูตรจากฐานข้อมูล Scopus

ดังนั้น หากหลักสูตรทุกหลักสูตรสามารถที่จะสืบค้นข้อมูลได้เอง จะทําให้สามารถติดตาม กํากับดูแล และ

รวบรวมผลการดําเนินงานได้ตลอดปีการศึกษา ทําให้การดําเนินของหลักสูตรในสองประเด็นดังกล่าวมี

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มาขององค์ความรู้

ตามท่ีทราบว่าภารกิจด้านการวิจัยเป็นภารกิจหลักหนึ่งในสี่ที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติ

และมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและประเมินผลการดําเนินงานมา

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542-2544 (รายงานการศึกษาตนเอง) และปีการศึกษา 2545-ปัจจุบัน (รายงานการ

ประเมินตนเอง) ดังนั้นจึงมีการรวบรวมข้อมูลงานวิจัย ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ มาอย่างต่อเนื่อง

ตลอดจนการส่งข้อมูลเพ่ือเข้าร่วมโครงการต่างๆ เช่น โครงการวิจัยเพ่ือคาดการณ์สถานภาพการวิจัยด้าน

วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปี 2548 ของ สกอ. (ข้อมูลปี 2548-2550)

โครงการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ของ สกว. ตั้งแต่ปี

2552 – ปัจจุบัน (ข้อมูลปี 2548-2560) ทําให้บุคลากรซึ่งรับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) และบุคลากรซึ่งรับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมงานวิจัย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-

ปัจจุบัน) มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลวิจัยทั้งในระดับชาติและ

นานาชาติ ได้แก่ ISI Web of Knowledge, Scopus, Science Direct, SJR, ieee Xplore, SpringerLink

และ TCI เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานข้อมูล Scopus และ ISI Web of Knowledge ซึ่งมีการใช้งานเป็น

ประจําเกือบทุกวัน เกิดเป็น Tacit Knowledge ในตัวบุคคล นอกจากนี้ การใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ ยังสามารถ

ศึกษาเพ่ิมเติมได้จากคู่มือการใช้งานของฐานข้อมูลนั้นๆ หรือจากที่มีผู้เขียนไว้ แต่การศึกษาจากคู่มืออาจไม่

ตอบโจทย์หรือเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้นการกลั่นกรองความรู้ และเทคนิคการสืบค้นจากตัวบุคคลที่ใช้งาน

ฐานข้อมูลเพ่ือตอบโจทย์เฉพาะด้าน ออกมาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถถ่ายทอดสู่ผู้ที่ ต้องใช้งานหรือผู้เกี่ยวข้อง

จึงจะเกิดประโยชน์ตรงความต้องการใช้งานจริงมากที่สุด

Page 5: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

การแลกเปลี่ยนและรวบรวมความรู้

งานแผนและประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดกิจกรรมเพ่ือแลกเปลี่ยนความรู้ และรวบรวม

องค์ความรู้ขึ้น 2 ครั้ง ได้แก่

- ครั้งที่ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561 ณ ห้อง 101 ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์ 2

มีผู้เข้าร่วมได้แก่ น.ส.จิตรรดี ตันติคชาภรณ์, นายณรงค์ พูลแก้ว, น.ส.ขนิษฐา เมฆสวัสดิ์,

น.ส.บูรณลักษณ์ เกษร, น.ส.อารีวรรณ เฉลิมชัย และนางลําพึง แสนตุ้ม

ประเด็นของกิจกรรมที่แลกเปลี่ยนในครั้งนี้คือ การชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม การชี้

ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เห็นถึงความสําคัญของกิจกรรม การชี้ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เห็น

ถึงความสําคัญการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล การชี้แจงที่มาของการสืบค้นข้อมูลจาก

ฐานข้อมูล และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งมีผู้

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ 2 คน คือ น.ส.จิตรรดี ตันติคชาภรณ์ และ นายณรงค์

พูลแก้ว

- ครั้งที่ 2 เมื่อวันอังคารที่ 17 เมษายน 2561 ณ ห้อง 1236 ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์ 1

