business leaders and the sufficiency economy movement in...

17
Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in Organization Nipa Wiriyapipat http://eprints.utcc.ac.th/id/eprint/600 © University of the Thai Chamber of Commerce EPrints UTCC http://eprints.utcc.ac.th/

Upload: others

Post on 02-Feb-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in

Organization

Nipa Wiriyapipat

http://eprints.utcc.ac.th/id/eprint/600

© University of the Thai Chamber of Commerce

EPrints UTCC

http://eprints.utcc.ac.th/

Page 2: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

147วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พอเพียงในองค์กร Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in Organization

. . . . . . . .

นิภา วิริยะพิพัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

E-mail: [email protected]

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

บทคัดย่อ

องค์กรธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลง

รอบด้าน ผู้นำธุรกิจจึงให้ความสำคัญในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในองค์กร เพื่อ

สร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบ

จากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่ปัญหาสำคัญ คือ ภาคธุรกิจยังขาดความมั่นใจเกี่ยวกับขอบเขตของ

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ดังนั้น ผู้นำธุรกิจจึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความรู้และ

ความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมทั้งขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในองค์กรให้มีความชัดเจน

เป็นรูปธรรม โดยใช้หลัก “ความพอเพียง” ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความพอประมาณ

ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยมีความรู้และคุณธรรมเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติ

ทั้งนี้ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารธุรกิจด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการผลิต

ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้นำธุรกิจต้องผลักดัน

ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง พร้อมทั้งสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม จนท้ายที่สุด

นำไปสู่การปลูกฝัง ปรับเปลี่ยนจิตสำนึกและกระบวนทัศน์ในการดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้

Page 3: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

148 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

บทนำ

การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี

พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งร้ายแรงต่อ

ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อันเนื่องมา

จากความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่ง

กำหนดทิศทางการเจริญเติบโตจากการแสวงหา

กำไรสูงสุด มุ่งการแข่งขันจนละเลยคุณธรรมภายใต้

ระบบผู้ชนะอยู่ได้และผู้แพ้คัดออก จนเกิดปัญหา

การทุจริตในการดำเนินธุรกิจ การทุ่มลงทุนและกู้ยืม

เงินจากต่างประเทศจนขาดความพอดีทางการเงิน

ต้นทุนการผลิตจำนวนมากพึ่งพิงสินค้านำเข้า ภาวะ

การใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจเกินตัวและขาด

ประสิทธิภาพ โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงจากการ

เปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ปริมาณหนี้สิน

สูงกว่าปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ ซึ่ง

นำมาสู่ปัญหาบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างต่อเนื่อง

จนในที่สุดต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงิน

ตราต่างประเทศเป็นระบบลอยตัว ธุรกิจที่ต้องใช้

จ่ายเงินตราต่างประเทศได้รับผลกระทบอย่าง

รุนแรงและส่งผลลุกลามเป็นลูกโซ่ ธุรกิจจำนวน

Abstract

Under the forces of globalization, business organizations today face risks and critical

challenges arising from uncontrollable factors and rapidly changing circumstances.

Consequently, business leaders are stressed, therefore, it is necessary for a balanced

development strategy with the philosophy of sufficiency economy co-existing in their

organization. This will increase their capacity and competitiveness while shielding

against the impact of inevitable shocks that arise from the external environment. The

main problem is the absence of confidence in utilization of this theory for planning

and implementation. To achieve a balanced strategy, business leaders have to extend

extreme effort to promote the application of knowledge with prudence in their

organization. To make it practical, it is essential to adhere first and foremost to the

philosophy of “sufficiency” economy under the principles of 3 middle paths comprising

moderation, reasonableness and a level of self-immune system. In addition, an

application of knowledge and integrity is essential. Based on the application of

sufficiency economy in practice with reference to the areas of production, marketing,

finance, human resources, society and the environment, business leaders must give

every support while building up the spiritual foundation of all employees at all levels,

Furthermore, leaders need to ensure that employees are conscious of moral integrity

as individuals. Ultimately, this optimization principle will lead to awareness and

business sustainability.

Keywords: Business Leaders, Sufficiency Economy Philosophy

Page 4: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

149วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

มากประสบภาวะขาดทุน ล้มละลาย และขายกิจการ

ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ผู้ประกอบการธุรกิจหลาย

รายกระทำอัตวินิบาตกรรม เกิดปัญหาการเลิกจ้าง

แรงงาน อัตราการว่างงานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และ

นำพาประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่าง

รุนแรง

เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาจาก

วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น บ่งชี้ถึงความไม่สมดุลของ

ระบบเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการดำเนินธุรกิจ

แบบสุ่มเสี่ยง การลงทุนเกินตัว การกู้ยืมเงินจากต่าง

ประเทศโดยไม่ประมาณตน การแสวงหากำไรโดย

มิชอบ การดำเนินธุรกิจขาดความโปร่งใส และไม่มี

คุณธรรม นำมาสู่การทำลายความเข้มแข็งของธุรกิจ

และเศรษฐกิจของชาติโดยส่วนรวม

หลังจากช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของ

ประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล-

อดุลยเดชทรงเน้นย้ำถึงแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง”

เพื่อเป็นปรัชญานำทางในการแก้ไขและพัฒนา

ประเทศให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤติ แนวคิดเศรษฐกิจ

พอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลางและ

ความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความ

มีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ตลอดจนการใช้

ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมี

คุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว

ชุมชน ธุรกิจ และประเทศ ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตด้าน

ต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

ในปัจจุบันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการ

ตอบสนองอย่างแพร่หลาย หน่วยงานทั้งภาครัฐและ

ภาคเอกชนน้อมนำแนวพระราชดำรัสสู่การปฏิบัติ

พร้อมทั้งอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

เป็นกรอบความคิดในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)

เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ

ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผน

พัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ควบคู่กับการพัฒนาแบบบูรณา-

การเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางในการ

พัฒนา” โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งด้าน

ตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่

ความสมดุลแบบองค์รวม รวมทั้งเตรียมความพร้อม

ของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการ

เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ, 2551: น)

