sufficiency economy: opening of the social space with...

21
Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with Discourse Analysis Panarach Preedakorn and Nared Wongsuwan http://eprints.utcc.ac.th/id/eprint/618 © University of the Thai Chamber of Commerce EPrints UTCC http://eprints.utcc.ac.th/

Upload: others

Post on 26-Dec-2019

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with

Discourse Analysis

Panarach Preedakorn and Nared Wongsuwan

http://eprints.utcc.ac.th/id/eprint/618

© University of the Thai Chamber of Commerce

EPrints UTCC

http://eprints.utcc.ac.th/

Page 2: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

219วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

ศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with Discourse Analysis

. . . . . . . . . . . . . . . . .

ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

E-mail: [email protected]

พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการกองอำนวยการศึกษา

กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ

บทความนี้ใช้วิธีการของการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) เพื่อเปิดเผยถึงความแยบยล

ของกระบวนการพัฒนาที่กดทับ/ปิดกั้นแนวทางการพัฒนาแบบอื่นๆ โดยทำให้แนวทางเหล่านั้น

กลายเป็น “ความเป็นอื่นของการพัฒนา” (Other Development) และทำให้ความพยายามสร้าง

แนวทางการพัฒนาที่เป็นทางเลือก (Development Alternative) แบบใหม่ๆ ในสังคมไม่สามารถ

หลุดพ้นไปจากกรอบของการพัฒนาแบบเดิมๆ ได้ นอกจากนั้น ยังต้องการนำเสนอแนวทางที่ใช้เป็น

กรอบของการเข้าช่วงชิงวาทกรรม (Counter-Discourse) ของวาทกรรมว่าด้วยปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง ที่จะเข้าไปปะทะกับชุดของวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยมที่ดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง

และเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการต่อสู้ช่วงชิงการนำทางสังคมให้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้

กระแสทุนนิยม

คำสำคัญ: เศรษฐกิจพอเพียง วาทกรรม การวิเคราะห์วาทกรรม

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

Page 3: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

220 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

บทนำ

การเคลื่อนตัวในการสร้างความรู้เพื่อวิเคราะห์

และแก้ปัญหาสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์

ในการมองความเป็นไปของสังคม ในแง่มุมที่

แตกต่างหรือในระดับที่ลึกซึ้งกว่าที่เคยเป็นมา เห็น

ได้ว่ า เมื่ อสังคมได้ เปลี่ ยนผ่านจากยุคทันสมัย

(Modern) สู่ยุคหลังทันสมัย (Postmodern) ก็มี

การพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาสังคมมา

โดยตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในรูป “เหล้าใหม่ในขวดเก่า”

หรือ “ใหม่ทั้งเหล้าและขวด” ดังเช่น Interpretivism,

Post-Structural ism, Cri t ical Theory,

Constructivism ในทำนองเดียวกัน แนวทางของ

“วาทกรรม” (Discourse) และ “การวิเคราะห์

วาทกรรม” (Discourse Analysis) ก็เป็นที่รู้จัก

และแพร่หลายมากขึ้น ในฐานะของวิธี วิทยา

(Methodology) ในสังคมยุคหลังทันสมัย ที่มี

การนำมาใช้ศึกษาปัญหาสังคม ไม่ว่าจะเป็นใน

ระดับปัจเจก ระดับชุมชน หรือระดับภาพรวมของ

ประเทศ

ในฐานะของวิธีวิทยา เป็นการยากที่จะนิยาม

“วาทกรรม” ให้มีความหมายที่มีเอกภาพในตัวเอง

โดยทั่วไปจะมีการนิยาม “วาทกรรม” ไว้ในขณะที่

กำลังใช้เพื่อการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางสังคม

ซึ่งอาจมีความหมายที่แตกต่างกันตามขอบเขต/

ประเด็นของการวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์นี้ ขอให้

นัยสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า “วาทกรรม” เพื่อให้เกิด

ความเข้าใจที่ตรงกันว่า “เป็นระบอบของการสร้าง

(Constitute) ความรู้ (Knowledge) ความจริง

(Truth) อัตลักษณ์ (Identity) และความหมาย

(Significance) ให้กับสิ่งต่างๆ ในสังคม โดย

กระบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นพร้อมกันกับปฏิบัติการ

ทางสังคม (Social Practices) ขณะเดียวกันก็เกิด

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ยึดติดมากับความรู้ต่างๆ

ที่ผลิตขึ้น และมีความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งต่างๆ

ที่ถูกผลิตขึ้น วาทกรรมเป็นมากไปกว่าหนทางของ

การคิดและการสร้างความหมาย แต่สามารถตรึงสิ่ง

ที่สร้างขึ้นให้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคม

ในวงกว้าง (Valorize) กลายเป็นวาทกรรมหลัก

(Dominant Discourse) ที่สามารถเก็บกด/ปิดกั้น

มิให้อัตลักษณ์และความหมายของบางสิ่งเกิดขึ้น

(Subjugate) และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็อาจจะ

ทำให้อัตลักษณ์และความหมายของสิ่งที่เคยดำรง

Abstract

This article has been analyzed by the discourse analysis approach. The result of this

approach can show the sophisticated mainstream development, which is dominated

by capitalism ideology. Moreover, this development enacts another development and

changes it into the other development. The benefit of discourse analysis is described

as the counter-discourse process, which opens another social space for the other

development. If the sufficiency economic philosophy is right for a capitalism society,

the counter-discourse process is the tool for opening a social space to exist in Thai

society.

Keywords: Sufficiency Economy, Discourse, Discourse Analysis

Page 4: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

221วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

อยู่ ในสังคมสูญหายไป (Displace)” (ไชยรัตน์

เจริญสินโอฬาร, 2542: 3-4; Weedon, 1987: 108)

การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis)

เป็นหนทางที่เข้าหาและคิดในเรื่องที่เป็นปัญหา

โดยที่วิธีวิทยานี้ ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าเป็นเชิง

คุณภาพหรือเชิงปริมาณ เพราะการวิเคราะห์วาท-

กรรมมิได้ให้คำตอบที่จับต้องได้ต่อปัญหาที่มีพื้นฐาน

บนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่จะทำให้ผู้ศึกษา

เข้าถึงข้อสมมติเชิงภววิทยา (Ontological) และ

ญาณวิทยา (Epistemological) ที่อยู่เบื้องหลัง

ประเด็นปัญหานั้นๆ*

การนำวาทกรรมมาศึกษา “เศรษฐกิจพอเพียง”

ในที่นี้ หลีกไม่พ้นที่จะต้องเปิดประเด็นด้วยการ

วิเคราะห์วาทกรรม “การพัฒนาประเทศ” ทั้งนี้

เพื่อคลี่คลาย/เปิดเผย ให้เห็นถึงความแยบยลของ

กระบวนการพัฒนากระแสหลัก ที่กดทับ/ซ่อนเร้น/

ปิดกั้น แนวทางการพัฒนาแบบอื่นๆ โดยทำให้

แนวทางเหล่านั้นกลายเป็น “ความเป็นอื่นของการ

พัฒนา” (Other Development) เมื่อเป็นเช่นนี้

ความพยายามสร้างแนวทางการพัฒนาที่เป็นทาง

เลือก (Development Alternative) แบบใหม่ๆ ขึ้น

มาในสังคม เช่น การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustain-

able Development) ลัทธิบริโภคนิยมในรูปการ

บริโภคสีเขียว (Green Consumerism) และ

แนวทางอื่น จึงไม่มีทางหลุดพ้นไปจากกรอบของ

การพัฒนากระแสหลักไปได้

ด้วยเหตุที่การวิเคราะห์นี้ ใช้แนวทางของ

วาทกรรม สิ่งที่ปรากฏในบทความนี้จึงมิใช่คำนิยาม

ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ได้ศึกษาเพื่อให้เข้าใจ

ถึงแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ต้อง

การนำเสนอหนทางที่ใช้เป็นกรอบของการเข้าช่วง

ชิงวาทกรรม (Counter-Discourse) ระหว่างวาท-

กรรมว่าด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะเข้าไป

ปะทะกับชุดของวาทกรรมภายใต้กระบวนการทาง

เศรษฐศาสตร์ที่มีอุดมการณ์ทุนนิยมกำกับอยู่อย่าง

แข็งแกร่ง และเพื่อให้เข้าใจถึงการต่อสู้ช่วงชิง

การนำทางสังคมให้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ภายใต้กระแสทุนนิยม จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจ

กับกระบวนการของการวิเคราะห์วาทกรรม ในการ

เปิดเผยตัวตนที่ดำรงอยู่ของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

และทำให้เห็นหนทางในการช่วงชิงการนำทางสังคม

ซึ่งหมายถึงการช่วงชิงการนำเพื่อเป็นวาทกรรมหลัก

(Dominant Discourse) ของปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง โดยการวิเคราะห์วาทกรรมมีหลักการที่

เป็นสาระสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ที่ต้องทำการ

วิเคราะห์ ได้แก่ อุดมการณ์ที่กำกับวาทกรรมนั้น

ภาคปฏิบัติการของวาทกรรมที่นำพาเอาเจตจำนง

ของอุดมการณ์ไปสู่การควบคุมจัดการวิถีชีวิตผู้คน

ในสังคม และการจัดระเบียบกับสรรพสิ่งเพื่อสร้าง

ตัวตนและอัตลักษณ์ภายใต้กระบวนการทางวาท-

กรรม

* Egon G. Guba เสนอทัศนะไว้ใน The Paradigm Dialog (ค.ศ. 1990) ว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) หรือ ระบบความเชื่อพื้นฐาน

มีโครงสร้างหลัก 3 ประการ คือ 1) ภววิทยา (Ontology): อะไรคือ ธรรมชาติของความรู้ความจริง 2) ญาณวิทยา (Epistemology):

อะไรคือ ธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างผู้แสวงหาความรู้ความจริง และความรู้ความจริง และ 3) วิธีวิทยา (Methodology):

ผู้แสวงหาความรู้ความจริงควรจะแสวงหาความรู้ความจริงอย่างไร คำถาม 3 ข้อ ในโครงสร้าง 3 ประการดังกล่าว สามารถตอบได้

แตกต่างกันไปหลายประการ และคำตอบนั้นจะเป็นตัวกำหนดในการแสวงหาความรู้ความจริงของแต่ละกระบวนทัศน์ ทั้งนี้เราไม่อาจ