มีผู้เข้าร่วมได้แก่ น.ส.จิตรรดี ตันติคชาภรณ์, นายณรงค์ พูลแก้ว, น.ส.ขนิษฐา เมฆสวัสดิ์,

น.ส.บูรณลักษณ์ เกษร, น.ส.อารีวรรณ เฉลิมชัย และนางลําพึง แสนตุ้ม

ประเด็นของกิจกรรมที่แลกเปลี่ยนในครั้งนี้คือ การแลกเปลี่ยนและรวบรวมองค์ความรู้ใน

การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล และเนื่องจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเห็นว่าช่วงเวลา

ดังกล่าวใกล้เคียงช่วงเวลาที่จะมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร

จึงเห็นควรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคและวิธีการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลที่

สามารถตอบโจทย์ตัวชี้วัดในการประคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรได้ เพ่ือที่

จักได้รวบรวมเป็นองค์ความรู้และถ่ายทอดให้กับหลักสูตรที่มีความสนใจต่อไป จึงได้

แลกเปลี่ยนในประเด็นของการสืบค้นข้อมูลจํานวนผลงาน และจํานวนบทความที่ได้รับ

การอ้างอิง จากฐานข้อมูล Scopus และได้บันทึกรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้ไว้เป็นลาย

ลักษณ์อักษร

Page 6: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

องค์ความรู้ในการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูล Scopus

- ฐานข้อมูล Scopus

Scopus เป็นฐานข้อมูลที่มีบริษัท Elsevier เป็นเจ้าของ (เจ้าของเดียวกับ Science Direct

และ SJR) ที่จัดเก็บรวบรวมบทความประเภทต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการ Peer-reviewed เช่น บทความนิพนธ์

ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ บทความสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ เป็นต้น โดยจัดเก็บ

เนื้อหาในรูปแบบของบทคัดย่อ ไม่มีการจัดเก็บบทความฉบับเต็มแต่อย่างใด แต่ทางฐานข้อมูลได้สร้างลิงค์

สําหรับเชื่อมโยงไปยังวารสารหรือสํานักพิมพ์สําหรับผู้ที่สนใจบทความฉบับเต็ม ดังนั้นถ้าเป็นวารสารประเภท

Open Access ก็จะสามารถเปิดดูได้ทันที แต่ถ้าเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลอ่ืน เช่น Science Direct,

SpringerLink เป็นต้น หรือวารสารที่เรียกเก็บค่าบทความฉบับเต็ม หากทางมหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของ

ฐานข้อมูลหรือวารสารเมื่อใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยก็จะสามารถเข้าดูบทความฉบับเต็ม

ได้เช่นกัน โดยทางฐานข้อมูล Scopus จะมีกระบวนการคัดเลือกวารสารที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่ฐานข้อมูล

กําหนดจึงจะสามารถปรากฏในฐานข้อมูลได้ และมีการประเมินอยู่ตลอด ซึ่งวารสารที่เคยปรากฏในฐานข้อมูล

หากไม่ได้คุณภาพ ก็อาจไม่ปรากฏในฐานข้อมูลในปีถัดไป ดังนั้นประโยชน์หลักของฐานข้อมูล Scopus คือการ

ใช้สําหรับสืบค้นข้อมูลบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือตีพิมพ์รูปแบบอ่ืนๆ ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ของ

ฐานข้อมูลกําหนด เป็นการสร้างมาตรฐานชี้วัดสําหรับการคัดเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ และส่วนที่สําคัญอีก

อย่างหนึ่งของฐานข้อมูล Scopus คือ การเก็บค่าการอ้างอิงของบทความที่ถูกอ้างอิงโดยบทความอ่ืนๆ จึงเป็น

ข้อมูลพ้ืนฐานที่สามารถนําไปใช้ในการประเมินคุณภาพของวารสารได้ ซึ่งทางฐานข้อมูลเองก็ได้สร้างตัวชี้วัด

เหล่านี้ขึ้นมาเป็นค่าต่างๆ เช่น ค่า CiteScore, ค่า SJR และ ค่า SNIP เป็นต้น รวมถึงการวัดคุณภาพของผู้แต่ง