อย่างไรก็ตาม ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อน

เศรษฐกิจพอเพียง กล่าวว่า (ทีมเศรษฐกิจ, 2551: 8)

“ปัจจุบันมีประชาชนร้อยละ 90 รู้จักหลัก

ปรัชญานี้แล้ว ในจำนวนนี้มีถึงร้อยละ 40 ที่เข้าใจ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่มีประชาชนเพียง

ร้อยละ 25 เท่านั้นที่นำเอาแนวคิดนี้ไปปรับใช้ จึงมี

ปัญหาและคำถามตามมาว่า ประชาชนเข้าใจ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อยเพียงใด และจะ

นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรธุรกิจ

ได้อย่างไร โดยเฉพาะในภาคธุรกิจเอกชนนั้น ถือเป็น

ภาคส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการนำหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ แต่ปัจจุบันยังไม่เข้าใจ

มากนักว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะนำมา

ใช้ในภาคธุรกิจได้อย่างไร”

จากการวิจัยเชิงสำรวจของหนังสือพิมพ์

ไทยรัฐ ร่วมกับ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2550: 1-14) เรื่อง

Page 5: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

150 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

“ทัศนคติของประชาชนต่อเศรษฐกิจพอเพียง: กรณี

ศึกษาตัวอย่างประชาชน 18 จังหวัด” เพื่อสำรวจ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและ

ได้นำหลักปรัชญานี้ไปปฏิบัติอย่างจริงจังเพียงใด

โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,073 คนจาก 18

จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 62.28% มี

ความคิดเห็นว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถ

นำไปประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรได้ในระดับมาก ส่วน

ภาคการศึกษา ภาคราชการ ภาคการค้า ภาค

อุตสาหกรรม และภาคบริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่

มีความคิดเห็นว่า สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงไปประยุกต์ ใช้ ได้ ในระดับปานกลาง

(รายละเอียดในตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

ไม่ได้เลย น้อย ปานกลาง มาก

ภาคการเกษตร 1.14% 8.44% 28.14% 62.28%

ภาคการศึกษา 2.04% 17.30% 42.34% 38.32%

ภาคราชการ 3.51% 18.26% 42.50% 35.73%

ภาคการค้า 2.04% 22.55% 45.88% 29.52%

ภาคอุตสาหกรรม 3.18% 20.72% 49.97% 26.13%

ภาคบริการ 2.22% 24.74% 49.73% 23.30%

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ, 2550: 11

การที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของภาคเกษตรมากกว่า

ภาคธุรกิจ เนื่องจากภาคเกษตรเป็นเพียงภาคเด่น

ภาคเดียวที่ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้และสามารถเห็น

ถึงผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ศูนย์พยากรณ์

เศรษฐกิจและธุรกิจ, 2550: 11) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน

ภาคส่วนต่างๆ ยังไม่มีความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม

ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ เกี่ ยวกับปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงในระดับหนึ่ง แต่ยังขาดการศึกษา

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ ก่อให้

เกิดการตีความคลาดเคลื่อน และสื่อความแตกต่าง

ไปจากความจริง

ส่วนผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อภาคธุรกิจ พบว่า กลุ่ม

ตัวอย่าง 76.99% มีความคิดเห็นว่า ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของการประหยัด ไม่ใช้

จ่ายหรือใช้จ่ายน้อยลง นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง

39.9% มีความคิดเห็นว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ขัดต่อหลักของธุรกิจที่เน้นกำไร ส่วนกลุ่มตัวอย่าง

39.6% ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว และ 20.4%

ของกลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจว่าปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงขัดต่อหลักของธุรกิจที่ เน้นกำไรหรือไม่

(รายละเอียดในตารางที่ 2)

Page 6: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

151วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า หากประชาชน

ส่วนใหญ่ไม่ใช้จ่ายหรือใช้จ่ายน้อยลง จะทำให้อัตรา

การบริโภคภายในประเทศลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ

ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว ในขณะ

ที่ภาคธุรกิจไม่มั่นใจว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จะทำให้ธุรกิจมีกำไรมากน้อยเพียงใด และการมี

กำไรจะถือว่าขัดต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

(หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ, 2550: 4-5) โดย

เฉพาะอย่างยิ่งในปี 2551 ที่ภาวะเศรษฐกิจของ

ประเทศชะลอตัว และภาคธุรกิจกำลังเผชิญกับ

ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นระดับราคา

น้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและราคา

สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น อำนาจซื้อของผู้บริโภคใน

ประเทศลดลง ภาวะเงินเฟ้อสูง ปัญหาสินเชื่อ

คุณภาพต่ำ (Sub-prime) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

การอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ความไม่แน่นอน

ทางการเมืองภายในประเทศ และสถานการณ์ความ

ไม่สงบในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่งผล

ให้การลงทุนในประเทศมีอัตราการขยายตัวอยู่ใน

ระดับต่ำ (มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ศูนย์พยากรณ์

เศรษฐกิจและธุรกิจ, 2551: 11, 30, 38-39) จาก

ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว จึงนำไปสู่คำถามว่า ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถป้องกันหรือรองรับผล

กระทบจากสถานการณ์ที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ได้

อย่างไร และมีความเหมาะสมกับธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์

หรือไม่

การสร้างความมั่นใจในการนำปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงไปใช้ในองค์กร ต้องเริ่มต้นที่ผู้นำธุรกิจมี

ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งขยายแนวคิดไปสู่

องค์กร โดยสื่อสารให้พนักงานทุกระดับเข้าใจว่า

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้องค์กรอยู่รอด

ได้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และเติบโตได้อย่าง

ยั่งยืน โดยเป็นผลมาจากการมีส่วนร่วมของพนักงาน

ทุกคน และสิ่งสำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่ทิศทาง

ที่ต้องการ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม โดยทำให้

พนักงานมองเห็นภาพขององค์กรในอนาคตได้อย่าง

ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและเต็มใจเข้ามา

มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรด้วยหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

เนื่ องจากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ใช้ในหลายองค์กรยังมีการ

ตีความไม่ตรงกัน ดังนั้น เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจความ

หมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน

และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำนักงานคณะ

กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึง

ตารางที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อภาคธุรกิจ

ความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของการประหยัดไม่ใช้จ่ายหรือใช้จ่ายน้อยลง 76.99% 16.45% 6.56%

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขัดต่อหลักของธุรกิจที่เน้นกำไร 39.9% 39.6% 20.4%

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ, 2550: 5

Page 7: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

152 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ทำการประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเกี่ยวกับ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในวาระต่างๆ และสรุป

เป็นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเนื้อหา

ดังนี้ (ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี, 2550: 11)

“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการ

ดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ

ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ

ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน

ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อ

ให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ

ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ

อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและ

ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มา

ใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ

ของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ

นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน

คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่

เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร

มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและ

พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ

วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

“ความพอเพียง” เป็นแกนหลักของปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ

(สุทิน ลี้ปิยะชาติ, 2551, บรรยาย)

1. ความพอประมาณ (Moderation) หมายถึง

ความพอดีต่อความจำเป็นและความเหมาะสมกับ

ฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียน

ตนเองและผู้อื่น

2. ความมี เหตุผล (Reasonableness)

หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการอย่างมีเหตุผลตาม

หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม และ

จริยธรรมที่ดีงาม โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและ

ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี (Self-immunity)

หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมกับผลกระทบและ

การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถปรับตัว

และรับมือได้อย่างทันท่วงที

ทั้งนี้ เงื่อนไขในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงไปใช้ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็น

ต้องอาศัยองค์ประกอบ 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไข

ความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม

1. เงี่อนไขความรู้ หมายถึง การมีความรอบรู้

รอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการ

ต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุก

ขั้นตอน

2. เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง การเสริมสร้าง

คุณธรรม 2 ด้าน ได้แก่

- ด้านจิตใจ คือ การมีจิตสำนึกในคุณธรรม มี

ความซื่อสัตย์สุจริต

- ด้านการกระทำ คือ ความขยันอดทน ความ

เพียร มีสติปัญญา และแบ่งปัน

จะเห็นได้ว่า กรอบความคิดของหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง

โดยมุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการ

พัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถ

ประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับ

Page 8: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

153วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

คำว่า “ความพอเพียง” ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์-

ประกอบ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล

และความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยมีความรู้และ

คุณธรรมเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความ

สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง

อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม

สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็น

อย่างดี (แสดงในภาพที่ 1)

ที่มา: มิชิตา จำปาเทศ, 2548: 1

ภาพที่ 1 โครงสร้างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจพอเพียงที่สมบูรณ์

ต้องมีครบทุกองค์ประกอบ ซึ่งหากขาดองค์ประกอบ

ใดก็จะไม่เป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่สมบูรณ์อย่าง

แท้จริง กล่าวคือ หากใช้หลักความพอประมาณ แต่

ขาดความรู้และความรอบคอบในการวางแผนงาน

ย่อมเกิดผลกระทบด้านลบได้ หรือหากใช้ความรอบรู้

ในการวางแผนงานระยะยาว แต่ขาดความพอ

ประมาณ ขาดภูมิคุ้มกันความเสี่ยง ไม่มีการเตรียม

รับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิด

ขึ้น ก็อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนใน

อนาคต ดังที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

(2547 อ้างถึงใน สุภาคย์ อินทองคง, 2549: 2) ได้

เสนอแนวคิดว่า

“เศรษฐกิจพอเพียงไม่เน้นเอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่

เน้นที่ความเป็นผู้เจริญทุกด้าน เช่น การพึ่งตนเอง

ความเพียร ความประหยัด ความมีเหตุผล ความพอ

ประมาณ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา การต้องใช้ความรู้

การมีสติ การมีปัญญา โดยสรุป ต้องมีความถูกต้อง

ในทุกๆ ด้าน แม้ใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่

เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นวิถีชีวิตแห่งความ

พอเพียง เป็นเศรษฐกิจธรรมนิยม เป็นเศรษฐกิจ

วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตที่มีศีลธรรมอันนำไปสู่สุขภาวะ

ความสมดุลเป็นธรรมและความร่มเย็นเป็นสุข”

Page 9: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

154 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

เศรษฐกิจพอเพียง: ความจำเป็นต่อองค์กร

ธุรกิจ

ธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภท

การผลิต การค้า หรือบริการ ล้วนแต่มีความสำคัญ

อย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจาก

ผลประกอบการทางธุรกิจมีอิทธิพลต่อมูลค่าทาง

เศรษฐกิจและความเจริญเติบโตของประเทศ การ

ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่ผ่านมามีเป้าหมายการ

เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยระบบทุนนิยมที่

กระตุ้นให้คนบริโภคตลอดเวลาและมากยิ่งขึ้น เพื่อ

ผลตอบแทนสูงสุด โดยไม่คำนึงถึงวิธีการอันชอบธรรม

การขยายตัวของผลผลิตมุ่ งการพึ่ งพาอุปสงค์

เทคโนโลยี และทุนจากต่างประเทศ ทำให้ความ

สามารถในการพึ่งพาตนเองต่ำลง องค์กรธุรกิจถูก

ครอบงำความคิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ด้านลบ ส่ง

ผลกระทบต่อค่านิยมและทัศนคติที่เน้นความร่ำรวย

และความสะดวกสบายเป็นเป้าหมาย เห็นประโยชน์

ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม และขาดจิตสำนึกต่อ

สาธารณะ องค์กรธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยง

ภายใต้เงื่อนไขในระบบเศรษฐกิจโลกที่มีความสลับ

ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ดังนั้น การ

ปรับตัวต่อกระแสโลกาภิวัตน์จึงจำเป็นต้องอาศัย

การเรียนรู้และการยืนหยัดอยู่บนพื้นฐานของการ

พึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เพื่อสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจ เพิ่มขีดความ

สามารถในการแข่งขัน และสร้างภูมิคุ้มกันต่อผล

กระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก

ในบริบทของความเชื่อมั่นต่อการนำปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในองค์กรจากประเด็นต่างๆ

ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ผลดีเฉพาะในภาค

เกษตร เศรษฐกิจพอเพียงคือการประหยัดและไม่

เป็นหนี้ การแสวงหากำไรขัดกับปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมาะสม

กับธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ เมื่อพิจารณาจากแนวคิด

หลักการ และองค์ประกอบต่างๆ ของปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง สามารถอธิบายในประเด็น

ดังกล่าว ดังนี้

เนื่องจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้นำไป

ประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรในระยะแรก เพราะมี

ความขัดสนสูงกว่าภาคอื่นๆ ทำให้เกิดความเข้าใจ

ผิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ผลดีเฉพาะภาคเกษตร

เท่านั้น ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (2549: 286) ได้

อธิบายว่า

“เศรษฐกิจพอเพียงมิได้จำกัดเฉพาะของ

เกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น แต่เป็น

เศรษฐกิจของทุกคนทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและ

อยู่ในชนบท เช่น ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม

และบริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าจะต้อง

ขยายกิจการเพราะความเจริญเติบโตของเนื้องาน

โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือ

หากจะกู้ยืมก็กระทำตามความเหมาะสม ไม่ใช่กู้มา

ลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ ต้องรู้จัก

ใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือยเกินตัว”

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงทั้งในด้านองค์ประกอบและ

เงื่อนไข จะเห็นได้ว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สามารถนำไปใช้ได้ในทุกระดับและประกอบอาชีพได้

ในทุกสาขาไม่จำกัดเฉพาะภาคเกษตร การประยุกต์

ใช้กับภาคธุรกิจและภาคเศรษฐกิจอื่นๆ มีความ

สำคัญมาก เนื่องจากแนวโน้มสังคมไทยเป็นสังคม

เมืองมากขึ้น และการผลิตของภาคธุรกิจมีสัดส่วน

สูงมาก หากภาคธุรกิจไม่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียงเป็นแนวทางแล้ว ยากที่จะเกิดความพอเพียง

ได้ (ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี, 2550: 18)

Page 10: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

155วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำทางการ

บริหารธุรกิจ โดยไม่ปฏิเสธระบบการตลาด แต่เป็น

เครื่องชี้นำการทำงานของกลไกตลาดให้มีเสถียรภาพ

ดีขึ้น และไม่ขัดกับหลักการแสวงหากำไร จึงไม่

จำเป็นต้องลดกำไรหรือลดกำลังการผลิตลง แต่การ

ได้มาซึ่งกำไรของธุรกิจ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการ

ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น หรือแสวงหาผลกำไรเกิน

ควรจากการเบียดเบียนประโยชน์ของสังคม ตลอด

จนต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรในธุรกิจอย่าง

ประหยัดและมีคุณภาพ ดังพระราชดำรัสเนื่องใน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 4 ธันวาคม 2550

ความว่า (พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, 2551ก: 2)

“ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ไม่ใช่เพียง

พอ ไม่ได้หมายความว่า ให้ทำกำไรเล็กๆ น้อยๆ

เท่านั้นเอง ทำกำไรก็ทำ ถ้าเราทำกำไรได้ดี มันก็ดี

แต่ว่าขอให้มันพอเพียง ถ้าท่านเอากำไรหน้าเลือด

มากเกินไป มันไม่ใช่พอเพียง นักเศรษฐกิจเขาว่า

พระเจ้าอยู่หัว นี่คิดอะไรแปลกๆ ก็แปลกสิ ขายไม่

ให้ได้กำไร ซื้ออะไรไม่ขาดทุน เป็นเศรษฐกิจพอเพียง

คือไม่ต้องหน้าเลือด แล้วไม่ใช่จะมีกำไรมากเกินไป

หรือน้อยเกินไป ให้พอเพียง ไม่ใช่เรื่องของการค้า

เท่านั้นเอง เป็นเรื่องของการพอเหมาะพอดี”

นอกจากนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ปฏิเสธ

การเป็นหนี้หรือการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนในภาค

ธุรกิจ โดยยังคงมุ่งสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สูงสุดในการผลิต เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร แต่

เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ กล่าวคือ การกู้ยืมเงิน

เพื่อลงทุนทางธุรกิจ จะต้องมีการวิเคราะห์และ

ประเมินความเสี่ยงที่จะกระทบต่อธุรกิจ โดยคำนึง

ถึงหลักความคุ้มค่าและกำหนดมาตรการรองรับ

ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (พิพัฒน์ ยอดพฤติการ,

2551ข: 1)

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้

ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวและ

สร้างความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ธุรกิจที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะแข่งขัน

อย่างพอประมาณตามศักยภาพของตนเอง โดยทำ

ธุรกิจที่มีความชำนาญหรือสร้างความรู้ เพื่อพัฒนา

ตนเองให้มีความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น

ดังนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่สนับสนุน

ระบบเศรษฐกิจปิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่ค้าขาย

ไม่ส่งออก หรือหันหลังให้กับกระแสโลกาภิวัตน์ แต่

เป็นปรัชญาที่ เน้นการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

บนรากฐานที่เข้มแข็ง โดยองค์กรธุรกิจต้องรู้เท่าทัน

ความสามารถของตนเอง ใช้หลักตนเป็นที่พึ่งของ

ตนเองให้ได้ก่อน จากนั้นจึงพัฒนาตนเอง เพื่อให้

ธุรกิจมีคุณภาพและเข้มแข็งขึ้น สามารถเป็นที่พึ่งแก่

ผู้อื่นได้ และนำไปสู่สังคมที่มีการเกื้อกูลซึ่งกันและ

กันได้ในที่สุด (สุทิน ลี้ปิยะชาติ, นริสา พิชัยวรุตมะ

และอาทิสุดา ณ นคร, 2550: 9)