จะตัดสินได้ว่าคำตอบใดเป็นคำตอบที่ผิดหรือถูกต้อง

Page 5: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

222 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

โดยที่วัตถุประสงค์ในการนำเสนอบทความนี้

ต้องการคลี่คลายให้เห็นถึงกระบวนการช่วงชิงวาท-

กรรม โดยใช้วิธีวิทยาของการวิเคราะห์วาทกรรม

การนำเสนอจึงเริ่มต้นจากตัวอุดมการณ์ ความรู้ที่

ถูกกำกับด้วยอุดมการณ์ เทคโนโลยีของอำนาจ

ความรู้ และการเข้าไปจัดระเบียบแบบแผนของ

วาทกรรมด้วยการสร้างอัตลักษณ์ให้เป็นไปตาม

เจตจำนงที่อยู่ในอุดมการณ์ของวาทกรรมนั้นๆ และ

ท้ายที่สุด จึงนำเสนอกระบวนการเข้าช่วงชิงการนำ

ทางสังคมของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหนทางของ

วาทกรรม เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้กับ

เศรษฐกิจพอเพียง

วาทกรรมการพัฒนากับการกำหนดบริบท

ของสังคมไทย

การสืบค้นในเรื่องของวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับ

การพัฒนา (Development Discourse) เป็น

หนทางที่จะเปิดมุมมองใหม่เพื่อเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า

“กระบวนการพัฒนาประเทศ” โดยการตั้งคำถาม

ว่าการพัฒนาที่ผ่านมาสร้างความเป็นตัวตนขึ้นมา

ได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดการยอมรับกันอย่างเป็นปกติ

ว่า การพัฒนาประเทศ “จำเป็น” ต้องเดินตาม

แนวทางของประเทศต้นแบบของประเทศที่เรียก

ตนเองว่า “ประเทศพัฒนาแล้ว” กำหนดให้

เป็นที่ประจักษ์ว่าการพัฒนาที่ผ่านมาของ

ประเทศไทย ถูกชี้นำด้วยแนวทางการพัฒนาแบบ

ตะวันตกซึ่งมิใช่กระบวนการทางสังคมที่มีความตรง

ไปตรงมาแต่ประการใด ดังเช่น แนวคิดตามทฤษฎี

ของ Rostow ระบุว่า การพัฒนาต้องเป็นไปอย่างมี

ลำดับขั้นตอน หรือการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ

ทางเศรษฐศาสตร์ของสำนัก Classic และ Neo-

Classic หรือกระทั่งความรู้ที่นักเศรษฐศาสตร์นิยม

ใช้ คือ แนวทางเศรษฐศาสตร์ของสำนักเคนส์

(Keynesian) ด้วยเหตุที่แนวทางทางเศรษฐศาสตร์

เหล่านี้ ยังมิได้มีมิติของการวิเคราะห์อย่างลงลึกถึง

กระบวนการผลิตความรู้และอำนาจ ที่เป็นแง่มุมที่

นักสังคมศาสตร์ยุคหลังทันสมัยให้ความสนใจ โดย

นัยนี้ “การวิเคราะห์วาทกรรม” จึงอยู่ในฐานะของ

วิธีวิทยาที่สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างความเข้าใจ

เบื้องลึกของการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาที่มี

ความสลับซับซ้อนและมีหลายระดับ

ความเป็นวาทกรรม (Discursivity) ของสิ่งที่

เรียกว่า “การพัฒนา” จะต้องมีภาคปฏิบัติการของ

วาทกรรม (Discursive Practices) เกิดควบคู่กัน

ไปเสมอ โดยภาคปฏิบัติการวาทกรรมนี้ มีได้หลาย

ลักษณะและอยู่รายรอบทั่วไปภายในสังคม ได้แก่

การเรียน/การสอนเกี่ยวกับการพัฒนา ศูนย์ศึกษา

เกี่ยวกับการพัฒนา แหล่งเงินทุน สถาบัน องค์การ

หน่วยงานทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ที่ทำ/คิด/

เขียน/พูด/วิเคราะห์ เกี่ยวกับการพัฒนา กระบวนการ

บริหารจัดการโดยองค์กรต่างๆ ทางสังคม ไม่ว่าจะ

เป็นระบบธนาคารพาณิชย์ ระบบสินเชื่อ กลไก

ตลาด ซึ่งรวมถึงวิธีการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ

แบบใหม่ เป็นต้นว่าการจัดตั้งเขตการค้าเสรีที่กำลัง

เป็นกระแสหลักของการทำธุรกิจข้ามชาติ สิ่งเหล่านี้

ล้วนชี้ว่ากระบวนการทางวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์

ทุนนิยมได้สร้างความจริง (Truth) ว่ามีความจริง

เพียงหนึ่ งเดียวที่ เหมาะสมสำหรับการพัฒนา

ประเทศ คือ การดำรงอยู่ ในกระแสทุนนิยมเป็น

สำคัญ หากประเทศ/สังคมใดจะเปลี่ยนแปลงหรือ

เปิดพื้นที่ทางสังคมใหม่แล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ

ต้องสร้างความจริงชุดใหม่ขึ้นมาเพื่อเข้าแทนที่

วาทกรรมชุดเดิม มิฉะนั้นแล้วอำนาจของวาทกรรม

ชุดเดิม ดังเช่นอุดมการณ์ทุนนิยมก็จะลงโทษ

(Punishment) ต่อประเทศ/สังคมเหล่านั้น ด้วย

Page 6: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

223วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

กลไกเชิงอุดมการณ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การ

ยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้า การกีดกันทางการค้า

หรือการย้ายฐานการผลิตของบรรษัทข้ามชาติ

เป็นต้น

สิ่งสำคัญของอำนาจวาทกรรม ก็คือ การสร้าง

ความจริงให้เกิดขึ้น และทำให้ปัจเจกบุคคล ชุมชน

และสังคม ยอมรับเอาความจริงนั้นไปใช้ในวิถีชีวิต

โดยปราศจากข้อสงสัย ทั้งนี้ภายใต้แง่คิดของ

วาทกรรม ความจริงดังกล่าวอาจจะเป็นเพียงระบอบ

ของความจริงชุดหนึ่ง (Regime of Truth) ที่ถูกสร้าง

ขึ้น (Constitute) ภายใต้อำนาจของวาทกรรม

(Discourse) ชุดหนึ่ง ที่กำลังต่อสู้กับวาทกรรมอีก

ชุดหนึ่ง โดยที่การต่อสู้ดังกล่าวอาจมีอุดมการณ์หรือ

เจตจำนงบางอย่างอยู่เบื้องหลังวาทกรรมเหล่านี้

สำหรับวาทกรรมทุนนิยมก็เช่นกัน อำนาจของวาท-

กรรมทำให้สังคมยอมรับเอาเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี

เข้าไปใช้ในชีวิตอย่างเป็นปกติทั่วไป แต่เบื้องหลัง

ของวาทกรรมแสดงให้เห็นว่าได้ผ่านกระบวนการ

ต่อสู้เชิงวาทกรรมของระบบทุนนิยมที่เกิดขึ้นไม่ว่า

กับวาทกรรมชุดใดๆ สำหรับประเทศไทย การพัฒนา

ที่ผ่านมาปรากฏให้เห็นว่า สิ่งที่วาทกรรมภายใต้

อุดมการณ์ทุนนิยมกระทำความรุนแรงกับสังคมไทย

อย่างเป็นรูปธรรม ได้ก่อเกิดเป็นปัญหาต่างๆ ที่

สังคมกำลังเผชิญหน้าอย่างเป็นปกติ ในวิถีชีวิตแบบ

ทุนนิยมสมัยใหม่

ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทย

ได้ถูกกระบวนการทางวาทกรรมของการพัฒนาไปสู่

ความทันสมัย (Modernizat ion) ครอบงำ

(Hegemony) กระบวนทัศน์ (Paradigm) การ

พัฒนาประเทศ โดยปิดกั้น/กดทับ/แทนที่/สวมรอย

วัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศ

ไว้ ภายใต้เอกลักษณ์/ตัวตนที่เรียกว่า “ความด้อย

พัฒนา” ประเด็นสำคัญ คือ การพัฒนาภายใต้

วาทกรรมดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนา

ด้วยการสร้างภาวะทันสมัยทางเศรษฐกิจ (Economic

Modernization) ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการปรับ

เปลี่ยนการผลิตของชนบทไทยให้เป็นไปเพื่อการค้า

ด้วยอำนาจของความรู้ในการพัฒนาประเทศภายใต้

ทฤษฎีภาวะทันสมัย รัฐได้สร้างภาคปฏิบัติการของ

วาทกรรม (Discursive Practices) ที่หลากหลาย/

มากมาย ในกรอบของกระบวนทัศน์การพัฒนา

เดียวกัน ภาคปฏิบัติการที่มีความสำคัญยิ่ง ก็คือ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่างๆ

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ที่ถือได้ว่าเป็น

การเปลี่ยนแปลงเพื่อการมุ่งสู่ความเป็นสังคมแบบ

ตะวันตก ซึ่งเป็นอำนาจของวาทกรรมภายใต้

อุดมการณ์ทุนนิยม และส่งผลให้เกิดการสร้างกฎ

เกณฑ์และแบบแผนต่างๆ ที่สอดรับกับแนวทางที่

กำหนด โดยมุ่งหวังให้ภาคปฏิบัติการต่างๆ (เช่น

องค์ความรู้ นโยบาย สถาบัน) เป็นตัวกระตุ้น

ส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานอย่างพอเพียงที่จะ

รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้กว้างขวางและ

เชื่อมโยงหลายสาขา รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนใน

ด้านต่างๆ นอกเหนือจากนั้น วาทกรรมดังกล่าวยัง

ได้สร้างความซับซ้อนให้กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

มากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีการแบ่งงานกันทำ

เฉพาะในส่วนที่ตนถนัด อันนับได้ว่าเป็นอำนาจ

อันแยบยลของวาทกรรมและอุดมการณ์ทุนนิยม ที่

สามารถจัดระเบียบแบบแผนให้กับการผลิตของ

ชนบทไทย โดยเฉพาะการก่อให้เกิดการประกอบ

อาชีพที่ ไม่ต้องมีความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพากันมาก

ขึ้น เช่น การปลูกพืชที่อาจเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

ในช่วงเวลาที่ตลาดมีความต้องการสูง ราคาดี ซึ่ง

การจัดระเบียบดังกล่าว ในบางครั้งได้สร้างปัญหา

ให้กับชนบทไทยจากการที่ราคาพืชผลตกต่ำ โดย

Page 7: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

224 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

คำอธิบายของระบบทุนนิยมอย่างเป็นเรื่องธรรมดา

ก็คือ เป็นความล้มเหลวของกลไกราคาซึ่งรัฐอาจเข้า

แทรกแซงเพื่อช่วยเหลือได้ เห็นได้ว่าแนวทางแก้

ปัญหาเช่นนี้ของรัฐ ก็คือ บ่วงแรกของการพัฒนา

แบบทุนนิยม ที่ทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่

สามารถพึ่งพาตนเองและชุมชนของตนเองต่อไปได้

ต้องรอระบบอุปถัมภ์โดยรัฐ และต้องจำนนต่อ

แนวทางกำกับความเป็นตัวตน ที่กำหนดให้ชนบท

แสดงบทบาทเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สร้างส่วนเกิน

(Surplus) เพื่อการส่งออก เพื่อให้มีเงินมาลงทุน

ในภาคอุตสาหกรรม ชนบทไทยจึงเสมือนเป็นส่วน

ประกอบเล็กๆ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ (Exploited

Community) เป็นชุมชนทางสังคมที่ ไม่สามารถ

ดำรงอยู่ได้อย่างอิสระ (Autonomy) ต้องสยบยอม

ต่อวาทกรรมการพัฒนาโดยสิ้นเชิง

นอกจากนั้น ภายใต้วาทกรรมของการพัฒนา

ประเทศในรูปแบบที่เป็นอยู่ กลไกเทคโนโลยีของ

อำนาจได้สร้างความจริง (Truth) ให้เห็นว่าภาค

เกษตรกรรมของไทยกลายเป็นส่วนที่ล้าหลังหรือ

ด้อยคุณค่า โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณาง่ายๆ จากการ

ที่มีรายได้ต่ำ ขาดความรู้ ไม่มีเงินทุน แต่มีแรงงาน

ไร้การศึกษาส่วนเกินอยู่มาก การกดทับชนบทไทย

เช่นนี้ สร้างช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างกันมาก

ระหว่างคนที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นผู้ยากไร้

กับกลุ่มทุนอุตสาหกรรมในเมือง

ผลลัพธ์ของการพัฒนาประเทศ ยังสะท้อนให้

เห็นถึงการจัดการที่ก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งเกิดจากการ

ที่รัฐพยายามสนับสนุนให้ภาคเกษตรกรรมขยาย

การเพาะปลูกพืชเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจาก

องค์ความรู้ต่างๆ ภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยม ที่เข้าไป

ควบคุมจัดการกับการผลิตของชนบทไทย จนทำให้

เกิดกำไรอย่างมากกับบริษัทค้าพืชผลทางการเกษตร

และเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ไม่กี่กลุ่ม ในขณะที่

เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ตกอยู่ในวัฏจักรหนี้สิน

ความยากจน และการสูญเสียที่ดินทำกิน ต้องกลาย

เป็นแรงงานรับจ้างราคาถูกตามโรงงานในเขตเมือง

เมื่อชนบทมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมเมืองมากขึ้น ก็เริ่ม

ก่อรูปวาทกรรมบริโภคนิยม อันเป็นสนามวาทกรรม

หนึ่งที่รองรับอุดมการณ์ทุนนิยม ส่งผลให้ความ

ต้องการรายได้ที่เป็นตัวเงินในรูปแบบต่างๆ เพิ่ม

มากขึ้น และยิ่งดึงดูดแรงงานชนบทเข้าสู่กลไก

ตลาดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

อุดมการณ์: จุดเริ่มต้นของการช่วงชิง

วาทกรรม

กระบวนการทางเศรษฐกิจใดๆ ก็ตาม สิ่งที่จะ

บอกทิศทางของการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้นั้น ตัว

อุดมการณ์จะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ดังเช่นอุดมการณ์

ทุนนิยมที่กลายเป็นกระแสหลักของโลกได้นำพา

ทิศทางเศรษฐกิจของโลกไปสู่เป้าหมายสูงสุดของ

ทุนนิยม ซึ่งก็คือ ความมั่งคั่งของชาติ ดังแสดงไว้ใน

หนังสือ The Wealth of Nations ของ Adam

Smith ที่ถือเป็นแม่บทใหญ่ของการเปลี่ยนแปลง

สังคมโลก อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย

อาจไม่ ได้ตั้งคำถามกับประเด็นของอุดมการณ์

มากนัก ซึ่งต่างไปจากแนวคิดของสังคมศาสตร์

ยุคหลังทันสมัยที่จะต้องเริ่มต้นตั้งคำถามแรกก่อน

ว่าอะไรคืออุดมการณ์ของวาทกรรมนั้นๆ ทั้งนี้ ใน

แง่คิดของการวิเคราะห์วาทกรรมแล้ว อุดมการณ์

หมายถึง “ระบบของความคิด ระบบภาพตัวแทน

(Representation) ที่มีหน้าที่ในการสร้างลักษณะ

เฉพาะต่างๆ ซึ่งอุดมการณ์มักจะผันแปรไปตาม

สภาพสังคมในแต่ละขณะ และนอกจากนั้นอุดมการณ์

ยังมีความเชื่อมโยงถึงระบบความคิดกลุ่มต่างๆ ทาง

สังคม โดยยึดถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่จะต้องให้ความ

สนใจและเป็นที่ยอมรับกัน โดยระบบความคิดกลุ่ม

Page 8: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

225วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

ต่างๆ เหล่านี้ ถูกทำให้เป็นเรื่องปกติธรรมดา

(Naturalize) ด้วยการให้ความหมาย (meaning)

และการสร้างคุณค่า (Values) ที่ซึมซาบอยู่ ใน

สามัญสำนึก (Commonsense) ของสังคมโดยรวม

ประการสำคัญต่อมา ก็คือ อุดมการณ์ยังคงดำรง

รักษาระเบียบ กฎเกณฑ์ (Disciplinary) ด้วยอาศัย

การศึกษาที่มีแบบแผน ดังเช่น การศึกษาในระบบ

โรงเรียน รวมถึงการศึกษาในรูปแบบอื่นๆ เช่นการ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้กระบวนการ

ทางการศึกษาเข้าไปควบคุมผู้คนในสังคมให้มี

พฤติกรรม ทัศนคติ เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ

สถาบันหรือที่สังคมโดยรวมกำหนดขึ้น ภายใต้

เจตจำนงของอุดมการณ์นั้นๆ” (อัลธูแซร์, 2529:

17; Danaher, Schirato, and Webb, 2000: xii,

100)

ตามแนวคิดดังกล่าว พบว่า อุดมการณ์ทุนนิยม

ได้ถูกส่งผ่านเข้าสู่สังคมไทยด้วยกลไกทางการศึกษา

ในหลายรูปแบบ จนทำให้ผู้คนในสังคมมีทัศนคติ

และวิธีคิดที่อิงอยู่กับเจตจำนงของอุดมการณ์

ทุนนิยม ดังนั้น การเข้าต่อสู้ช่วงชิงการนำทางสังคม

ด้วยแนวทางอื่น ดังเช่นแนวทางของปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยกระบวน

การทางการศึกษา เพื่อสร้างทัศนคติของผู้คนให้เข้าใจ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ ได้ ดังเช่นที่อุดมการณ์

ทุนนิยมได้เข้าช่วงชิงการนำในสังคมไทย มาเกือบ

50 ปี นอกเหนือกว่านั้น การผลิตซ้ำ (Reproduction)

อุดมการณ์นับเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งที่

ทำให้อุดมการณ์ของทุนนิยมดำรงอยู่ ประเด็น

ดังกล่าวเห็นได้จากผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ

ของระบบทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็น ค่าจ้าง ค่าเช่า

ดอกเบี้ย กำไร หรือแม้แต่ผลตอบแทนจากการเก็ง

กำไรในตลาดหุ้นที่แม้ว่าจะไม่เป็นการสร้างมูลค่า

เพิ่มทางเศรษฐกิจ (Value Added) ก็ตาม ล้วนเป็น

ปัจจัยสำคัญในการผลิตซ้ำและตอกย้ำการดำรงอยู่

ของอุดมการณ์ทุนนิยม จึงเป็นความยากของ

วาทกรรมชุดอื่นในการจะเข้ามาเปิดพื้นที่ทางสังคม

ดังเช่นความพยายามเข้าต่อสู้ช่วงชิงของปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง ที่จำเป็นจะต้องวางแนวทางของ

การผลิตซ้ำตัวอุดมการณ์ให้ ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้การ

ที่ปัจเจกบุคคล ชุมชน สังคม รวมถึงทิศทางการ

พัฒนาประเทศ ที่กำลังเดินตามอุดมการณ์ทุนนิยม

อยู่นั้น เป็นการเดินทางตามความจริงที่วาทกรรม

ภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยมได้สร้างขึ้นทั้งสิ้น ภายใต้

กรอบคิดของการวิเคราะห์วาทกรรม เรียกภาวการณ์

ดังกล่าวนี้ว่า “การดำเนินการตามความเป็นจริง”

(Act of Truth) นอกจากนั้น การผลิตซ้ำของ

อุดมการณ์ทุนนิยมในสังคมไทย ก็มิได้เกิดจาก

กระบวนการทางตรงที่เป็นการผลิตซ้ำในมิติทาง

เศรษฐกิจเท่านั้น แต่อาจจะเกิดจากกระบวนการ

ทางอ้อมที่เป็นมิติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสังคม

หรือมิติทางการเมือง ซึ่งต่างก็สนับสนุนส่งเสริมให้

ตัวอุดมการณ์มีความแข็งแกร่งและดำรงอยู่ และ

ทำให้การเข้าช่วงชิงการนำของวาทกรรมชุดอื่นๆ

เช่น วาทกรรมว่าด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น (นเรศน์

วงศ์สุวรรณ, 2547: 10)

สนามของวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์

ทุนนิยม

อุดมการณ์ทุนนิยมที่ประกาศชัยชนะเหนือ

อุดมการณ์อื่นๆ ของสังคมไทย มิได้ดำรงอยู่ด้วย

วาทกรรมเพียงเรื่องใดเรื่องเดียว แต่เพื่อแสดง

ความแยบยลในการสร้างตัวตนและการดำรงอยู่

อย่างแนบเนียนของอุดมการณ์ทุนนิยม จึงมีการ

สร้างสนามของวาทกรรม (Discursive Field) ที่

สอดรับกับวาทกรรมทุนนิยม เป็นกลุ่มวาทกรรมที่มี

Page 9: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

226 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

ความสัมพันธ์กันและปฏิบัติการร่วมกัน จนทำให้

ผู้คนในสังคมไม่สามารถหลุดพ้นจากพันธนาการ

การครอบงำของระบบทุนนิยม วาทกรรมภายใต้

อุดมการณ์ทุนนิยมที่สำคัญ ได้แก่ วาทกรรม

การผลิตเพื่อการค้า/เพื่อแสวงหากำไร และ

วาทกรรมบริโภคนิยม/วัตถุนิยม ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่อง