Page 7: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

หรือหน่วยงานด้วยค่า h-index อีกด้วย นอกจากนี้ฐานข้อมูล Scopus ยังถูกใช้เป็นข้อมูลพ้ืนฐานของ

ฐานข้อมูลอ่ืนๆ ของบริษัท Elsevier ซึ่งถูกนําไปใช้งานในรูปแบบที่แต่กต่างกัน เช่น ฐานข้อมูล SJR นําข้อมูล

จากฐานข้อมูล Scopus มาวิเคราะห์เพ่ือประเมินคุณภาพของวารสาร และฐานข้อมูล SciVal นําข้อมูลจาก

ฐานข้อมูล Scopus มาวิเคราะห์เพ่ือประเมินคุณภาพของหน่วยงานและผู้แต่ง เป็นต้น ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัย

ศิลปากรได้บอกรับเป็นสมาชิกของฐานข้อมูล Scopus ดังนั้น จึงสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

ของมหาวิทยาลัย (ต้องมีการล็อกอินเข้าใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตผ่าน ipassport ของมหาวิทยาลัย) และเข้าถึง

ฐานข้อมูลได้ที่ที่อยู่ https://www.scopus.com/

- การสืบค้นข้อมูลบทความ

ก่อนเริ่มต้นใช้งานฐานข้อมูล Scopus ให้ท่านตรวจสอบก่อนว่าท่านได้ใช้งานอินเตอร์เน็ต

ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยหรือไม่ โดยสังเกตได้จากตอนเริ่มต้นใช้งานได้มีการล็อกอินผ่านหน้า

เว็บ ipassport ดังภาพ

หากท่านไม่แน่ใจ หรือไม่สามารถเข้าใช้งานได้ สามารถตรวจสอบค่าพร็อกซี่การใช้งานว่าผ่านระบบ

อินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยหรือไม่ โดยจากหน้าเว็บบราวเซอร์เข้าไปที่ Tools -> Internet options ->

Connections -> LAN settings -> เลือก Use automatic configuration script และช่อง Address ให้

กรอกข้อมูลพร็อกซ่ีของมหาวิทยาลัยคือ http://www.su.ac.th/proxy.pac ดังภาพ

Page 8: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

เมื่อทําการล็อกอินเข้าใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยแล้ว จึงกรอกท่ีอยู่ของฐานข้อมูล Scopus

ในช่อง Address เพ่ือเข้าใช้งาน https://www.scopus.com/ จะปรากฏหน้าเว็บไซต์ดังภาพ

จากหน้าแรกของเว็บไซต์ฐานข้อมูล Scopus จะมีแถบเครื่องมือให้ใช้งานสองส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่หนึ่ง

บริเวณหน้าจอหลักจะเป็นแถบข้อมูลสําหรับการค้นหา ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าต้องการค้นสิ่งใด เช่น

Documents, Authors, Affiliations หรือเลือกค้นหาแบบ Advanced และส่วนที่สอง เป็นแถบเมนูด้านบน

ที่ใช้สําหรับเลือกเมนูว่าต้องการใช้งานลักษณะไหน เช่น Search, Sources, Alerts, Lists หรือ Help เป็นต้น

แต่สําหรับการใช้งานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพ่ือการค้นหาบทความของอาจารย์ประจํา

หลักสูตรที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus ดังนั้น เราจึงใช้งานส่วนที่หนึ่ง Search Documents เป็นหลัก

Page 9: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

ในส่วนของการ Search Documents คือ การค้นหาบทความทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ที่

สอดคล้องกับคําค้นหรือคีย์เวิร์ดที่เราระบุลงไป ซึ่งเราสามารถจํากัดขอบเขตของการค้นหาได้ว่าต้องการให้

ค้นหาจากส่วนใด เช่น Article Title, Abstract, Keywords, Authors, Source Title, Affiliation เป็นต้น

และสามารถจํากัดช่วงเวลาของบทความท่ีต้องการค้นหาได้ด้วยโดยกดตรงคําว่า > Limits จะปรากฎดังภาพ

สิ่งที่เราต้องการค้นหาในที่นี้คือบทความของอาจารย์ คําค้นที่เราต้องใช้ในคือ ชื่ออาจารย์ประจําหลักสูตรที่