จากการรายงานของโครงการพัฒนาแห่ง

สหประชาชาติประจำประเทศไทย เรื่อง “เศรษฐกิจ

พอเพียงกับการพัฒนาคน” ในปี 2550 ได้สนับสนุน

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในภาค

ธุรกิจว่า เศรษฐกิจพอเพียงช่วยยกระดับความรับผิด

ชอบต่อสังคมของบริษัท ด้วยการสร้างข้อปฏิบัติใน

การทำธุรกิจที่เน้นผลกำไรระยะยาวในบริบทที่มีการ

แข่งขัน การบริหารธุรกิจให้เกิดกำไรในโลกทุกวันนี้

มีความซับซ้อนมากกว่าการคิดถึงต้นทุนและผล

ตอบแทน ธุรกิจต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก

ทุกกลุ่ม ตั้งแต่นายจ้างไปจนถึงลูกค้าและสังคมโดย

รวม อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังต้องตระหนักถึงความ

เสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในสภาพแวดล้อม

ที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

Page 11: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

156 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

รวดเร็ว (สุทิน ลี้ปิยะชาติ, นริสา พิชัยวรุตมะ และ

อาทิสุดา ณ นคร, 2550: 8)

จะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงเป็นหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง เพื่อ

เพิ่มความสามารถในการตอบสนองกิจการต่างๆ

รอบด้าน โดยไม่จำกัดเฉพาะภาคเกษตรองค์กรที่

ต้องการเติบโตได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางกระแสโลกา-

ภิวัตน์จำเป็นต้องนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไป

ประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่ขัดกับหลักการแสวงหากำไร โดย

อยู่บนพื้นฐานของการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และ

คำนึงถึงความเสี่ยงที่จะกระทบต่อธุรกิจ

บทบาทของผู้นำธุรกิจที่มีต่อการขับเคลื่อน

เศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

เมื่อองค์กรธุรกิจตระหนักถึงความจำเป็นและ

มีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจด้วยหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง การจะขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงภายในองค์กรให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม

ได้นั้น ผู้นำธุรกิจต้องมีความมุ่งมั่นและยึดถือเป็น

แนวปฏิบัติ ซึ่งการพัฒนาองค์กรและกลไกต่างๆ

เริ่มจากกำหนดนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง นำ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาผสมผสานกับกลยุทธ์

ขององค์กร โดยใช้หลักความพอประมาณ ความมี

เหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี บนพื้นฐานความ

รู้และคุณธรรม พร้อมทั้งถ่ายทอดเป็นแผนงาน และ

ผลักดันไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อ

ให้การดำเนินกิจการขององค์กรมีความสมดุลและ

เจริญเติบโตในระยะยาว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงจะมีแนวคิดในกรอบเดียวกัน แต่

การนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจ สามารถปรับ

ใช้ได้หลายรูปแบบ โดยไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว

ดังนั้น ผู้นำธุรกิจจึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม

กับเงื่อนไขและสภาวะที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ โดย

ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับ

การบริหารธุรกิจด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

ผู้นำธุรกิจกำหนดขนาดการผลิตที่เหมาะสม

ตามกำลังความสามารถในการผลิตขององค์กร โดย

ไม่รับคำสั่งซื้อสินค้าหากความสามารถในการผลิตไม่

เพียงพอ วางแผนการใช้ทรัพยากร โดยยึดหลัก

ความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้เทคโนโลยี

ที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะ

สนับสนุนการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศ และ

เทคโนโลยีในการผลิตจากภูมิปัญญาไทย มุ่งเน้น

คุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน ไม่เอารัดเอาเปรียบ

คู่ค้า วางระบบการจัดการวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง

อย่างมีประสิทธิภาพ กระจายความเสี่ยงโดยมี

ผลผลิตที่หลากหลาย มีนโยบายการจ้างงานเพื่อ

กระจายรายได้ โดยไม่นำเครื่องจักรมาทดแทน

แรงงานโดยไม่จำเป็น และจัดระบบบำบัดของเสีย

โดยไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ด้านการตลาด

ผู้นำธุรกิจต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ดำเนิน

การอยู่ และนำความรู้ในข้อเท็จจริงมาใช้ในการ

กำหนดนโยบายการตลาด วางแผน และบริหาร

จัดการอย่างมีเหตุผลและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์

แก่องค์กรธุรกิจอย่างแท้จริง ยึดหลักการรักษาความ

สมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจระหว่าง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมเหตุสมผล ตั้งแต่ผู้บริโภค