สำคัญต่อการวิเคราะห์ถึงการเข้าช่วงชิงวาทกรรม

(Counter-Discourse) ระหว่างวาทกรรมทุนนิยมที่

เป็นวาทกรรมหลักของสังคม กับวาทกรรมเศรษฐกิจ

พอเพียงซึ่งถือว่าเป็นวาทกรรมรอง

วาทกรรมการผลิตเพื่อการค้า: ลดความ

หลากหลาย ลดการพึ่งพาตนเอง

ภายใต้วาทกรรมทุนนิยม ปรากฏการณ์ที่เด่น

ชัดในการดึงชุมชนเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อการค้า

และกลไกตลาดแบบสมัยใหม่ ก็คือ การอาศัย

องค์ความรู้ต่างๆ ที่สร้างความจริง (Reality) ให้

เห็นว่า การผลิตเพื่อการค้ามีความเหมาะสมที่จะนำ

มาใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยผ่านภาคปฏิบัติการ

ของวาทกรรม ไม่ว่าจะเป็น ชุดความรู้ การสร้าง

เขื่อน การตัดถนน การกระตุ้นให้ใช้พืชพันธุ์ส่งเสริม

แหล่งเงินทุน การใช้สินค้าทุนสมัยใหม่ ฯลฯ และ

กลไกที่ทำให้ระบอบของความจริงซึ่งว่าด้วยการผลิต

เพื่อการค้าเกิดขึ้นได้ คือ “ความรู้” (Knowledge)

โดยที่ความรู้เหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้วาทกรรมการผลิต

เพื่อการค้า และถูกกำกับด้วยอุดมการณ์ทุนนิยม

จนสร้างเป็นความจริงให้เกิดขึ้น พร้อมกันนั้น

ความรู้ภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยม ก็จะต้องกดทับ/

ปิดกั้นองค์ความรู้ชุดอื่นๆ ที่มีอยู่เดิมในสังคม โดย

เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ ใช้

ในวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม ความรู้ของการผลิต

เพื่อดำรงชีพ และความรู้ที่ว่าด้วยเศรษฐกิจแบบ

พอเพียง ซึ่งในที่สุดแล้วความรู้อื่นๆ เหล่านี้ ได้

กลายเป็นสิ่ งที่ล้าหลัง ไม่ เหมาะสม และไม่

สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่นของตนเอง

อีกต่อไป แนวคิดดังกล่าวนี้ ในภาษานักสังคมวิทยา

ยุคหลังทันสมัย (Postmodern Era) เช่น Michel

Foucault เรียกว่า เป็นการสร้างความเป็นอื่น

(Others) ขึ้นในสังคม ในขณะเดียวกันความรู้ที่ถูก

ทำให้เป็นความจริงดังกล่าว ยังได้ทำการตอกย้ำ/

ผลิตซ้ำ (Enact) ให้เห็นว่า สังคมไทยทุกส่วนมี

ความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องยอมรับเอาแนวทาง

ของการผลิตเพื่อการค้าเป็นวิถีทางหลักที่เหมาะสม

ในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ

อุดมการณ์ทุนนิยมถือเป็นอุดมการณ์หลักสำคัญ

เบื้องหลังของการผลิตเพื่อการค้า และตัวอุดมการณ์

ยังส่งผลให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ต่างๆ โดย

เฉพาะความรู้เชิงประยุกต์วิทยามารองรับต่อการ

ผลิตเพื่อการค้า ซึ่งความรู้เหล่านี้ มีอำนาจอย่าง

ชอบธรรมในการควบคุมจัดการกับการผลิต ทั้งนี้

กระบวนการผลิตเพื่อการค้าที่เกิดขึ้นดำเนินการ

โดยอาศัยเทคโนโลยีของอำนาจ (Technology of

Power) ซึ่งเป็นการใช้ศาสตร์ในสาขาต่างๆ เพื่อ

สร้างระบอบของความจริง (Regime of Truth)

อันเกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อการค้า จนทำให้เกิด

การจัดระเบียบแบบแผนการผลิตที่ เป็นไปตาม

อุดมการณ์ทุนนิยมในระดับที่มีอำนาจครอบงำ

ทุกส่วนของสังคม แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวได้

สร้างผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะต่อชุมชนชนบท

มากมาย แต่ชุมชนชนบทก็ยังคงยอมรับอำนาจ

การครอบงำดังกล่าว จนไม่สามารถมองเห็นถึง

กระบวนการทางเศรษฐกิจที่มีความเป็นอื่นหรือมี

ความแตกต่างจากที่เป็นอยู่ ทั้งมิได้มองเห็นว่า

กระบวนการผลิตดังกล่าวได้สร้างความแปลกแยก

ไปจากชีวิตเดิมในลักษณะใด และลดความหลาก

หลายของชีวิตลงไปอย่างไร

Page 10: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

227วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

วาทกรรมบริโภคนิยม: อำนาจของระบบ

ทุนนิยมที่ทำให้ความพอเพียงหมดนัยสำคัญ

ภายใต้การครอบงำของอุดมการณ์ทุนนิยม

วาทกรรมทุนนิยมยังได้ผลิตความเชื่อให้กับชีวิตของ

ผู้คนไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนใดของสังคม ในด้านการ

ตัดสินคุณค่าชีวิตทั้งของตนเองและของคนอื่นๆ

โดยใช้องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง คือ วิถีทาง

ที่บุคคลบริโภค ซึ่งประเมินบุคคลด้วยคุณค่าเชิง

วัตถุนิยม อันมีอุดมการณ์ทุนนิยมเป็นฐานราก ทั้งนี้

ความเชื่อดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากธรรมชาติของ

ระบบทุนนิยมเอง ที่สนับสนุนประสิทธิภาพของการ

ผลิต จึงพยายามเน้นการผลิตจำนวนมากเพื่อให้เกิด

การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)

เมื่อมีผลผลิตออกมาล้นตลาด (Over Supply) ก็

จำเป็นที่จะต้องสร้างความต้องการเทียมและความ

พึงพอใจในการบริโภคขึ้นมา โดยการผลิต “มายา

คติ” (Myth) ว่าด้วยการบริโภคเพื่อก้าวข้ามชนชั้น

ทางสังคม ซึ่งหมายถึง การบริโภคในรูปแบบที่อยู่

ภายใต้ความเชื่อว่าจะสามารถยกระดับตัวเองให้

ก้าวสู่ชนชั้นที่สูงขึ้นในสังคม กระบวนการสร้าง

ความต้องการเช่นนี้เกิดขึ้นโดยผ่านภาคปฏิบัติการ

ของวาทกรรมบริโภคนิยม เช่น ใช้โฆษณาที่เข้มข้น

การขายตรง สถาบันทางเศรษฐกิจที่พัฒนาเพื่อเอื้อ

ต่อบริโภคนิยม ได้แก่ การให้สินเชื่อเพื่อบริโภค การ

ใช้บัตรเครดิต ฯลฯ และด้วยการสร้างสัญญะ

(Sign) ในการบริโภคโดยให้ความรู้ที่เกี่ยวกับรสนิยม

และแบบแผนชีวิต (Life Style) จากการจำแนก

ความหลากหลายให้กับการบริโภคเพื่อเพิ่มความ

ต้องการซื้อ เช่น การแต่งกาย ก็ต้องจำแนกเครื่อง

แต่งกายตามวาระให้เหมาะกับการกระทำกิจกรรมที่

แตกต่าง การจัดประเภทของอาหารเพื่อให้บุคคลมี

การแยกแยะและเลือกบริโภคมากกว่าที่ธรรมชาติ

กำหนด การสร้างให้พิธีกรรมการแต่งงานกลายเป็น

เรื่องการบริโภคที่มีแบบแผนแบบเป็นทางการ ใน

ขณะเดียวกัน ภาคปฏิบัติการของวาทกรรมก็ได้กด

ทับ/ปิดกั้นความเป็นธรรมชาติหรือการบริโภคที่มี

ความพอเพียง ด้วยแนวทางต่างๆ เช่น การสื่อสาร

ที่ชี้ว่าสิ่งที่ผิดไปจากแบบแผนนั้นมี “ความเป็นอื่น”

โดยการตำหนิ ดูถูก จัดให้อยู่ในฐานะที่ต่ำต้อยกว่า

ไม่ว่าจะตั้งใจ ไม่ตั้งใจ หรือบางครั้งเป็นเรื่องที่สื่อ

ออกมาโดยไม่รู้ตัว

จะเห็นได้ว่า วาทกรรมบริโภคนิยมผลิตความ

หลายหลายให้กับสินค้าเพื่อเพิ่มความต้องการและ

ยอดขาย แต่กลับลดทอนความหลากหลายของ

สรรพสิ่งภายใต้การดำรงชีวิตอยู่อย่างสามัญ ให้มุ่งสู่

การมีอัตลักษณ์ตามข้อกำหนดของสัญญะ (sign)

ต่างๆ และเป็นที่สังเกตว่าวาทกรรมบริโภคนิยมได้

กำหนดความหมายร่วมให้กับคนในสังคมหนึ่งๆ โดย

ยัดเยียดสิ่งหล่านี้เข้าไปในวัตถุ อันแสดงให้เห็น

ความแยบยลอย่างยิ่งของวาทกรรมบริโภคนิยม

เพราะสิ่งสำคัญภายใต้อิทธิพลของการสร้างสัญญะ

(sign) ก็คือ ทำให้สามารถขายสินค้าได้ และทำให้

สินค้านั้นๆ เป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในชีวิต

ภาคปฏิบัติการที่สำคัญของวาทกรรมบริโภค

นิยมที่สมควรถูกกล่าวถึง ก็คือ กระบวนการทำให้

เป็นสินค้า (Commodification) ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่