ต้องการค้นหา ดังนั้น สิ่งที่จําเป็นต้องทราบก่อนค้นหาอีกอย่างหนึ่งคือ ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษของอาจารย์

ประจําหลักสูตร ซึ่งต่อไปนี้ของยกตัวอย่างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ และหลักสูตร

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ซึ่งใช้อาจารย์ประจําหลักสูตรชุดเดียวกัน ได้แก่

1. ศาสตราจารย์ ดร.เสริม จันทร์ฉาย

2. อาจารย์ ดร.บดินทร์ ดํารงศักดิ์

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรัตน์ วัดตาล

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสระ มะศิริ

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมามาลย์ บรรเทิง

ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษที่ใช้ คือ

1. Serm Janjai

2. Badin Damrongsak

3. Rungrat Wattan

4. Itsara Masiri

Page 10: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

5. Sumaman Buntoung

รูปแบบคําค้นที่ Scopus กําหนดไว้สําหรับการค้นหาจากชื่อผู้แต่งคือ Surname, N ดังนั้น เราจึงปรับเปลี่ยน

ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษ ของอาจารย์ประจําหลักสูตร ให้อยู่ในรูปแบบคําค้นที่ฐานข้อมูลกําหนด ดังนี้

1. Janjai, S

2. Damrongsak, B

3. Wattan, R

4. Masiri, I

5. Buntoung, S

เมื่อได้คําค้นที่ต้องการแล้วจึงนําคําค้นเหล่านี้ไปกรอกในช่อง Search เลือกระบุจํากัดการค้นหาจาก Author

และเนื่องจากเราต้องการค้นหาบทความของอาจารย์ประจําหลักสูตรทุกคน ดังนั้น จึงต้องระบุคําค้นทุกคําค้น

เพ่ือการค้นหาในครั้งเดียว โดยฐานข้อมูล Scopus สามารถให้เพ่ิมคําค้นได้มากกว่าหนึ่งคํา ด้วยการกดที่

เครื่องหมายบวกด้านขวามือ (Add additional search terms) และเชื่อมต่อคําค้นแต่ละคําด้วย OR ดังภาพ

จากคําค้นที่ระบุเสร็จเรียบแล้ว เมื่อเรากดปุ่ม Search ด้านล่าง ก็จะได้ข้อมูลบทความของอาจารย์ประจํา

หลักสูตรทั้ง 5 คน ที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus ดังภาพ

Page 11: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

แต่เนื่องจากผลงานที่ได้ยังไม่ได้จํากัดช่วงเวลาให้เป็นไปตามที่นิยามตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพการศึกษา

กําหนดคือใช้ผลงานย้อนหลัง 5 ปี ในที่นี้ จะทําการประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2560 จึงใช้ข้อมูล

ผลงานปี พ.ศ. 2556 – 2560 (ค.ศ. 2013-2017) เราจึงต้องเลือกใช้เฉพาะผลงานปี 2013-2017 โดยกดเลือก

ที่ Year และเลือกปี 2013-2017 แล้วกด Limit to ดังภาพ

เมื่อกดแล้วจะได้ข้อมูลบทความของอาจารย์ประจําหลักสูตรที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus ในช่วงปี 2013-

2017 ตามท่ีต้องการ ดังภาพ

Page 12: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

ผู้ใช้งานอาจมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงไม่จํากัดช่วงเวลาในการค้นหาตั้งแต่เริ่มต้น เนื่องจาก ในขั้นตอนต่อไปเราจะทําการจัดเก็บข้อมูลบทความทั้งหมดของอาจารย์ประจําหลักสูตรไว้ใน Lists เพ่ือในการใช้งานครั้งต่อไปไม่จําเป็นต้องทําการค้นหาใหม่ และการเก็บข้อมูลทั้งหมดจะทําให้ทราบข้อมูลในภาพรวม ซึ่งเราสามารถนํามา Limit to เพ่ือจํากัดช่วงเวลาในภายหลังได้ เมื่อทําการค้นหาได้ข้อมูลตามที่ต้องการแล้วเรายังสามารถ export ข้อมูลชื่อบทความ ชื่อผู้แต่ง ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ และข้อมูลอื่นๆ ให้อยู่ในรูปของ CSV ไฟล์ ซึ่งสามารถนําไปเปิดใช้งานกับโปรแกรม Microsoft Excel ได้ โดยทําการกดเลือกที่ข้างหน้าบทความทั้งหมดหรือกดเลือก All ซึ่งจะทําการเลือกบทความทั้งหมดให้อัตโนมัติ แล้วกดเลือก CSV export ดังภาพ