พนักงาน บริษัทคู่ค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่

การตั้งราคาสินค้าในราคายุติธรรม หลีกเลี่ยงการ

โฆษณาชวนเชื่อเกินจริง เพื่อมุ่ งหวังยอดขาย

ในระยะสั้น ใช้กลยุทธ์ด้านการวิจัย เพื่อสร้าง

Page 12: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

157วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

นวัตกรรมในสินค้า ทั้งด้านการออกแบบและพัฒนา

สินค้าใหม่ รวมถึงการแก้ไขและปรับปรุงสินค้าเดิม

ให้มีคุณสมบัติ คุณประโยชน์ และคุณภาพเพิ่มขึ้น

รักษาความลับของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้เกิดความ

สัมพันธ์ทางธุรกิจ มุ่งดำเนินธุรกิจโดยไม่เอาเปรียบ

ผู้อื่น ซื่อสัตย์ และมีคุณธรรมต่อคู่ค้า เพื่อสร้างคุณค่า

ให้แก่องค์กรธุรกิจในระยะยาว

ส่วนการขยายธุรกิจขององค์กร ผู้นำธุรกิจต้อง

พิจารณาถึงความพร้อมทุกด้านอย่างรอบคอบ เน้น

ธุรกิจที่มีความถนัด และขยายธุรกิจอย่างค่อยเป็น

ค่อยไป โดยตอบสนองตลาดท้องถิ่นก่อนขยายไปสู่

ส่วนภูมิภาคและต่างประเทศ มีมาตรการกระจาย

ความเสี่ยง โดยเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า

ใหม่ๆ อยู่เสมอ มีความรอบคอบและระมัดระวังใน

การคิดพิจารณาตัดสินใจเรื่องต่างๆ ให้กระจ่างแจ้ง

ในทุกแง่มุม เพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือความ

เสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ผู้นำธุรกิจควรตรวจสอบและ

ติดตามสภาวะทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทัน

การเปลี่ยนแปลง คาดการณ์ได้ถึงโอกาสและ

อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเพิ่มโอกาสใน

การแข่งขัน สร้างความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับ

สถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ด้วยการ

วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนภายในองค์กร ประเมิน

สถานการณ์ความเสี่ยงล่วงหน้า เพื่อวางแผนรับมือ

ได้ทันท่วงที เน้นการกระจายความเสี่ยงจากการมี

ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและแปรสภาพได้ง่าย เพื่อ

ลดผลกระทบจากวัฏจักรทางเศรษฐกิจ

ด้านการเงิน

ผู้นำธุรกิจวางแผนการลงทุนในธุรกิจที่สุจริต

ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม วิเคราะห์ถึงความ

คุ้มค่าในการลงทุนอย่างรอบคอบด้วยเหตุผล และ

ลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงด้าน

การเงิน หลีกเลี่ยงการลงทุนบนพื้นฐานของเงินกู้

ที่ เกินขีดความสามารถในการชำระหนี้ รักษา

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้เหมาะสม และกำหนด

นโยบายการลงทุนโดยไม่หวังผลกำไรในระยะสั้น

ควรเน้นความมั่นคงในระยะยาว ทำกำไรแต่พอ

ประมาณ โดยไม่มากเกินไป จนธุรกิจต้องประสบ

ภาวะเสี่ยงหรือขาดภูมิคุ้มกันในธุรกิจ และทำกำไร

ไม่น้อยเกินไป จนธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้ จัด

ระบบการสะสมเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนอย่าง

เหมาะสม

ผู้นำธุรกิจควรสนับสนุนการกระจายอำนาจ

และการตัดสินใจไปยังส่วนงานต่างๆ ในองค์กร

โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กว้างขวาง

และครอบคลุมทุกส่วนงาน มุ่ งเน้นการใช้งบ

ประมาณอย่างสร้างสรรค์ โดยกำหนดกรอบแนวทาง

ในการตัดสินใจอนุมัติและดำเนินงานโครงการ

ต่างๆ ขององค์กรให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี

มีระบบกลไกการตรวจสอบและติดตามผลการใช้

งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง และการดำเนินงาน

ต่างๆ อย่างโปร่งใส

ด้านทรัพยากรบุคคล

ผู้นำธุรกิจเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับ

การพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยนำหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหาร

ทรัพยากรบุคคลด้านต่างๆ ได้แก่ การคัดเลือก

พนักงานด้วยหลักยุติธรรม โดยเน้นคนดีที่ซื่อสัตย์

และคนเก่งที่มีคุณภาพ เน้นการทำงานเป็นทีม ฝึก

อบรมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่

พนักงานทุกระดับในองค์กร ส่งเสริมการศึกษาและ

วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมในด้าน

Page 13: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

158 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคและองค์กร

วางแผนการเตรียมความพร้อมของพนักงานใน

อนาคต กำหนดตัวชี้วัดการประเมินผลงานด้วย

ความโปร่งใสและเป็นธรรม เปลี่ยนแปลงระบบการ

เลื่อนตำแหน่งจากหลักความอาวุโสหรือหลักอุปถัมภ์

เป็นยึดหลักความสามารถของบุคคล กำหนดระดับ

ค่ าจ้ างพอประมาณแก่ฐานะขององค์กรและ

สอดคล้องกับตลาดแรงงาน กำหนดนโยบายการ

ดูแลพนักงานอย่างทั่วถึง โดยส่งเสริมให้พนักงานมี

คุณภาพชีวิตและสุขอนามัยที่ดีในการทำงาน

นอกจากนี้ ผู้นำธุรกิจต้องปลูกจิตสำนึกความ

พอเพียงให้แก่พนักงาน ส่งเสริมการมีค่านิยม

สร้างสรรค์ และสร้างจรรยาบรรณการทำงานด้วย

ความสุจริต ขยันอดทน มีความมุ่งมั่น และใช้ความ

เพียรในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้เกิดความ

ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกระตุ้นให้เกิด

วัฒนธรรมองค์กรที่เชิดชูคุณธรรม ส่งเสริมความ

เกื้อกูลกันในองค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคม

ได้แก่ จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์การ

ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิบัติตาม

กฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญา การยอมรับ

พนักงานในองค์กรที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ผู้นำธุรกิจผลักดันการยึดมั่นในระบบคุณธรรม

กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่เบียดบังผลประโยชน์ส่วน

รวม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือส่งผลกระทบเชิงลบ

ต่อสังคมโดยรวม นอกจากนี้ ผู้นำธุรกิจกระตุ้นให้

พนักงานเห็นคุณค่าในการแบ่งปันสู่สังคม ได้แก่

การแบ่งปันองค์ความรู้ โดยสร้างเครือข่ายแห่งการ

เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและเผยแพร่ไปยัง

สังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอตัวอย่าง

ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้มีโอกาสแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์และความรู้ร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปัน

ทรัพยากรระหว่างพันธมิตรในธุรกิจ เพื่อช่วยเหลือ

กันในเรื่องวัตถุดิบ เทคโนโลยี และองค์ความรู้ด้าน

ต่างๆ

ดังที่ บริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด

ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ถือเป็นองค์กรตัวอย่างที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ

การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดยบริษัทได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้