เป็นกลไกผลิตซ้ำของระบบทุนนิยม ที่จะกระตุ้น

วิถีชีวิตของการจับจ่ายซื้อจากสิ่งที่ ไม่เคยต้องซื้อ

เพราะเบื้องต้นจะต้องหาทางให้สรรพสิ่ งผ่าน

กระบวนการทำให้เป็นสินค้าเสียก่อน หลังจากนั้น

การทำงานของภาคปฏิบัติการอื่นๆ ของวาทกรรมก็

จะเร่งรัดในการสร้างความต้องการบริโภคเป็นลำดับ

ต่อไป หากพิจารณาระบบเศรษฐกิจในอดีตที่ดำรง

อยู่ภายใต้อุดมการณ์พึ่งพาตนเอง จะเห็นได้ว่ามี

หลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เคยมีการซื้อขายโดยเฉพาะ

Page 11: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

228 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

ในเรื่องของ “บริการ” ที่เราเริ่มรู้จักก็ต่อเมื่อสิ่ง

เหล่านี้ ได้เข้าสู่กระบวนการทางการตลาดแล้ว

เท่านั้น เพราะในสมัยก่อนโดยเฉพาะในวิถีชุมชน

ชนบท การขอแรงซึ่งกันและกันเป็นวัฒนธรรม

ดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญของสังคมไทยไม่ว่า

จะเป็นในการทำนา การสร้างบ้าน โรงเรียน หรือวัด

การเป็นธุระให้กันในการจัดงานพิธีกรรมต่างๆ ต่อ

เมื่อได้มีการสร้างค่าของเวลาให้เกิดเป็นตัวเงินผ่าน

สิ่ งที่ เรียกว่า “ค่าเสียโอกาส” และการได้ผล

ตอบแทนที่ต้องเทียบค่าได้ด้วยมูลค่าตลาด ทำให้

บริการต่างๆ ถูกผลิต/สร้างให้เป็นสินค้า แม้แต่

อัตลักษณ์บางประการของบุคคล เช่น ภาพ เสียง

ลักษณะ สัดส่วน ก็สามารถนำมาใช้เป็นสินค้าที่อาจ

ขายในตลาดได้เช่นกัน เช่น การโหลดริงโทนเสียง

และภาพของโทรศัพท์มือถือ ความขาว ความไม่

อ้วน เห็นได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่ผู้ผลิตสามารถหยิบจับ

ให้เป็นสินค้า สิ่งนั้นก็จะถูกผลิตเพื่อการขาย และ

สร้างกระแสให้เกิดการบริโภคจนบรรลุผลสำเร็จ

ทั้งที่แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการเพิ่ม

ต้นทุนให้กับการครองชีพ หรือเพิ่มต้นทุนให้กับการ

ผลิตในขั้นต่อไป นอกจากนั้น ในหลายกรณี

วาทกรรมบริโภคนิยมได้สร้างให้เชื่อว่าการได้

เสพสินค้าหรือบริการนั้นๆ เป็นการทำให้คุณภาพ

ชีวิตดีขึ้น อันเป็นการสร้างความเชื่อให้บุคคลนำ

คุณภาพชีวิตไปผูกติดอยู่กับวัตถุที่ถูกผลิตเป็นสินค้า

และบริการของวาทกรรมบริโภคนิยม ซึ่งเป็น

“คุณภาพชีวิต” ที่ถูกให้ความรู้/ความหมาย ภายใต้

อุดมการณ์ทุนนิยม

ขณะเดียวกัน สิ่งที่กลายเป็นสินค้าก็กดทับกับ

ผู้ที่ต่อต้านหรือไม่สนใจ ซึ่งหมายถึง การที่วาทกรรม

บริโภคนิยม ทำให้บุคคลคิดและเชื่อตามว่า การที่

บุคคลปฏิเสธที่จะบริโภคสิ่งที่กลายเป็นสินค้าต่างๆ

เหล่านั้น หากไม่ใช่เพราะข้อจำกัดของรายได้มาเป็น

สิ่งปิดกั้น ภาคปฏิบัติการวาทกรรมก็พร้อมจะสร้าง

ถ้อยคำกดทับต่อกลุ่มที่ ไม่ ได้ ใช้สินค้านั้นว่า เชย

ไม่ทันสมัย ไม่ใส่ใจตัวเอง เป็นต้น เหตุนี้เองที่ทำให้

วาทกรรมบริโภคนิยมเป็นเรื่องที่มักจะไม่มีการทวน

กระแสกันได้ง่ายนัก เพราะเป็นวาทกรรมที่มี

อุดมการณ์ทุนนิยมซึ่งมีความแข็งแกร่งอย่างมาก

หนุนอยู่ มีภาคปฏิบัติการของวาทกรรมรายล้อม จน

เรียกได้ว่าเป็นการอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของการ

บริโภคนิยม ซึ่งที่สุดแล้วได้กลายมาวิถีชีวิตปกติ

ธรรมดาของตัวตน และส่วนใหญ่ก็มักไม่มีใครเคย

คิดจะตั้งคำถามต่อความเป็นตัวตนของตนเองและ

ของสังคม

การทำให้ความรู้มีความเป็นกลางและ

เหมาะสมด้วยการครอบงำของอุดมการณ์

“ความรู้” ถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะนำเอา

ตัวอุดมการณ์เข้าสู่กระบวนการทางเศรษฐกิจได้

อย่างแยบยล และทำให้เกิดความเหมาะสมและมี

ความชอบธรรมต่อการควบคุมจัดการให้สังคมเป็น

ไปตามที่เจตจำนงของอุดมการณ์ต้องการ ความ

สำคัญประการต่อมาของความรู้ ก็คือ ตัวความรู้ที่อยู่

ภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยมปรากฏในรูปของศาสตร์

สาขาต่างๆ ซึ่งทำให้คนจำนวนมากยอมรับอำนาจ

ของความรู้ภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยมได้อย่างง่ายดาย

ขึ้น ตัวอย่างเช่น การแบ่งงานกันทำ (Division of

Labor) ตามความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งเกิดขึ้น

ภายใต้เจตจำนงของอุดมการณ์ทุนนิยม กลายเป็น

เรื่องเหมาะสม โดยความเหมาะสมถูกกำหนดด้วย

เกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ใน

เรื่องนี้จะเห็นได้ว่าความรู้ ได้สร้างความจริงอย่าง

ต่อเนื่องถึงรูปแบบเดียวของความมีประสิทธิภาพ

ทางเศรษฐกิจว่าต้องเป็นไปในกรอบคิดเช่นใดและ

อย่างไร ในทำนองเดียวกัน ความรู้ในศาสตร์สาขา

Page 12: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

229วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมา ก็ทำให้ผู้คนยอมรับโดยไม่รู้ตัว

และไม่มีข้อสงสัย และยังส่งผลต่ออำนาจที่ ใช้ ใน

การตัดสินคนอื่นๆ รวมทั้งตัวเองโดยยึดหลักการมี

อำนาจภายใต้การครอบครองความรู้แห่งศาสตร์

ต่างๆ เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ ตัวตน (Self) หรือ

อัตลักษณ์ (Identity) ของคนจึงเป็น “ผลผลิต” ของ

ความรู้ที่ศาสตร์ต่างๆ ได้สร้าง (Constitute) ขึ้นมา

ความรู้ที่ เป็นไปภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยมยังได้

ตอกย้ำการให้ความหมายดังกล่าว ซึ่งเห็นได้จาก

การแสวงหาความรู้ของนักวิชาการในยุคสมัยใหม่

มักจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความมั่นใจและยืนยัน

ทฤษฎีที่ได้สร้างขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นการผลิตซ้ำการ

ดำรงอยู่ของสรรพสิ่งและสังคม ให้เป็นไปตาม

แนวทางของวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์ทุนนิยม

ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมา

ในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวได้ถูกตั้งข้อ

สงสัยมากขึ้น โดยการตั้งคำถามต่อวิธีวิทยาแบบ

เดิมว่าไม่อาจจะเปิดพื้นที่ของการสร้างกระบวน-

ทัศน์ใหม่ ดังเช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด

ขึ้นได้ในสังคมไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธี

วิทยาที่มีกระบวนทัศน์แตกต่างไปจากเดิมเสียก่อน

ทั้งนี้เพื่อให้เจตจำนงและประสบการณ์ของบุคคลที่

ไม่เคยถูกให้ความหมายว่าเป็นผู้รู้ภายใต้อุดมการณ์

ทุนนิยม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความรู้และ

กำหนดความหมายต่อสรรพสิ่งต่างๆ ในทางที่จะนำ

ไปสู่การมีโลกทัศน์ที่แตกต่างไปจากเดิม และเพื่อให้

ความรู้ที่ถูกปิดกั้นไว้ ได้มี โอกาสในการสถาปนา

ตัวเองขึ้นมา (นภาภรณ์ หะวานนท์, 2544: 183-

191)

นักสังคมศาสตร์ในกลุ่มหลังทันสมัย (Post-

Modernism) ไม่เชื่อว่าความรู้จะมีความเป็นกลาง

ตรงไปตรงมา และหากจะทำความเข้าถึงการทำงาน

ของความรู้ภายใต้แง่คิดของการวิเคราะห์วาทกรรม

ก็จะต้องทำความเข้าใจความรู้ใน 2 ลักษณะ ดังนี้

1) “Connaissance” หมายถึง องค์ความรู้

(Body of Knowledge) ซึ่งมีลักษณะที่มีแบบแผน

แน่นอน แบ่งแยกออกเป็นสาขาวิชาต่างๆ เช่น

สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

โดยที่ตัวองค์ความรู้เหล่านี้ จะมีการจัดระเบียบ

(Characterized) ภายใต้บรรทัดฐานที่แบบแผน

สังคม (Disciplines) กำหนดไว้

2) “Savoir” หมายถึง เงื่อนไขเชิงวาทกรรม

(Discursive Condition) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ

ความรู้ที่จำเป็นต่อการนำไปสู่การพัฒนาเพื่อการ

สร้างองค์ความรู้ที่เป็น “Connaissance”

จากความหมายของความรู้ทั้งสองประการ

ภายใต้แง่คิดของวาทกรรม พอสรุปได้ว่าการก่อรูป

ของวาทกรรมที่นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้นั้น

จำเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขเชิงวาทกรรมหรือความรู้

ในส่วนที่เป็น “Savior” ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “Pre-

Knowledge” อันจะมีผลต่อการสร้างองค์ความรู้ที่

เป็น “Connaissance” ในรูปของศาสตร์ (Sciences)

สาขาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้น ในแนว

ทางของวาทกรรม มักให้ความสนใจตัวความรู้ที่เป็น

“Savior” มากกว่าที่เป็น “Connaissance” ทั้งนี้

เนื่องจากความรู้ที่เป็น “Savior” จะเผยให้เห็นว่า

อำนาจที่แท้จริงของความรู้นั้นมีความเป็นมาอย่างไร

(Foucault, 1972: 181-184; Gutting, 1989: 249-

253)