Page 13: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

เมื่อกด CSV export แล้ว จะปรากฏหน้าจอดังภาพ ซึ่งเราสามารเลือกข้อมูลที่ต้องการให้ export ออกมาได้

เมื่อเลือกเสร็จแล้ว จึงกดปุ่ม export แล้วจึงทําการเลือก Drive ที่ต้องการบันทึกข้อมูล และตั้งชื่อไฟล์แล้วจึง

กด save ไฟล์

ข้อควรระวัง

1. บทความที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus จะเก็บรวบรวมบทความไว้ทุกประเภท ซึ่งบทความบาง

ประเภท ไม่สามารถนํามาใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาได้ จึงต้องทําการตัดออกโดยใช้

ฟังก์ชัน Exclude เช่น Article in Press, Erratum, Editorial, Note เป็นต้น ตัวอย่างดังภาพ

Page 14: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

2. อาจารย์บางท่านอาจมีชื่อภาษาอังกฤษที่ใช้ในการแต่งบทความหลายชื่อ ซึ่งอาจเกิดจากความ

ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจหรือจากความจําเป็น เช่น Tantasanawong, P กับ Tantatsanawong, P,

Seadan, M กับ Saedan, M, Taechowisan, T กับ Teachowisan, T และ Phutdhawong,

WS กับ Sengpracha, W เป็นต้น ซึ่งต้องเพ่ิมคําค้นในการค้นหาให้ครบถ้วน

Page 15: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

3. อาจมีผลงานบางผลงานที่เกิดจากความผิดพลาดของฐานข้อมูลในการนําข้อมูลเข้าระบบ ทําให้ไม่

สามารถค้นหาข้อมูลบทความได้ครบถ้วน เช่น การกรอกข้อมูลชื่อผู้แต่งผิด Swangjang, K กับ

Kanokporn, S หรือ Tipayarom, A กับ Aungsiri, T เป็นต้น ซึ่งต้องเพ่ิมคําค้นในการค้นหาให้

ครบถ้วนเช่นกัน

Page 16: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

- การสืบค้นข้อมูลการอ้างอิง

ตามนิยามตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร กําหนดให้

ใช้ผลงานย้อนหลัง 5 ปี และต้องถูกนําไปใช้อ้างอิงภายในระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปีเช่นกัน นั่นคือ ต้องเป็น

ผลงานที่ตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ. 2013 – 2017 และมีการนําไปใช้อ้างอิงโดยบทความอ่ืนๆ ในช่วงปี ค.ศ. 2013-

2017 ด้วย

จากการสืบค้นข้อมูลผลงานตีพิมพ์ของอาจารย์ประจําหลักสูตรที่ทําการค้นหาไว้ในหัวข้อก่อน

หน้านี้ เราสามารถนําข้อมูลมาใช้ในการค้นหาการอ้างอิงได้ดังนี้

การแสดงข้อมูลปกติของฐานข้อมูล Scopus จะแสดงข้อมูลจํานวนครั้งที่ถูกอ้างอิง Cited by ของผลงานไว้ใน

คอลัมน์ท้ายสุดของแต่ละผลงาน ซึ่งเป็นการแสดงข้อมูลในภาพรวม ไม่สามารถจําแนกตามปีที่ถูกอ้างอิงได้ จึง

ต้องใช้ฟังก์ชัน View citation overview ช่วยในการสืบค้น โดยทําการเลือกบทความทั้งหมด หรือกดเลือก

All แล้วจึงกดเลือก View citation overview

Page 17: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

เมื่อทําการกดเลือกแล้วหน้าจอจะแสดงผล Citation Overview

หลังจากนั้นให้ทําการเรียงลําดับผลงานทั้งหมดจาก Sort on แล้วเลือก Citation count (desending) เมื่อ