ประโยชน์ในกิจการสำคัญ ได้แก่ ด้านการผลิต

กระบวนการผลิตจะใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อ

ลดปัญหาการขาดดุลทางการค้า ปรับปรุงเทคโนโลยี

และการพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ โดยคำนึงถึงคุณภาพ

ของสินค้าและความปลอดภัยในการใช้สินค้า จัด

โครงการ MIC ที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้ริเริ่มและ

ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ โดยใช้ภูมิปัญญาไทย เป็นต้น

ด้านการตลาด เข้าใจฐานลูกค้าของตนเอง จัด

นโยบายด้านการส่งเสริมการตลาดและการขายที่

สอดคล้องและเหมาะสมกับสัญญาและข้อกฎหมาย

ของแต่ละประเทศ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจถูกต้องและ

เป็นธรรม ด้านการเงิน นับตั้งแต่บริษัทเริ่มดำเนิน

กิจการ เมื่อปี 2512 บริษัทได้ขยายกิจการอย่าง

ต่อเนื่อง โดยขยายกิจการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ยึด

หลักการลงทุนอย่างรอบคอบและมีเหตุผล จัดทำ

รายงานการเงินบนพื้นฐานของความเป็นจริงและ

ส่งมอบในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีการแต่งรายงาน

การเงินที่ไม่ถูกต้อง บริหารการเงินโดยใช้หลัก

ธรรมาภิบาล เน้นความโปร่งใส และตรวจสอบได้

ด้านทรัพยากรบุคคล กำหนดนโยบายสนับสนุนให้มี

การจ้างแรงงานไทย การรักษาระดับค่าจ้างและ

สวัสดิการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมาย

กำหนด การสนับสนุนให้พนักงานเข้ารับการฝึก

Page 14: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

159วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

อบรมและศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในหน่วยงาน เพื่อส่งเสริม

ให้พนักงานวางแผนการใช้จ่ายเงิน ลดปัญหาหนี้สิน

สร้างวินัยการออม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของ

พนักงาน นอกจากนี้ พนักงานทุกคนจะได้รับการ

ปลูกฝังให้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย มีคุณธรรม ซื่อสัตย์

และมีจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคม ด้านสังคม

และสิ่งแวดล้อม บริษัทสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย

โดยนำน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วกลับไปใช้เป็นน้ำ

ชักโครกในห้องสุขา การนำความร้อนที่ปล่อยทิ้งมา

ใช้ประโยชน์ในการอบโฟม รณรงค์การประหยัด

พลังงาน โดยใช้โซล่าเซลล์ในการผลิตน้ำร้อน ใช้

ก๊าซ LPG แทนน้ำมันเบนซิน รณรงค์การจัดการ

ขยะรีไซเคิล เพื่อลดจำนวนขยะ บริษัทจัดโครงการ

และกิจกรรมเพื่อช่วยสังคมมากมายและต่อเนื่อง

เช่น สร้างเครือข่ายทางสังคมโดยเปิดโอกาสให้

หน่วยงานภายนอกเข้ามาศึกษาดูงาน จัดโครงการ

อาสาสมัครเพื่อสังคม ได้แก่ การจัดแพทย์เคลื่อนที่

เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย การบริจาคสิ่งของ การ

มอบทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงานและบุคคล

ภายนอก การบริจาคโลหิต และจัดกิจกรรมช่วย

เหลือเด็กกำพร้า เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการ

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, 2551: 1-10)

ในปัจจุบันบริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม

จำกัด มุ่งทำธุรกิจด้วยกลยุทธ์ “Green” หรือ

“นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว” ในทุกส่วนงานของ

องค์กร ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน คือ (นงค์นาถ

ห่านวิไล, 2551: 1)

1. Green Product หมายถึง สินค้าทุกชนิด

ของบริษัทจะต้องประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน

2. Green Factory หมายถึง โรงงานของ

บริษัทปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่เน้นการรักษา

สิ่งแวดล้อม โดยสินค้าเกือบทุกชนิดสามารถนำมา

รีไซเคิลได้และใช้วัตถุดิบที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อ

สิ่งแวดล้อม

3. Green Office หมายถึง สภาพแวดล้อม

ภายในองค์กร รวมถึงพนักงานทั้งหมดร่วมกันปรับ

เปลี่ยนให้เป็นองค์กรสีเขียวที่ทุกฝ่ายร่วมรักษา

สิ่งแวดล้อม เช่น การรณรงค์ให้พนักงานช่วยกัน

ประหยัดไฟและประหยัดน้ำ

4. Green Purchasing หมายถึง การซื้อใช้

วัตถุดิบที่รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้กระดาษ

รีไซเคิล

5. Green CSR หมายถึง การทำประโยชน์

สูงสุดเพื่อสังคม

จากการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

สุขสรรค์ กันตะบุตร (2551: 35) เรื่อง “ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารองค์กรและ

ทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืน” โดยศึกษาจาก

องค์กรธุรกิจขนาดย่อม จำนวน 296 แห่งของ

ประเทศไทย และองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จากกลุ่ม

ประเทศตะวันตก จำนวน 28 องค์กร ซึ่งใช้ระยะ

เวลาในการวิจัยทั้งสิ้น 4 ปี พบว่า องค์กรธุรกิจ

ที่ทำการวิจัยทุกองค์กรสามารถประสบความสำเร็จ

อย่ างยั่ งยืน ได้ โดยผู้ นำองค์กรดำเนินธุ รกิ จ

สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

ซึ่งดำเนินกิจการมากกว่า 30 ปี ได้บริหารจัดการ

องค์กรสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คือ ผู้นำองค์กรให้ความสำคัญกับพนักงาน ไม่ปลด

พนักงานออกในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 มีการ

วิจัยเพื่อสร้างความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ใน

Page 15: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

160 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา มีมาตรฐานทางจริยธรรม

สูง เช่น ไม่เพิ่มราคาผลิตภัณฑ์เป็นเวลากว่า 11 ปี

มองการณ์ไกล โดยวางแผนดำเนินการทางธุรกิจใน

ระยะยาว รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

และสังคมอย่างจริงจัง โดยไม่โฆษณาตนเอง

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็น

องค์กรขนาดใหญ่ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน โดยผู้นำ

องค์กรไม่ให้ความสำคัญกับการทำกำไรระยะสั้น แต่

คำนึงถึงความมั่นคงในระยะยาว มีนวัตกรรมใน

ผลิตภัณฑ์สูง คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกๆ

ฝ่าย ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากร

บุคคล เช่น พัฒนาคุณภาพบุคลากรให้เข้มแข็ง เน้น

การทำงานร่วมกันเป็นทีม จัดฝึกอบรมพนักงาน

อย่างต่อเนื่อง บริหารค่าจ้างและจัดสวัสดิการที่เป็น

ธรรมแก่พนักงาน สร้างสภาพแวดล้อมในการ

ทำงานที่เหมาะสม ยึดหลักการประหยัดพลังงาน

จัดทำโครงการโรงงานสีเขียว สร้างจิตสำนึกการ

แบ่งปัน และสนับสนุนการทำประโยชน์ให้แก่สังคม

สำหรับองค์กรจากกลุ่มประเทศตะวันตก

ได้แก่ บริษัท นอร์ดสตอร์ม (Nordstrom) จำกัด

ซึ่งเป็นธุรกิจห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในประเทศ

สหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ผู้นำองค์กรให้ความ

สำคัญกับพนักงาน เพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ

งานบริการ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานใช้ความคิด

สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ มีการพัฒนาพนักงาน

อย่างต่อเนื่องจนทำให้พนักงานมีทักษะที่หลากหลาย

สิ่งสำคัญ คือ การมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

เน้นความซื่อสัตย์สุจริต จริยธรรม ความขยันหมั่น

เพียร และการทำงานร่วมกันเป็นทีม

สรุป

จะเห็นได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น

หลักสากลที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมต่อการ

บริหารจัดการขององค์กรธุรกิจรอบด้าน การที่ผู้นำ

ธุรกิจประกาศเจตนารมณ์ที่จะขับเคลื่อนปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร ถือเป็นการเริ่มต้นก้าว

แรกที่ถูกทิศทาง อย่างไรก็ตาม นโยบายเศรษฐกิจ

พอเพียงจะต้องได้รับการแปลงไปสู่การปฏิบัติอย่าง

เป็นรูปธรรม โดยการสานต่อความคิด ร่วมถ่ายทอด

และติดตามขยายผล เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

อย่างจริงจัง พร้อมทั้งสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับ

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน

ลักษณะที่สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบ

ของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม จนท้ายที่สุดนำ

ไปสู่การปลูกฝัง ปรับเปลี่ยนจิตสำนึก และกระบวน-

ทัศน์ในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจ

พอเพียงได้อย่างสมดุล

ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success

Factor) จึงอยู่ที่ผู้นำธุรกิจมีความมุ่งมั่นในการ

ดำเนินธุรกิจอย่างพอประมาณ ตั้งอยู่บนเหตุผล

และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับองค์กรบนพื้นฐานของ

ความรู้และคุณธรรม เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่ง “ความ

พอเพียง”

บรรณานุกรม

ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. 2550. “ปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง: ความเป็นมาและความหมาย.” ใน

รายงานการสัมมนาวิชาการเรื่อง ปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงกับการ บริหารการ

พัฒนา, หน้า 11, 18. กรุงเทพมหานคร:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Page 16: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผศ.นิภา วิริยะพิพัฒน์

161วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ทีมเศรษฐกิจ. 28 มีนาคม 2551. “จิรายุ ไขพลัง

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.” ไทยรัฐ: 8.

นงค์นาถ ห่านวิไล. 2551. วิถีพอเพียง “แบบฉบับ

ไทยโตชิบา” [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://

www.thaiechamber.com/cms_tcc/

content.jsp?id=com.tms.cms.section.

section 9fc8fc4a-c0a81019-16e1dd80-

63c42886

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. 12 กุมภาพันธ์ 2551ก.

“หลักธุรกิจในเศรษฐกิจพอเพียง.” กรุงเทพ-

ธุรกิจ [หนังสือพิมพ์ออนไลน์]. เข้าถึงจาก:

http://www.bangkokbiznews.com/2008/

02/12/WW12_1218_more.php

–––––––. 2551ข. เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ.

ตอนที่ 1 [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://

sufficiencyeconomy.blogspot.com/2006/

06/1.html

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ

และธุรกิจ. 2551. สรุปสถานการณ์ เศรษฐกิจ

ประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 และประมาณการ

แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2551 [ออนไลน์].

เข้าถึงจาก: http://www.thaiechamber.

com/cms/content.jsp?id=com.tms.cms.

section.Section_Section_Economy&

page=24

มิชิตา จำปาเทศ. 2548. อยู่เย็นเป็นสุขกับหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง [ออนไลน์]. เข้าถึง

จาก: http://www.cstc.ac.th/files/1.doc

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ. 2551. สรุปสาระสำคัญ แผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่

10 พ.ศ. 2550-2554 [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก:

http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/

plan/p10/plan10/data/สรุป สาระสำคัญ

ของแผนพัฒนาฯ%20ฉบับที่%2010.pdf

สุขสรรค์ กันตะบุตร. 31 มีนาคม 2551. “ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางสู่การพัฒนา

องค์กรอย่างยั่งยืน.” ประชาชาติธุรกิจ: 35.

สุทิน ลี้ปิยะชาติ. 9 มีนาคม 2551. การจัดการ

ที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง. ขอนแก่น:

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การบรรยาย.

สุทิน ลี้ปิยะชาติ, นริสา พิชัยวรุตมะ และอาทิสุดา

ณ นคร. 2550. “ความพอเพียงในธุรกิจ

เอกชน.” วารสารเศรษฐกิจและสังคม 44, 4:

8-9.

สุภาคย์ อินทองคง. 2549. ทำความเข้าใจกับความ

คิดเศรษฐกิจพอเพียง [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก:

http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/

content2/show.pl?0357

สุเมธ ตันติเวชกุล. 2549. ใต้เบื้องพระยุคลบาท.

พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ. 2550.

เศรษฐกิจพอเพียง ฉบับประชาชน คนไทย

เข้าใจความหมายของคำนี้ดีแล้วจริงหรือ

[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://203.157.181.4/

km_yasothon/sufficiencyecon for_you.

doc

Page 17: Business Leaders and the Sufficiency Economy Movement in ...eprints.utcc.ac.th/600/1/600fulltext.pdfคำสำคัญ: ผู้นำธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร

162 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

Asst. Prof. Nipa Wiriyapipat received her Master’s Degree in Education

from Chulalongkorn University. She is currently a lecturer in the

Undergaduate Program of Electronic Office Management, School of

Business Administration, University of the Thai Chamber of Commerce. Her

courses include Office Management, Office Simulation and a Seminar on

Office Management.