โดยการใช้ความหมายของความรู้ ใน 2

ลักษณะเช่นนี้ ก็จะเห็นได้ว่า การเข้าช่วงชิงการนำ

ของวาทกรรมรอง อย่างเช่น วาทกรรมที่ว่าด้วย

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ

Page 13: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

230 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

ต้องต่อสู้ด้วยตัวความรู้เช่นกัน ซึ่งความรู้นี้ต้องเป็น

ผลมาจากอุดมการณ์ดังเช่นที่วาทกรรมของเศรษฐกิจ

แบบทุนนิยมได้กระทำผ่านความรู้ภายใต้สาขาวิชา

เศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มีการเรียนการสอนกัน

อย่างกว้างขวางในมหาวิทยาลัย ดังนั้น การช่วงชิง

การนำของวาทกรรมรอง ก็จำเป็นจะต้องเข้าต่อสู้

ช่วงชิงผ่านความรู้ทั้ง 2 ลักษณะ ทั้งความรู้เชิง

เงื่อนไขของวาทกรรม คือ “Savior” ที่ถือได้ว่าเป็น

จุดเริ่มต้นสำคัญอย่างยิ่งในการช่วงชิงวาทกรรม

หลังจากนั้นจึงสร้างตัวองค์ความรู้ที่เป็นความรู้ ใน

เชิงประยุกต์วิทยาในรูปศาสตร์สาขาต่างๆ คือ

“Connaissance” ที่อยู่ภายใต้อุดมการณ์ของ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นเรื่องจำเป็นต่อ

การเข้าช่วงชิงวาทกรรมหลักที่อยู่ภายใต้อุดมการณ์

ทุนนิยม สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความท้าทายนักคิดใน

ยุคหลังทันสมัยอย่างยิ่ง มิฉะนั้นแล้ววาทกรรมรอง

จะถูกวาทกรรมหลักกลืนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ

วาทกรรมหลักในที่สุด (Included Discourse) ดังนั้น

การเข้าช่วงชิงการนำของวาทกรรม ก็คือ การก่อรูป

ของวาทกรรมใหม่ (Discursive Formation) โดย

อาศัยการสร้างความรู้ที่เรียกว่า “Savoir” ซึ่งถือว่า

เป็นเงื่อนไขที่สำคัญของการสร้างวาทกรรมนั้นขึ้น

มา ทั้งนี้ผลลัพธ์ของการสร้างวาทกรรมใหม่ จะต้อง

ทำให้สังคมทั้งมวลเข้าใจได้ว่า การเดินตามความรู้

ของวาทกรรมว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง คือ การ

กระทำตามความเป็นจริง (Act of Truth) มากกว่า

เป็นเพียงแนวคิดในเชิงนามธรรม (Abstract)

เท่านั้น ซึ่งก็จะเป็นไปด้วยหนทางเดียวกันกับที่

วาทกรรมว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้กระทำกับ

สังคมไทยมามากว่า 50 ปี โดยทำให้การกระทำตาม

ความเป็นจริงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้กลาย

เป็นสิ่งปกติธรรมดา (Normalize) ในสังคมไทย

(นเรศน์ วงศ์สุวรรณ, 2547: 27)

ความเป็นสถาบันกับ เทคโนโลยีของ

อำนาจความรู้ ของกระบวนการทาง

วาทกรรม

แม้ว่าความรู้จะเป็นกลไกที่สำคัญของการปรับ

เปลี่ยนสังคมภายใต้แง่คิดของวาทกรรมก็ตาม แต่

การจะทำให้ความรู้ขยายผลจนทำให้เกิดอำนาจ

ควบคุมจัดการทางสังคม ดังเช่นที่วาทกรรมว่าด้วย

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมควบคุมจัดการสังคมมาเป็น

ช่วงเวลายาวนานนั้น ก็ต้องอาศัยการสร้างสถาบัน

โดยใช้อำนาจของความรู้ภายใต้วาทกรรมนั้นๆ ซึ่ง

เป็นตามแนวคิดของนักสังคมศาสตร์ในยุคหลัง

ทันสมัยที่ชื่อ Michel Foucault ได้อธิบายถึงการ

ทำงานของอำนาจความรู้ ไว้ว่า อำนาจ แบบแผน

ของอำนาจ (Disciplinary Power) และเทคโนโลยี

ในการควบคุมทางสังคม (Social Technologies of

Control) นั้น มีความสำคัญ เนื่องจากแสดงให้เห็น

ถึงรูปแบบในการควบคุมทางสังคม โดยอาศัย

สถาบันต่างๆ เข้ามาดำเนินการ ทั้งนี้การดำเนินการ

ดังกล่าวเป็นการใช้องค์ความรู้อย่างเต็มรูปแบบ

(Knowledge-Intensive) เพื่อให้เกิดความชอบ

ธรรมที่จะให้สถาบันที่มีความเป็นผู้ชำนาญพิเศษ

(the Institution Specializing) เข้ามาควบคุม

จัดการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ อำนาจของ

แบบแผนต่างๆ นั้นได้สร้างความเป็นอัตวิสัยให้เกิด

ขึ้นในตัวคน (Human of Subjectivity) ซึ่งจะนำไป

สู่การใช้เทคโนโลยีในการสร้างตัวตน (Technology

of Self) ขึ้นมา การดำเนินการดังกล่าวนี้จึงเป็นการ

สร้างอำนาจครอบงำ ที่มีผู้ชำนาญพิเศษและความ

เป็นสถาบันเป็นกลไกทางเทคโนโลยีที่สำคัญในการ

เข้าไปควบคุมจัดการ (Mckinlay and Starkey,

1998: 151-153) ภายใต้แนวคิดดังกล่าวจะพบว่า

ตัวความรู้มิได้ทำงานอย่างโดดๆ แต่ตัวความรู้ ได้ใช้

Page 14: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

231วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

กระบวนการที่เป็นเทคโนโลยีของอำนาจความรู้

ทำงานภายใต้ตัวสถาบัน ดังเช่นที่ความรู้ภายใต้

อุดมการณ์ทุนนิยมทำงานผ่านสถาบันในรูปแบบ

ต่างๆ อาทิ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ระบบราชการ

องค์กรต่างๆ และสถาบันทางเศรษฐกิจ (เช่น

หอการค้า สภาอุตสาหกรรม ฯลฯ) (นเรศน์

วงศ์สุวรรณ, 2547: 30) ดังนั้น การเข้าช่วงชิง

การนำของวาทกรรมรอง เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง จำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีของอำนาจ

ความรู้ภายใต้อุดมการณ์ดังกล่าว ด้วยการสร้าง

ความเป็นสถาบันเข้าไปดำเนินการโดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งสถาบันภายใต้กระบวนการทางวาทกรรม ที่ต้อง

เป็นสถาบันในระดับสาธารณะ (Public) มากกว่า

สถาบันที่มีเป็นลักษณะเฉพาะ (Private) เพราะ

สถาบันระดับในสาธารณะมีอำนาจ (Authority) ใน

การอธิบายสรรพสิ่งต่างๆ โดยแสดงให้เห็นได้ว่าสิ่ง

ที่สถาบันเหล่านั้นกล่าวมามีความเป็นจริง (Truth)

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ความเป็นสถาบันในระดับ

สาธารณะมีความชอบธรรมที่จะชี้ว่าสถานการณ์

ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีความเหมาะสมถูกต้องเพียงใด

เช่น ความเป็นรัฐที่ถูกสถาปนาให้เป็นสถาบันก็มัก

จะได้รับความชอบธรรมที่จะบอกว่าอะไรเป็นจริง

และอะไรถูกต้อง ควรกระทำ (Danaher, Schirato,

and Webb, 2000: 37-38)

จากประเด็นต่างๆ ตั้งแต่ความรู้ การจัดการ

ของอำนาจความรู้ผ่านความเป็นสถาบัน ได้ทำให้

ธุรกรรมของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกลายเป็นเรื่อง

เหมาะสมและมีความเป็นจริง (Truth) โดยที่

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดย

อาศัยเทคโนโลยีของอำนาจ (Technology of

Power) ที่ผ่านความเป็นศาสตร์ในสาขาต่างๆ

เข้าไปควบคุมจัดการในการสร้างความจริงขึ้นมา

ความจริงนั้นจึงเป็นสิ่งที่วาทกรรมสร้างขึ้นโดย

อาศัยความรู้และเทคโนโลยีของอำนาจความรู้ที่

ทำงานผ่านความเป็นสถาบัน และสามารถเข้า

ควบคุมจัดการกับระบบเศรษฐกิจไทย กระบวนการ

ดังกล่าวจึงเป็นโจทย์สำคัญของการสร้างความจริง

ให้กับวาทกรรมว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ที่ต้อง

อาศัยความเชื่อมโยงของความรู้ เทคโนโลยีของ

อำนาจความรู้ และความเป็นสถาบัน ในการ

สถาปนาวาทกรรมใหม่ขึ้นมา และมีกระบวนการใน

การทำให้ความจริงต่างๆ ที่สร้างขึ้นมามีความเกี่ยว

เนื่องเชื่อมโยงจนกลายเป็นระบอบของความจริง

(Regime of Truth) หรือเป็นความจริงโดยทั่วไป

(General Politics of Truth) (นเรศน์ วงศ์สุวรรณ,

2547: 42) เมื่อความจริงในระบบทุนนิยมมิได้มีมิติ

ทางเศรษฐกิจแต่เพียงลำพัง แต่มีมิติของสังคม

การเมือง ที่สร้างความจริงให้ระบอบของความจริง

ที่ว่าด้วยเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีความแข็งแกร่ง

ยิ่งขึ้น ดังนั้น วาทกรรมรองดังเช่นวาทกรรมที่ว่า

ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หากต้องการสร้าง

ความจริงชุดใหม่ขึ้นมา ก็ต้องสร้างระบอบของ

ความจริงที่นอกเหนือจากมิติทางเศรษฐกิจแล้ว ยัง

ต้องมีมิติทางการเมือง สังคม และอื่นๆ ที่มีความ

เชื่อมโยงกันจนเป็นระบอบของความจริงที่ว่าด้วย

วาทกรรมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ ได้ในที่สุด

การจัดระเบียบกับสรรพสิ่งในการสร้าง

ตัวตนและอัตลักษณ์ ด้วยกระบวนการ

ทางวาทกรรม

สิ่งสำคัญที่จะเผยให้เห็นการทำงานของวาท-

กรรมในการจัดระเบียบกับสรรพสิ่ง ก็คือ การ

กระทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรียกว่า “การจัดระเบียบ

ของวาทกรรม” (Order of Discourse) ซึ่งเป็น

กระบวนการทางวาทกรรมที่นำไปจัดการกับสรรพ-

Page 15: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

232 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

สิ่งให้เป็นตามอำนาจและอุดมการณ์ที่ครอบงำ

กระบวนการวาทกรรมนั้นอยู่ หากวิเคราะห์โดยใช้

แนวคิดนี้ดังที่ Michel Foucault ได้อธิบายไว้ใน

บทความเรื่อง “The Order of Discourse” ก็จะ

เห็นถึงการทำงานของวาทกรรม 3 ประการ คือ

1) วาทกรรมเหล่านั้น เป็นกระบวนการอย่าง

หนึ่งในการแยกแยะสรรพสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่ให้เห็น