เรียงลําดับเสร็จแล้ว ให้คลิกเลือกผลงานที่ไม่ได้รับการอ้างอิง หรือมีค่าการถูกอ้างอิงเท่ากับ 0 และผลงานที่

ไม่ได้ถูกอ้างอิงในช่วงปี ค.ศ. 2013 – 2017 จากนั้นให้กดปุ่ม Remove ซึ่งจะทําให้เหลือเพียงผลงานที่ต้องการ

Page 18: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

Sort on : Citation count (desending)

เลือกบทความที่ไม่ได้ถูกอ้างอิงในช่วงที่ต้องการ หรือมีค่าการอ้างอิงเท่ากับ 0

ทําการกดปุ่ม Remove

Page 19: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

จะได้ผลงานที่ต้องการ

หลังจากนั้นเราสามารถ export ข้อมูลมาใช้งาน โดยกดกดที่ปุ่ม Export มุมขวาบน จะข้ึนให้เลือก Drive เพ่ือ

ทําการ Save File ข้อมูล ในรูปแบบ CSV ซึ่งสามารถนําไปเปิดใช้งานด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ได ้

Page 20: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

- การรวบรวมข้อมูลผลงานด้วย Lists

เราสามารถบันทึกข้อมูลบทความทั้งหมดของอาจารย์ประจําหลักสูตรเพ่ือนํามาใช้งานใน

ภายหลังได้โดยใช้ฟังก์ชัน Lists จากข้อมูลผลงานทั้งหมดของอาจารย์ที่ทําการค้นหาไว้ ดังภาพ

ให้ทําการคลิกเลือกบทความทั้งหมดหรือกดปุ่ม All หลังจากนั้น ให้กดปุ่ม Save to List

Page 21: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

จากนั้นระบบจะข้ึนหน้าจอให้พิมพ์ชื่อ List ที่เราต้องการสร้างใหม่ หรือเพ่ิมข้อมูลใน List ที่มีอยู่เดิมก็ได้ ในที่นี้

เป็น List ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อกรอกชื่อแล้วจึงกด Save

เมื่อเราต้องการเรียกใช้งาน หรือเข้าไปจัดการ Lists ที่สร้างไว้ สามารถเข้าไปใช้งานได้ โดยคลิกที่แถบเมนู

Lists ด้านบน ก็จะแสดงผล Lists ที่เรามีท้ังหมดออกมาให้ใช้งาน

Page 22: เทคนิคการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัยใน ... · หมายถึง

การถ่ายทอดองค์ความรู้และน าองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

งานแผนและประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดกิจกรรมเพ่ือถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมให้

หลักสูตรต่างๆ นําองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลจํานวนผลงาน และจํานวนบทความที่ได้รับการ

อ้างอิง จากฐานข้อมูล Scopus เพ่ือใช้การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ขึ้น 2 ครั้ง ได้แก่

- ครั้งที่ 1 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 09.00-10.00 น. ณ ห้องประชุม

ภาควิชาจุลชีววิทยา ชั้น 7 อาคารวิทยาศาสตร์ 1 มีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผศ.ดร.เอกพันธ์

บางยี่ขัน, ผศ.ดร.ธนาพร ชื่นอ่ิม, น.ส.จิตรรดี ตันติคชาภรณ์, นายณรงค์ พูลแก้ว,

น.ส.บูรณลักษณ์ เกษร และ น.ส.อารีวรรณ เฉลิมชัย

- ครั้งที่ 2 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 11.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม

ภาควิชาฟิสิกส์ ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์ 3 มีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผศ.ดร.อิสระ มะศิริ,

ผศ.ดร.สุมามาลย์ บรรเทิง, ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ วัดตาล, น.ส.จิตรรดี ตันติคชาภรณ์, นาย

ณรงค์ พูลแก้ว, น.ส.บูรณลักษณ์ เกษร และ น.ส.อารีวรรณ เฉลิมชัย

ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรได้นําข้อมูลไปใช้ประกอบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับ

หลักสูตร ปีการศึกษา 2560