ถึงสิ่งที่ควรจะเป็น และควรจะดำรงอยู่กับสิ่งที่เป็น

อื่น ดังเช่น กระบวนการของการพัฒนาไปสู่ความ

ทันสมัย สามารถอธิบายได้ว่า การผลิตเพื่อการค้า

เป็นกระบวนการผลิตหนึ่ง ซึ่งมีความแตกต่างจาก

การผลิตแบบพอยังชีพ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะอยู่คนละขั้ว

กันอย่างชัดเจน

2) วาทกรรมที่สร้างขึ้นมานี้ จำเป็นจะต้องชี้

หรือแสดงให้เห็นว่าสรรพสิ่งต่างๆ ที่ถูกแยกออก

จากกันนี้ อะไรเป็นสิ่งดีและอะไรเป็นสิ่งที่เป็นอื่น

ซึ่งมีความหมายว่าไม่ดีหรือไม่เหมาะสม ว่าเป็น

เพราะเหตุใด ดังเช่นในกรณีของเศรษฐกิจแบบ

ทุนนิ ยมที่ ส ร้ า งผลลัพธ์ ภ าย ใต้ ก ระบวนการ

การพัฒนาไปสู่ความทันสมัย ต้องชี้ให้เห็นถึงการที่

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะนำพาความมั่งคั่ง (Wealth)

และความสมบูรณ์มาสู่ประเทศ โดยเฉพาะชุมชน

ชนบทได้ ส่วนเศรษฐกิจแบบอื่นๆ ก็จะมีความเป็น

อื่น ที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขวางกั้นกระบวนการ

พัฒนา จึงจะทำให้สามารถสร้างแนวคิดของ

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เป็นระเบียบแบบแผนและ

มีบรรทัดฐาน (Disciplines) โดยมีศาสตร์ในสาขา

ต่างๆ รองรับ จนเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยว่า

สมควรที่จะปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข

3) ความสำคัญอย่างยิ่งประการที่ 3 ก็คือ

วาทกรรมที่สร้างขึ้นจะต้องตรึงตัวเองให้อยู่ ได้ ใน

สังคม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยผ่านกรรมวิธีต่างๆ

เช่น กระบวนการทางการศึกษา พิธีกรรมต่างๆ ที่

สร้างความน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะทำให้วาทกรรม

นั้นดำรงอยู่ ได้อย่างชอบธรรม เช่น กรณีของ

เศรษฐกิ จแบบทุนนิ ยมภาย ใต้ ก ระบวนการ

การพัฒนาไปสู่ความทันสมัย ต้องมีความสามารถ

ในการที่จะตรึงวาทกรรมว่าด้วยเศรษฐกิจแบบ

ทุนนิยมเองให้ดำรงอยู่ได้ต่อไปในสังคมไทยโดยผ่าน

องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ รวมถึงการจัดโครงสร้าง

ต่างๆ ทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อให้รองรับต่อ

กระบวนการผลิตดังกล่าว อันชี้ให้เห็นว่ากระบวนการ

ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสมควรที่จะดำรงอยู่ ใน

สังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง (นเรศน์ วงศ์สุวรรณ, 2547:

44)

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เห็นได้ว่าการจัด

ระเบียบกับสรรพสิ่งต่างๆ โดยผ่านกระบวนการทาง

วาทกรรม ผ่านความรู้ ในศาสตร์หลายๆ ด้าน ใน

ลักษณะสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ก็เพื่อ

สร้าง (Constitute) ให้กระบวนการทางเศรษฐกิจ

แบบทุนนิ ยมมีความเหมาะสมต่อสั งคมไทย

อย่างไรก็ตาม การสร้างความจริงให้เกิดขึ้นจากสิ่งที่

เรียกว่าความรู้นี้ เป็นสิ่งที่วาทกรรมได้จำแนก

แยกแยะเอาไว้ ดังนั้นการที่กระบวนการทาง

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ถูกสถาปนาขึ้นในสังคม

ไทยนั้น โดยแท้จริงแล้ว เกิดจากการที่กระบวนการ

ทางวาทกรรมที่ว่าด้วยเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

สามารถเข้าควบคุมจัดการกับระบบเศรษฐกิจของ

ไทยได้ อย่างที่ผู้คนในสังคมมิได้ตั้งข้อสงสัยแต่

ประการใด จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ที่ เกิดความ

พยายามของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการแสดง

เจตจำนงเข้ามาเปิดพื้นที่ใหม่ให้กับสังคมไทยอย่าง

เป็นรูปธรรมและในวงกว้าง ตั้งแต่ พ.ศ. 2540

เป็นต้นมา

Page 16: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

233วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

การเปิดพื้นที่เพื่อสร้างความหมายให้กับ

กระบวนการทางเศรษฐกิจภายใต้การนำ

ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ

หลุดพ้นการครอบงำของวาทกรรมเศรษฐกิจ

ทุนนิยม

นับตั้งแต่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก

ปัญหาเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2540 มีการตั้งคำถามต่อ

วิกฤติเศรษฐกิจไทยและการแสวงหาทางแก้ปัญหา

อย่างลงลึกมากขึ้น ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ

การพึ่งพาทุนจากภายนอกในทุกระดับไม่ว่าจะเป็น

ในระดับประเทศที่ต้องอาศัยการลงทุนจากต่างชาติ

อันมาจากอุดมการณ์ทุนนิยมที่กำหนดให้เห็นว่า

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ ไม่มีเงินออมที่จะใช้ ใน

การลงทุน (Saving-Investment Gap) (รังสรรค์

ธนะพรพันธุ์ , 2542: 75) และชุมชนชนบทไทย

ก็ขาดแคลนปัจจัยเพื่อการลงทุนในการผลิตเพื่อ

การค้า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของ

การถูกกระทำให้ ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งใน

ระดับประเทศและในระดับชุมชน นับจากเกิดวิกฤติ

ครั้งนั้น แนวความคิดในการสร้างเจตจำนงที่จะพึ่ง

ตนเองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ถูกหยิบ

ยกขึ้นมาเพื่อกำหนดให้เป็นอุดมการณ์ของชุมชน

และของประเทศ โดยการอัญเชิญปรัชญา “เศรษฐกิจ

พอเพียง” ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นกรอบในการกำหนด

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9

ซึ่งให้ความสำคัญกับการอุ้มชูตนเองได้ ให้พอเหมาะ

กับสภาพของแต่ละชุมชน โดยมิได้เน้นการสร้าง

กำไรจนเกินความสามารถของชุมชน รวมถึงการไม่

ใช้ความโลภ (Greed) เป็นกรอบในการดำเนิน

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ (อภิชัย พันธเสน, 2546:

6-7) ดังนั้นหากอุดมการณ์ตั้งแต่ระดับชุมชนใน

สังคมให้ความสำคัญกับการพึ่งตนเองมากกว่าการ

สร้างกำไรตามอย่างแนวทางของอุดมการณ์ทุนนิยม

แล้ว การพลิกฟื้นชุมชนให้หลุดพ้นจากการครอบงำ

ของวาทกรรมการผลิตเพื่อการค้าก็น่าจะเกิดขึ้นได้

แต่เมื่อการครอบงำของวาทกรรมการผลิตเพื่อ

การค้าเป็นกระบวนการที่มีความแข็งแกร่ง รวมถึงมี

การสร้างภาคปฏิบัติการต่างๆ รองรับไว้อย่างรอบ

ด้านและมีความสลับซับซ้อนสูง อีกทั้งความจริงที่

วาทกรรมของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสร้างขึ้นก็มี

มิติที่หลากหลาย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต

โดยตรง และที่มิได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต

ล้วนมีส่วนสำคัญในการตอกย้ำให้วาทกรรมเศรษฐกิจ

ทุนนิยมดำรงอยู่ ประกอบกับองค์ความรู้ต่างๆ ที่

วาทกรรมทุนนิยมสร้างขึ้นไว้ก็มีความชัดเจน คือ

แบบแผนของกลไกทางเศรษฐกิจทุกส่วนถูกกำหนด

ไว้ ได้อย่างเป็นรูปธรรม สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่

วาทกรรมรอง เช่น การผลิตบนพื้นฐานของการพึ่ง

ตนเองจะต้องเร่งสร้างภาคปฏิบัติการต่างๆ รวมไป

ถึงการมีองค์ความรู้ที่จะอธิบายถึงการผลิตที่อยู่บน

พื้นฐานของการพึ่งตนเอง เพื่อให้สามารถมีอำนาจ

มากพอที่จะท้าทายกับวาทกรรมหลักที่เป็นการผลิต

เพื่อการค้าได้

ภาพสะท้อนของการเคลื่อนตัวของอุดมการณ์

ทุนนิยมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น เห็นได้ว่าการปรับ

ตัวของสังคมเอง เฉพาะในส่วนของชุมชนชนบท

เป็นสิ่งที่แสดงถึงการไม่สามารถทับซ้อนได้กับ

อุดมการณ์ทุนนิยมที่เป็นเจตจำนงแห่งรัฐได้อย่าง

ลงตัว แม้ว่าชุมชนชนบทจะยอมรับต่อการดำรงอยู่

ของอุดมการณ์ทุนนิยมก็ตาม แต่ภายใต้บริบทของ

ชุมชนชนบท ระบบความสัมพันธ์ของผู้คนยังคง

ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายใน

ชุมชน รวมถึงความรู้ของชุมชนแบบดั้งเดิมก็ยังมิได้

ถูกเบียดขับออกไปจากชุมชนทั้งหมด ดังนั้น เมื่อ

Page 17: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

234 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

กระแสของอุดมการณ์ทุนนิยมไหลบ่าเข้ามา ชุมชน

ชนบทก็ยังปรับตัวภายใต้ระบบความสัมพันธ์แบบ

ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และใช้ความรู้ต่างๆ เพื่อให้

ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ในกระแสของทุนนิยม จึง

วิเคราะห์ ได้ว่าระบบความสัมพันธ์และความรู้ ใน

การปรับตัวของชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การ

สร้างองค์ความรู้ ในการผลิตบนพื้นฐานของการพึ่ง

ตนเอง หากมีการให้ความสำคัญกับระบบความ

สัมพันธ์และความรู้ดังกล่าวว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมี

นัยสำคัญต่อการผลิตของชุมชนแล้ว การเปิดพื้นที่

เพื่อการสร้างความหมายของการผลิตที่แตกต่างจาก

วิถีการผลิตเพื่อการค้าก็จะเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากภาพสะท้อนดังกล่าว อำนาจของ

ความรู้ ในวิทยาการสมัยใหม่มักให้ความสำคัญกับ

องค์ความรู้ที่อิงอยู่กับสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์

กระแสหลัก ดังเช่น เศรษฐศาสตร์นี โอคลาสสิก

(Neo-Classical Economics) และเศรษฐศาสตร์

แบบเคนส์ (Keynesian Economics) ที่ได้กำหนด

ตัวองค์ความรู้และตัวผู้รู้ ไว้แล้วอย่างชัดเจน รวมถึง

กระบวนการแสวงหาความรู้ในยุคสมัยที่อุดมการณ์

ทุนนิยมได้กลายเป็นเจตจำนงแห่งรัฐ ก็ยังให้ความ

สำคัญกับการยืนยันแนวคิดทฤษฎีของสำนักคิดทาง

เศรษฐศาสตร์ดังกล่าว ว่าเป็นสิ่งสำคัญและเป็น

ความจริงที่สามารถตรวจสอบได้ แต่ในขณะเดียวกัน

ค่านิยม จารีต และความรู้สึกนึกคิดที่เป็นวิถีชีวิต

ของผู้คนในชุมชน กลับไม่ได้ถูกผนวกรวมให้เข้าไป

อยู่ในองค์ความรู้ของสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์นี้

อย่างเหมาะสม ดังนั้น การจะสร้างความรู้เพื่อการ

เปิดพื้นที่ในการให้ความหมายของวาทกรรมภายใต้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องไม่ละเลยความ

รู้สึกของผู้คนในชุมชน ค่านิยม จารีต ต่างๆ ว่าเป็น

สิ่งที่จำเป็น ในขณะเดียวกัน การอาศัยความเที่ยง

ตรงที่สอดคล้องอย่างเคร่งครัดกับทฤษฎีของสำนัก

เศรษฐศาสตร์กระแสหลักในการแสวงหาความรู้

อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญทั้งหมดในการเปิดพื้นที่เพื่อการ

ให้ความหมายของวิถีการผลิตของชุมชนชนบทที่อยู่

บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองได้

การเปิดพื้นที่ทางสังคมใหม่ให้กับสังคมไทย

ด้วยแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็น

เรื่องที่ต้องอาศัยความพยายามในการต่อสู้ช่วงชิง

การนำในการสร้างวาทกรรมหลัก เพื่อการหลุดพ้น

จากการครอบงำของวาทกรรมชุดเดิมที่กำลัง

ทำความรุนแรงกับสังคมไทย ซึ่งหมายความว่า

เศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยความชัดเจนของ

เจตจำนงในตัวอุดมการณ์ ดังเช่นที่เศรษฐศาสตร์

แบบทุนนิยมกระแสหลักสร้างขึ้น นอกจากนั้น การ

สร้างองค์ความรู้ภายใต้อุดมการณ์ที่กำกับด้วย

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย

บรรดานักคิดของไทยอย่างยิ่ง ประเด็นสำคัญอีก

ประการหนึ่ง ก็คือ อะไรคือกระบวนการที่เรียกว่า

เทคโนโลยีของอำนาจ ที่จะรองรับตัวองค์ความรู้ที่

จะสร้างขึ้น และอะไรคืออัตลักษณ์ที่สำคัญของการ

จัดการทางเศรษฐกิจภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียง ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าจุดเริ่มต้นของการศึกษา

เศรษฐกิจพอเพียงภายใต้วิธีวิทยาเชิงวาทกรรม

หากตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้ ได้ การสร้างระบอบ

ของความจริงที่ว่าด้วยการจัดการทางเศรษฐกิจของ

ไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะมีความ

แข็งแกร่งและสามารถเข้าต่อสู้กับวาทกรรมหลัก

ภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยมได้ในที่สุด

การมองถึงกระบวนการสร้างอัตลักษณ์และ

ความเป็นตัวตนให้กับสรรพสิ่ง ด้วยแนวทางของ

วาทกรรม ทำให้เห็นว่า เมื่อวาทกรรมเศรษกิจพอ

เพียงต้องการช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม ลำพังเพียงแค่

ใช้ ตัวบท (Text) เป็นเครื่องมือสำคัญของการเปิด

Page 18: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

235วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

พื้นที่ของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การระบุไว้ ใน

กฎหมายรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ว่าด้วยแนวนโยบาย

ทางเศรษฐกิจว่าจะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนนั้นจึงไม่

เป็นการเพียงพอ เพราะภาคปฏิบัติกรรมของวาท-

กรรมต้องมีความหลากหลายและเดินไปพร้อมกับ

การสร้างสนามของวาทกรรมต่างๆ ที่สอดรับ และ

อยู่ ใต้อุดมการณ์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เดียวกัน สนามของวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์ของ

เศรษฐกิจพอเพียงอาจได้แก่ วาทกรรมประชา-

สังคม วาทกรรมทุนทางสังคม วาทกรรมการมีส่วน

ร่วมของภาคประชาชน วาทกรรมความเอื้ออาทร

วาทกรรมของธรรมาภิบาล ฯลฯ ซึ่งสนามของวาท-

กรรมที่จะอยู่ใต้อุดมการณ์เดียวกันนั้น ก็จะต้องมี

ภาคปฏิบัติการวาทกรรมรองรับ ไม่ว่าจะเป็น การ

สื่อสารสถาบัน/องค์กร องค์ความรู้ หลักสูตร การ

วิจัย ซึ่งมิได้จำเป็นจะต้องถูกดึงให้ โดดเด่นโดย

ปราศจากการบูรณาการ เพราะเมื่อพิจารณาเทียบ

เคียงกับสนามวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์ของ

ทุนนิยม วิเคราะห์ ได้ว่าการที่วาทกรรมเหล่านั้น

สามารถดำรงอยู่ในพื้นที่ของสังคมและของบุคคลได้

มิได้มีความตรงไปตรงมาแต่มีความแยบยลโดย

ค่อยๆ ผลิตซ้ำและร่วมมือกับปฏิบัติการต่างๆ ของ

วาทกรรมอย่างเป็นกระบวนการที่ซึมซับเข้าในวิถี

ชีวิต ดังนั้น สนามวาทกรรมและภาคปฏิบัติการของ

วาทกรรมภายใต้อุดมการณ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียงก็ต้องใช้วิธีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้อง

คำนึงถึง ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องมีการอ้างถึง

กฎเกณฑ์/มาตรฐานความพอเพียง ซึ่งจะเป็นการ

เรียกร้องให้บุคคลสร้างความเป็นตัวตนให้เป็นผู้มี

ความพอเพียง เพราะไม่มีใครที่จะพอเพียงได้หาก

ไม่มีวิถีทางในการสร้างความเป็นตัวตนที่มีระบบ

หรือมีกระบวนการที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่ง

แน่นอนที่ความพอเพียงไม่สามารถแยกออกจากรูป

แบบต่างๆ ของกระบวนการสร้างความเป็นตัวตน

โดยความเป็นตัวตนต้องเริ่มขึ้นตั้งแต่แรกเกิด และ

พัฒนาต่อมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

(Socialization) อันจะนำมาซึ่งเป้าประสงค์ของการ

สร้างอุดมการณ์ความพอเพียงในที่สุด

บรรณานุกรม

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2542. วาทกรรมการ

พัฒนา: ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และ

ความเป็นอื่น. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัย

และผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก.

นภาภรณ์ หะวานนท์. 2544. “องค์ความคิดในเรื่อง

ความเข้มแข็งของชุมชน.” เอกสารประกอบ

การสัมมนาเรื่อง โครงการพัฒนาดัชนีความ

เข้มแข็งของชุมชน (เล่มที่ 1), หน้า 183-

191. กรุงเทพมหานคร: โครงการพัฒนาดัชนี

ความเข้มแข็งของชุมชน มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

นเรศน์ วงศ์สุวรรณ. 2547. “การผลิตเพื่อการค้าใน

ฐานะวาทกรรมในชุมชนชนบทไทย.” ปริญญา

นิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. 2542. วิกฤติการณ์การเงิน

และเศรษฐกิจการเงินไทย. กรุงเทพมหานคร:

คบไฟ.

อภิชัย พันธเสน. 2546. การประยุกต์พระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาด

กลางและขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร:

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อัลธูแซร์, หลุยส์. 2529. อุดมการณ์ และกลไกทาง

อุดมการณ์ของรัฐ. แปลโดย กาญจนา แก้วเทพ.

กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคม

Page 19: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

236 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Danaher, Geoff, Schirato, Tony, and Webb,

Jen. 2000. Understanding Foucault.

London: SAGE.

Escobar, Artuno. 1984-85. Discourse and

Power in Development: Michel

Foucault and the Relevance of His

Work to The Third World. New York:

Pergamon Press.

Fairclough, Norman. 1992. Discourse and

Social Change. London: Polity Press.

Foucault, Michel. 1972. The Archaeology

of Knowledge. London: Tavistock

Publications.

––––––. 1976. Power and Knowledge. New

York: HARVESTER WHEATSHAF.

Gutting, Gary. 1989. Modern European

Phi losophy Michel Foucaul t ’s

Archaeology of Scientific Reason.

Cambridge: Cambridge University

Press.

Mckinlay, Alan, and Starkey, Ken. 1998.

Foucault, Management and Organi-

zation Theory from Panopticon to

Technologies of Self. London: SAGE

Publication.

Weedon, C. 1987. Feminist Practice and

Poststructuralist Theory. Oxford: Basil

Blackwell.

Mrs. Panarach Preedakorn received her doctorate degree in Development

Education from Srinakharintwirot University, a Master’s Degree in

Development Economics from the National Institue of Development

Administration, and a Bachelor is degree in Economics from Chulalongkorn

University. She is currently working at the University of the Thai Chamber

of Commerce. Her main interests are qualitative research and community

study.

Colonel Nared Wongsuwan received his doctorate degree in Development

Education from Srinakharintwirot University, and a Master’s Degree in Social

Development from Kasetsart University, Post-graduate Defense and

Strategic Studies at Massey University (New Zealand), and received B.S.

(Mechanical Engineering) degree from Chulachomklao Royal Military

Academy. He has most experience in security and development studies, and

has been working in the southern border provinces for several years. His

specif ic interests are peace and confl ict resolution and confl ict

transformation.

Page 20: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

237วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

ผศ.ดร.พนารัช ปรีดากรณ์ พันเอก ดร.นเรศน์ วงศ์สุวรรณ

Page 21: Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with ...eprints.utcc.ac.th/618/1/618fulltext.pdfวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

238 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: การเปิดพื้นที่ โดยการวิเคราะห์วาทกรรม